ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ เอวัง สินไหมสะพรั่ง ขาดทุนยับ

เพิ่มความคุ้มครองรอบใหม่ ตลาด ประกันภัย พ.ร.บ.มีสินไหมเพิ่มขึ้น บริษัท กลางฯ อาจขาดทุนเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม ประกันภัย

พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ เอวัง สินไหมสะพรั่ง ขาดทุนยับ

เมษายน
8

1 เมษายน 2560 นี้ ครบปีของการแก้ไข ประกันภัย รถตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ. ศ. 2535 ที่ได้ปรับเพิ่มจำนวนเงินความคุ้มครองในกรมธรรม์ให้กับผู้ประสบภัยจากรถ กรณีได้รับบาดเจ็บ จากเดิมจะได้รับค่ารักษาพยาบาล 50,000 บาทต่อคน ปรับเพิ่มเป็น 80,000 บาทต่อคน กรณีเสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร จากเดิม 200,000 บาทต่อคน ปรับเพิ่มเป็น 300,000 บาทต่อคน และกรณีสูญเสียอวัยวะจากเดิม 200,000 บาทต่อคน ปรับเพิ่มเป็นระหว่าง 200,000-300,000 บาทต่อคน โดยไม่มีการปรับอัตราเบี้ย ประกันภัย เพิ่มขึ้น

ซึ่งการปรับเพิ่มความคุ้มครองรอบใหม่นี้ ทำให้ตลาด ประกันภัย พ.ร.บ.โดยรวม มีค่าสินไหมทดแทนเพิ่มขึ้น โดยในขณะนั้นสมาคมประกันวินาศภัยไทย ประมาณการไว้คร่าวๆ ราว 1,000 ล้านบาทเศษ ซึ่งบริษัทที่จะได้รับผลกระทบหนักที่สุดคือ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ผู้รับ ประกันภัย พ.ร.บ.รายใหญ่ที่สุดของอุตสาหกรรมประกันวินาศภัย ซึ่งกฎหมายกำหนดให้รับ ประกันภัย รถจักรยานยนต์ เพียงประเภทเดียว อาจจะประสบปัญหาขาดทุนเพิ่มขึ้น เนื่องจาก รถจักรยานยนต์ มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนสูงสุดเมื่อเทียบกับรถประเภทอื่น แต่มีอัตราเบี้ย ประกันภัย ต่ำที่สุดเพียงคันละ 300 บาท หากตัวเลขของบริษัทกลางขยับเพิ่มขึ้นย่อมส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมโดยรวมแน่นอน

ครบปี สินไหม พ.ร.บ.พรุ่งปรี๊ด 106% บริษัทกลางฯ ขาดทุนป่นปี้ “เคลมท่วมเบี้ย”

ล่าสุด บริษัทกลางฯ ประสบปัญหานี้แล้ว โดยรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท กลางฯ เปิดเผยว่า ภายหลังปรับความคุ้มครอง ประกันภัย รถภาคบังคับ เพิ่มขึ้น บริษัทมีอัตราสินไหมทดแทน (Loss Ratio) ขยับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันอยู่ที่ 106% เป็นสินไหมทดแทนเพียวๆ ไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่น ทั้งค่าคอมมิชชั่นและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่เรียกว่า “คอมไบน์ เรโช” ซึ่งหากรวมน่าจะเกิน 115% โดยตัวเลข 106% อยู่ในภาวะสินไหมทดแทนท่วมเบี้ย ประกันภัย แล้ว สาเหตุหลักมาจากการปรับเพิ่มความคุ้มครองข้างต้น อีกสาเหตุมาจากการควบคุมจำนวนการเกิดอุบัติเหตุทาง รถยนต์ บนท้องถนนยังไม่ลดลง

ในปี 2559 บริษัทมีจำนวน รถจักรยานยนต์ ทำ ประกันภัย 13.1 ล้านคัน คิดเป็นเบี้ย ประกันภัย รวมประมาณ 3,800 ล้านบาท

“1 เดือนก่อนปรับเพิ่มความคุ้มครอง เมื่อวันที่ 1 เมษายนปีก่อน Loss Ratio ของเราอยู่ที่ 86% หลังเพิ่มความคุ้มครอง Loss Ratio ก็ขยับเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จนมาอยู่ที่ 106% ถามว่าอัตราสินไหมข้างต้นน่าวิตกมั้ย ก็น่าวิตก เพราะโดยหลักการของ ประกันภัย พ.ร.บ. “No gain No Loss” ถ้าเป็นแบบนี้ก็ผิดหลักการแล้ว เพราะแค่ตัวเลขสินไหมอย่างเดียวก็ขาดทุนแล้ว รับเบี้ย 100 บาท จ่ายสินไหมทดแทน 106 บาท”

อยู่ได้เพราะเงินสมทบจาก บ.ประกันภัย รุดแจ้งสมาคมวินาศภัย หาทางแก้ด่วน

แม้สถานการณ์ในขณะนี้จะไม่หนักเท่ากับผลขาดทุนในปี 2545 ซึ่งในปีนั้น สมาคมประกันวินาศภัยต้องตั้งกองกลาง ประกันภัย รถจักรยานยนต์ (CMIP) ขึ้นมาแก้ปัญหา โดยให้บริษัท ประกันภัย ต่างๆ เข้ามาร่วมกันรับ ประกันภัย รถจักรยานยนต์ เพื่อร่วมกันแชร์ความเสี่ยง เพราะในตอนนั้นบริษัทได้เงินสมทบจากบริษัท ประกันภัย ที่กฎหมายกำหนดให้จัดส่งให้ในอัตราปีละแค่ 2.25% ของเบี้ย ประกันภัย พ.ร.บ. ซึ่งน้อยกว่าในขณะนี้ที่ได้รับในอัตราปีละ 12.25% หรือกว่า 1,000 ล้านบาท จึงทำให้สามารถประคองตัวอยู่ได้ แต่กระนั้นตัวเลขที่แสดงออกมาสะท้อนผลขาดทุนชัดเจนแล้วว่า มาจากการปรับเพิ่มความคุ้มครอง ซึ่งได้ดำเนินการมาครบปี ในวันที่ 1 เมษายนนี้แล้วเป็นตัวเลขที่เชื่อถือได้ อีกทั้งการจ่ายสินไหมทดแทนของบริษัทกลางฯ ก็จ่ายเร็วอยู่แล้ว ตัวเลขจึงสะท้อนได้เร็ว

ประเด็น Loss Ratio ของบริษัทอยู่ในระดับสูงมากนี้ ได้เข้าหารือในคณะกรรมการประกันภัยยานยนต์ สมาคมประกันวินาศภัยไทย ที่ตนเองเป็นรองประธานอยู่แล้ว ซึ่งบอร์ดประกันภัยยานยนต์ได้รับรู้ และเห็นด้วยกับตัวเลขที่ขยับเพิ่มขึ้น ว่าเป็นผลมาจากการปรับความคุ้มครองเพิ่มขึ้น โดยตัวเลขในธุรกิจ ประกันภัย พ.ร.บ.โดยรวมได้ขยับเพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่จำนวนที่เพิ่มขึ้นอาจจะน้อยกว่าบริษัทกลางฯ เพราะความเสี่ยงของ รถยนต์ น้อยกว่า รถจักรยานยนต์ ซึ่งเมื่อครบปีแล้วจะสรุปตัวเลขให้บอร์ดสมาคมประกันวินาศภัยไทยพิจารณา

“ขนาดเพิ่มความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตจาก 200,000 บาทเป็น 300,000 บาท ตัวเลขยังเพิ่มขึ้นมากขนาดนี้ ขณะที่ตัวเลขที่ คปภ.เคยศึกษาไว้ จะเพิ่มจาก 200,000 ไปถึง 500,000 บาท”

งัดทุกมาตรการลด Loss Ratio “วิริยะ” แจงสินไหมขยับไม่มา

อย่างไรก็ดี เพื่อลดอัตราความเสียหายลง ทางบริษัทได้กำหนดมาตรการดำเนินการทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร โดยมาตรการภายใน อาทิ ให้ตัวแทนทั่วประเทศที่มีอยู่ประมาณ 4,000-5,000 คน ได้มีส่วนร่วมเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนน ให้แก่ผู้เอา ประกันภัย เพื่อให้เกิดความตระหนักในการใช้รถใช้ถนนมากขึ้น ติดตามตรวจสอบเมื่อผู้เอา ประกันภัย ประสบเหตุ จุดที่เกิดเหตุ เพื่อให้เขาไปดูแลได้อย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันให้ตัวแทนไปร่วมบรรยายให้ลูกค้าได้รับรู้ถึงความสูญเสียต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อให้ตระหนักถึงการใช้รถใช้ถนนมากขึ้น

ในส่วนของพนักงาน กรณีลูกค้ามาติดต่อทำ ประกันภัย ต้องให้ความรู้กับลูกค้าถึงการใช้รถอย่างปลอดภัยเช่นกัน อาทิ สวมหมวกนิรภัยเพื่อลดความรุนแรงระหว่างเกิดอุบัติเหตุลง เพื่อให้ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด โดยได้จัดทำเทปสัมภาษณ์ผู้สูญเสีย เปิดให้ลูกค้าที่มาติดต่อบริษัท หรือตามสาขาต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความการรับรู้

สำหรับมาตรการภายนอกมีอยู่ 2-3 เรื่อง ได้แก่ ปลูกฝังกลุ่มเยาวชนสร้างเกราะความรู้ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ อาทิ ไม่ควรขับซิ่งหรือแต่งรถ ซึ่งจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากขึ้น ให้ใช้รถอย่างถูกต้องเรียนรู้ผ่านการจัดกิจกรรมต่างๆ โดยมีชมรมทั่วประเทศ 400 กว่าชมรม 2.ร่วมกับหน่วยงานองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวน 1,099 แห่ง เพื่อให้ความเห็นถึงความสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุทางถนน โดยหวังให้องค์กรต่างๆ สร้างมาตรฐานการดูแลคนของเขา ผลักดันเป็นเชิงนโยบายออกมา ยกตัวอย่าง ภาครัฐซึ่งมีคนทำงานอยู่ตามองค์กรต่างๆ ถึง 38 ล้านคน เป็นต้น

“กลุ่มคนที่เสียชีวิตมากที่สุดคือ 1.วัยทำงาน 2.เยาวชน และ 3.ประชาชนทั่วไป โดย 2 กลุ่มแรกต้องขยายผลโดยเร็ว เช่น ในโรงเรียน ผ่านนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ คนวัยทำงานผ่านกระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทยออกกฎหมายบังคับ หวังให้ภาครัฐช่วยแก้ปัญหา ส่วนประชาชนทั่วไป เราก็ทำเรื่องเสริมสร้างให้ชุมชนมีส่วนร่วมสร้างการรับรู้ โดยโครงการที่ขับเคลื่อนอยู่ อาทิ ผ้าป่าหมวกนิรภัยเพื่อชุมชน และมีกิจกรรมที่ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เช่น ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์ความปลอดภัยทางถนนในแต่ละจังหวัด นำเสนอจุดเสี่ยง จุดอันตราย เปิดเวทีพูดคุยในท้องถิ่น ในโครงการถนนปลอดภัย คนไทยปลอดภัย โดยให้ผู้จัดการสาขาเป็นคนนำเสนอข้อมูล เพื่อกำหนดเป็นแนวทางดำเนินการในแต่ละพื้นที่ เราก็ทำทุกทางเพื่อลดอัตราความสูญเสีย ซึ่งจะส่งผลไปถึงเบี้ย ประกันภัย ปรับลดลงได้”

ด้านรองผู้จัดการฝ่ายมาตรฐานงานชดใช้สินไหมทดแทน บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้รับ ประกันภัย พ.ร.บ.เบอร์สองของอุตสาหกรรม กล่าวว่า สินไหมทดแทน ประกันภัย พ.ร.บ.ของบริษัทได้ปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน เพียงแต่ไม่หวือหวามาก โดยในปี 2558 ก่อนปรับความคุ้มครองเพิ่มขึ้น ค่าสินไหมทดแทน ประกันภัย พ.ร.บ.ที่จ่ายไป 995 ล้านบาท จำนวนเคลมที่เกิดขึ้น 38,000 เคลม ปี 2559 ซึ่งเป็นปีที่เพิ่มความคุ้มครอง ค่าสินไหมทดแทนขยับเพิ่มขึ้นเป็น 1,200 ล้านบาทเศษ จำนวนเคลมที่เกิดขึ้น 40,000 เคลม

“สาเหตุที่ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มขึ้น มาจากการเพิ่มความคุ้มครองข้างต้น แต่ตัวเลขของเราเพิ่มไม่เยอะตามสัดส่วนการรับ ประกันภัย ที่เพิ่มขึ้น อีกสาเหตุหนึ่งการที่ทางภาครัฐมีโครงการรณรงค์ลดอุบัติเหตุต่างๆ อาทิ เมาไม่ขับ ช่วยลดอุบัติเหตุลงได้ เรามีพอร์ตประกันรถมอเตอร์ไซค์ไม่เยอะ แค่ที่ขายในกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น ส่วนในปีนี้เราเชื่อว่าความสูญเสียจากการเกิดอุบัติเหตุทางถนนอาจจะลดลงอีก เนื่องจากรัฐออกมาตรการที่มีความเข้มข้นมากขึ้น เช่น ใน รถโดยสารสาธารณะ ต่างๆ อาทิ รถตู้ รถแท็กซี่ ให้คาดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง เป็นต้น”

ในปี 2559 วิริยะมีเบี้ย ประกันภัย รับรวมทั้งสิ้น 33,272.52 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.63% ประกอบด้วยเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ 30,253.18 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.22% และ ประกันภัย ไม่ใช่รถยนต์ (Non Motor) 3,005.23 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.09% ซึ่งใน ประกันภัยรถยนต์ แบ่งเป็นเบี้ย ประกันภัย ภาคสมัครใจ 27,184.61 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.26% และเบี้ย ประกันภัย พ.ร.บ. 3,068.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.88%

สถิติ คปภ.ปี 59 สินไหม พ.ร.บ.เพิ่ม 23% Loss Ratio ขยับพรวดแตะ 57.02%

จากสถิติของสำนักงาน คปภ.ในปี 2559 อุตสาหกรรมประกันวินาศภัยมีเบี้ย ประกันภัย พ.ร.บ. 16,679.829 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.37% โดยมีค่าสินไหมทดแทน 9,042.698 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.39% ซึ่งหากเทียบในช่วง 5 ปีย้อนหลังแล้ว เป็นอัตราการเพิ่มขึ้นที่สูงกว่าทุกปี เช่นเดียวกับ Loss Ratio ที่ขยับขึ้นไปอยู่ที่ 57.02% สูงกว่าปีอื่นๆ เช่นกัน โดยเป็นตัวเลขหลังปรับเพิ่มความคุ้มครองได้ 9 เดือนยังไม่ครบ 1 ปี

ด้านสมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดเผยสถิติจำนวน รถยนต์ ที่จดทะเบียนตามกฎหมายสะสมใน เดือนมกราคม-ธันวาคม ปี 2559 มีจำนวน 2,872,026 คัน เพิ่มขึ้น 3.6% แบ่งเป็น รถจักรยานยนต์ 1,914,131 คัน รถยนต์นั่งส่วนบุคคล 566,081 คัน และรถอื่นๆ 391,814 คัน โดยมีเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ ทั้งสิ้น 122,188 ล้านบาท เป็น ประกันภัย ภาคบังคับ 16,680 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.72% ประกันภัย ภาคสมัครใจ 105,508 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.39%

ที่มา : สยามอินชัวร์ นิวส์