![]() |
![]() |
บริษัทประกันภัย |
ประเภทกรมธรรม์ |
ชื่อชุดกรมธรรม์ |
เบี้ยประกันเริ่มต้น |
เบี้ยประกันราคาพิเศษ |
กรุงเทพประกันภัย |
อุบัติเหตุ |
3,180.00 |
3,100.00 |
|
อุบัติเหตุ, โรคร้ายแรง |
2,370.00 |
2,300.00 |
||
โรคร้ายแรง |
โรคมะเร็ง |
450.00 |
450.00 |
|
อาคเนย์ประกันภัย |
อุบัติเหตุ |
950.00 |
950.00 |
|
โรคร้ายแรง |
โรคมะเร็ง |
1,290.00 |
1,290.00 |
|
ศรีเมืองประกันภัย |
อุบัติเหตุ |
พีเอ สไมล์ พลัส |
800.00 |
800.00 |
แอล เอ็ม จี ประกันภัย |
อุบัติเหตุ |
950.00 |
950.00 |
|
โรคร้ายแรง |
โรคมะเร็ง |
1,178.00 |
1,178.00 |
การประกันภัยอุบัติเหตุเป็นการประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราอย่างมาก เนื่องจากอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและเป็นเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเสมอๆ ถึงแม้ว่าเราจะใช้ความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม บางครั้งอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงมักเป็นอุบัติเหตุตามท้องถนน หรืออาจจะเป็นอุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นขณะอยู่บ้าน ที่ทำงาน เหล่านี้เป็นตัวอย่างที่ชี้ชัดว่า ชีวิตคนเรามีความเสี่ยงได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกสถานที่
ซึ่งนอกเหนือจากอุบัติเหตุแล้วเรายังต้องประสบกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับสุขภาพของเรา ก็คือโรคภัยไข้เจ็บทั่วไปแต่ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเรานั้น โรคภัยไข้เจ็บที่เราต้องประสบอาจจะสร้างปัญหาในการดำรงชีวิตของเรา เพราะเนื่องจากในบางครั้งการเข้าทำการรักษาพบว่ามีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่มีมูลค่าสูง เช่น การรักษาโรคมะเร็ง การรักษาไตวาย หรือโรคหลอดเลือดสมอง ดังนั้นถ้าเราสามารถได้รับการชดเชยเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลเหล่านี้ ก็จะถือว่าเป็นการช่วยลดปัญหาทางด้านค่าใช้จ่ายของเราได้ โดยในปัจจุบันความคุ้มครองทางด้านรักษาพยาบาลจะมีทั้งการเป็นคนไข้ใน (In-patient) ของโรงพยาบาลและสามารถซื้อความคุ้มครองสำหรับการรักษาพยาบาลเป็นคนไข้นอก (Out-patient) เพิ่มเติมได้อีกด้วย
อุบัติเหตุนั้นมีความแตกต่างจากการเจ็บป่วย เพราะว่าอุบัติเหตุนั้นหมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันจากปัจจัยภายนอกร่างกายโดยมิได้เจตนา ส่งผลโดยตรงให้เกิดการบาดเจ็บทางร่างกาย ดังนั้น การให้ความคุ้มครองของประกันภัยอุบัติเหตุจึงแตกต่างจากประกันสุขภาพหรือประกันชีวิตที่ท่านอาจมีอยู่ เพราะประกันสุขภาพเน้นการชดเชยค่ารักษาพยาบาลไม่ว่าจากสาเหตุใดๆ ทั้งอุบัติเหตุ หรือการเจ็บป่วย ขณะที่ประกันชีวิตจะเกี่ยวข้องกับกรณีเสียชีวิตไม่ว่าจากสาเหตุใดๆ ก็ตามเช่นกัน ทั้งนี้ เพื่อให้เข้าใจง่ายในความแตกต่างของประกันภัยทั้ง 3 แบบ สามารถจำแนกรายละเอียดดังนี้
เสียชีวิต |
ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ |
รักษาพยาบาล |
||||
อุบัติเหตุ |
เจ็บป่วย |
อุบัติเหตุ |
เจ็บป่วย |
อุบัติเหตุ |
เจ็บป่วย |
|
ประกันอุบัติเหตุ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ประกันสุขภาพ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ประกันชีวิต |
![]() |
![]() |
ซื้อเพิ่ม ในรูปแบบอนุสัญญา |
ซื้อเพิ่ม ในรูปแบบอนุสัญญา |
รายละเอียดและเงื่อนไขการของประกัน
การประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ท่านจะได้รับความคุ้มครองสำหรับการรักษาพยาบาลในความบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยจากโรคภัยไข้เจ็บ (ตามข้อกำหนดของกรมธรรม์แต่ละประเภท) หรืออุบัติเหตุ โดยเป็นคนไข้ใน (In-patient)ของโรงพยาบาลหรือรักษาพยาบาลเป็นคนไข้นอก (Out-patient) และยังรวมการให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายทั่วไปในการรักษา พยาบาล รวมทั้งผลประโยชน์ ค่ารักษาพยาบาลต่างๆ ที่มิได้ระบุไว้ในข้อยกเว้นของกรมธรรม์ประกันสุขภาพ ซึ่งความคุ้มครองของการทำประกันสุขภาพประกอบด้วย
ทำประกันสุขภาพเพื่อได้รับคุ้มครอง ค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการทั่วไป
ทำประกันสุขภาพเพื่อได้รับคุ้มครอง ค่าใช้จ่ายทั่วไปในโรงพยาบาล
ทำประกันสุขภาพเพื่อได้รับคุ้มครอง ค่าบริการใช้ห้องผ่าตัด ค่า X-ray ค่าตรวจทางชีวเคมี
ทำประกันสุขภาพเพื่อได้รับคุ้มครอง ค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัด
ทำประกันสุขภาพเพื่อได้รับคุ้มครอง ค่าปรึกษาแพทย์พิเศษ
ทำประกันสุขภาพเพื่อได้รับคุ้มครอง อุบัติเหตุฉุกเฉิน 24 ชั่วโมงแรก
สำหรับการประกันภัยที่เกี่ยวข้องจากการเกิดอุบัติเหตุ (PA) จะให่้ความคุ้มครองกรณีที่ผู้เอาประกัน สูญเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือได้รับบาดเจ็บอันเนื่องจากอุบัติเหตุ รวมถึงการถูกฆาตกรรม หรือถูกทำร้ายร่างกาย ไม่ว่าในขณะทำงาน พักผ่อน ระหว่างเดินทางหรือท้องเที่ยวทั่วโลก และยังสามารถซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมได้แก่ อุบัติเหตุที่เกิดจากการขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ ภัยสงคราม การจลาจลและนัดหยุดงาน การแข่งขันหรือเล่นกีฬาอันตราย การโดยสารอากาศยานที่ไม่ใช่สายการบินพาณิชย์
คุณสมบัติผู้เอาประกันภัยประกันอุบัติเหตุ คือ ผู้ที่มีอายุระหว่าง 16 - 60 ปี
โดยการคิดเบี้ยประกันภัย จะแบ่งกลุ่มผู้เอาประกันภัย ตามลักษณะงาน ดังนี้
กลุ่ม A | ลักษณะงานที่มีอาชีพหรือหน้าที่ส่วนใหญ่อยู่ในสำนักงานและทำงานที่ไม่ได้ใช้เครื่องจักร เช่น ผู้บริหาร พนักงานบริษัท แทพย์ เภสัชกร พยาบาล ข้าราชการ วิศกร เป็นต้น |
กลุ่ม B | ลักษณะงานที่มีอาชีพหรือหน้าที่ส่วนใหญ่อยู่ในสำนักงานชั่วคราว หรือเป็นกลุ่มช่างฝีมือที่มีความชำนาญหรือทักษะ บางครั้งอาจจะมีการใช้เครื่องจักร เช่น ตัวแทน/นายหน้า วิศกร ช่างไม้ เจ้าของกิจการขนาดเล็ก เป็นต้น |
กลุ่ม C | ลักษณะงานที่ส่วนใหญ่มีการใช้เครื่องจักรกลหนัก หรือเป็นผู้ใช้แรงงานหรือทำงานนอกสำนักงานเป็นประจำ เช่น ผู้ที่ปฎิบัติงานด้านช่าง ด้านการผลิต การขนส่ง พนักงานขาย นักร้อง นักแสดง มัคคุเทศภ์ นักข่าว พนักงานขับรถ เป็นต้น |
กลุ่ม D | ลักษณะงานที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด เช่น คนงานก่อสร้าง พนักงานรักษาความปลอดภัย พนักงานรับส่งเอกสาร เป็นต้น |
ตารางแสดงการเปรียบเทียบความคุ้มครอง ระหว่างอบ.1 และ อบ.2
อบ.1 |
อบ.2 |
|
การเสียชีวิต |
100 % |
100 % |
ทุพลภาพถาวรสิ้นเชิง |
100 % |
100 % |
สูญเสียอวัยวะ สายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง มือสองข้างตั้งแต่ข้อมือ หรือเท้าสองข้างตั้งแต่ข้อเท้า หรือสายตาสองข้าง |
100 % |
100 % |
มือหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อมือ และเท้าหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อเท้า |
100 % |
100 % |
มือหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อมือ และสายตาหนึ่งข้าง |
100 % |
100 % |
เท้าหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อเท้า และสายตาหนึ่งข้าง |
100 % |
100 % |
มือหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อมือ |
60 % |
60 % |
เท้าหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อเท้า |
60 % |
60 % |
สายตาหนึ่งข้าง |
60 % |
60 % |
หูหนวกสองข้างหรือเป็นใบ้ |
- |
50 % |
หูหนวกหนึ่งข้าง |
- |
15 % |
นิ้วหัวแม่มือ (ทั้งสองข้อ) |
- |
25 % |
นิ้วหัวแม่มือ (หนึ่งข้อ) |
- |
10 % |
นิ้วชี้ (สามข้อ) |
- |
10 % |
นิ้วชี้ (สองข้อ) |
- |
8 % |
นิ้วชี้ (หนึ่งข้อ) |
- |
4 % |
นิ้วอื่นแต่ละนิ้ว (ไม่น้อยกว่าสองข้อ) นอกจากหัวแม่มือและนิ้วชี้ |
- |
5 % |
นิ้วหัวแม่เท้า |
- |
5 % |
นิ้วเท้าอื่นแต่ละนิ้ว (ไม่น้อยกว่าหนึ่งข้อ) นอกจากนิ้วหัวแม่เท้า |
- |
1 % |