ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

ภัยพิบัติ ถล่มโลก ประกันภัยอ่วม จ่ายยับ อาจกระทบ ผู้เอาประกันภัย

ภัยพิบัติทางธรรมชาติ หลายประเภทที่เลวร้ายทั่วโลก กระทบ ประกันภัย จ่ายค่าสินไหมร่วม 3.36 ล้านล้านบาท ไม่รวมเคลม โควิด-19

ภัยพิบัติ ถล่มโลก ประกันภัยอ่วม จ่ายยับ อาจกระทบ ผู้เอาประกันภัย

กุมภาพันธ์

2

ในปี 2564 ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เลวร้าย เกิดขึ้นทั่วโลก ตั้งแต่ อากาศหนาวจัด น้ำท่วม พายุฝนรุนแรง คลื่นความร้อน และ เฮอริเคน พุ่งชนอุตสาหกรรมประกันภัย จ่ายค่าสินไหมร่วม 3.36 ล้านล้านบาท หรือ 1.05 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ไม่รวมเคลมที่เกี่ยวข้องกับ โควิด-19 (COVID-19) และยังไม่ใช่การประเมินขั้นสุดท้าย

สถาบันสวิส รี (Swiss Re Institute) เผยว่า ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่สร้างความเสียหายสูง ในปี 2564 และมีมูลค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 10 ปีก่อนหน้า ดังนี้

• พายุเฮอริเคน “ไอดา” (Ida) ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีศักยภาพการทำลายล้างสูง สร้างความเสียหายมูลค่าแพงที่สุด เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ประชากรหนาแน่น ค่าสินไหมประมาณ 9.6 แสนล้าน - 1.02 ล้านล้านบาท

• น้ำท่วมในนิวยอร์ก พายุฤดูหนาว Uri หรือพายุน้ำแข็ง กระหน่ำ สหรัฐฯ เม็กซิโก และแคนาดา รวมถึงภัยรองอื่น ๆ ความเสียหายรวมมากกว่า 50% ของค่าสินไหมดังกล่าว เนื่องจากเป็นแหล่งพื้นที่มั่งคั่ง เกิดการเรียกร้องเคลมจำนวนมาก ประมาณ 4.8 แสนล้านบาท

• ในยุโรป เป็นเหตุการณ์ น้ำท่วม ในเยอรมนี เบลเยียม และประเทศใกล้เคียง ค่าสินไหมประมาณ 4.16 แสนล้านบาท แต่ความเสียหายทางเศรษฐกิจสูงถึง 1.28 ล้านล้านบาท เป็นช่องว่างความคุ้มครองด้านประกันภัย (protection gap) ที่มีขนาดใหญ่

• เหตุการณ์ภัยพิบัติอื่น ๆ เช่น น้ำท่วมหนักใน มณฑลเหอหนาน ของจีน และ บริติสโคลัมเบีย ในแคนาดา

• ภัยพิบัติ ไม่รวมที่มนุษย์ก่อให้เกิดความเสียหายอีก 2.24 แสนล้านบาท

“ประกันภัย มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการส่งเสริมความยืดหยุ่นของสังคม เพื่อรองรับความเสี่ยงด้านสภาพอากาศ”

จากแนวโน้มต้นทุนค่าสินไหมทดแทนจำนวนมาก ที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติทางธรรมชาติต่าง ๆ ทำให้คาดว่าจะมีการปรับ เบี้ยประกันภัยต่อเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อ ผู้เอาประกันภัย สำหรับความคุ้มครอง เพื่อฟื้นฟู และชดเชย ต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัย

เครดิต: สยามอินชัวร์ นิวส์

ที่มา : ทูเดย์อินชัวร์