ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

จับตา ประกันภัย ข้าว รัฐเล็งลดเบี้ยต่ำ 100

สมาคมฯ จัดประชุมผู้บริหารโครงการ ประกันภัย ข้าวนาปี ปีการผลิต 2559 เพื่อสรุปผลโครงการในปี 2559 พร้อมกำหนดเป้าหมายและทิศทางในปี 2560

จับตา ประกันภัย ข้าว รัฐเล็งลดเบี้ยต่ำ 100

กุมภาพันธ์
23

บทบาทหลักของ สมาคมประกันวินาศภัยไทย ที่จะเดินไปในอนาคต คือเป็น “องค์กรบริหารความเสี่ยงภัยให้ประเทศชาติ ทั้งในด้านภัยพิบัติและสุขภาพของคนในชาติ” ซึ่งในส่วนของการ ประกันภัย พิบัติ มุ่งไปที่ภาคเกษตรกรรม นำร่องจากโครงการ ประกันภัย ข้าวนาปี โดยสมาคมฯ เพิ่งเป็นเจ้าภาพจัดประชุมผู้บริหารโครงการ ประกันภัย ข้าวนาปี ปีการผลิต 2559 “Rice Insurence Focus Group #2” ร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และบริษัท ประกันภัย รวมทั้ง 16 บริษัท เพื่อสรุปผลโครงการในปี 2559 พร้อมกำหนดเป้าหมายและทิศทางในปี 2560

นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวถึงโครงการในปี 2560 ว่า ในเบื้องต้นรัฐบาลยังคงเป้าหมายจำนวนนาข้าวทำ ประกันภัย เท่ากับปีที่ผ่านมาคือ 30 ล้านไร่ ซึ่งเร็วๆ นี้ สมาคมฯ คงจะมีข้อสรุปเกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆ ของโครงการ เพื่อเสนอรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นเบี้ย ประกันภัย ความคุ้มครอง ตลอดจนรูปแบบจะเป็นอย่างไร จำเป็นจะต้องมีการปรับปรุงหรือไม่ อาทิ การจ่ายเบี้ย ประกันภัย หากเป็นธนาค่รลูกค้า ธ.ก.ส. ทางรัฐบาลและ ธ.ก.ส.เป็นผู้อุดหนุนเบี้ย ประกันภัย ให้ทั้งหมด จะเสนอให้ลูกค้า ธ.ก.ส.รับผิดชอบเบี้ย ประกันภัย เองส่วนหนึ่งหรือไม่ จะได้เกิดการเรียนรู้เรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยง โดยอยากให้ได้ข้อสรุปเร็ว เพราะหากเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เร็ว จะมีเวลาดำเนินโครงการเร็วขึ้น อาจจะเป็นเดือนเมษายน เหมือนกับปี 2558 เทียบกับปี 2559 ที่ล่าช้าออกไปถึงเดือนกรกฎาคม

เบี้ยไร่ 100 ต่ำอยู่แล้ว ถ้าท่วมอีสานจ่ายนาล่มหมื่นล้าน

สำหรับอัตราเบี้ย ประกันภัย ซึ่งมีกระแสข่าวออกมาว่า รัฐบาลอาจจะขอปรับลดลงจากในปี 2559 จัดเก็บในอัตรา 100 บาทต่อไร่เท่ากันทั่วประเทศนั้น เป็นอัตราที่ต่ำอยู่แล้ว หากรัฐบาลต้องการจะปรับลดลงคงต้องหารือกัน ซึ่งตามหลักการคงไม่สามารถปรับอัตราเบี้ย ประกันภัย ได้ทุกปี โดยตัวแปรอยู่ที่อัตราความเสียหาย (Loss Ratio) หากจะบอกว่า Lass Ratio ในปีที่ผ่านมาต่ำ เนื่องจากนาข้าวที่ถูกน้ำท่วมและเสียหายหนัก คือพื้นที่ในภาคใต้ซึ่งปลูกข้าวไม่มาก ยังไม่สามารถพูดแบบนั้นได้ เพราะหากพื้นที่เพาะปลูกข้าวที่เกิดน้ำท่วม ย้ายจากภาคใต้ไปเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งปลูกข้าวมากที่สุดเป็นสิบล้านไร่ ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับธุรกิจ ประกันภัย จะต้องจ่ายสินไหมทดแทนเป็นหมื่นล้านบาท

“ประเทศไทยอยู่ในเขตมรสุม โอกาสที่จะเกิดน้ำท่วมมีอยู่ตลอดเวลา จึงไม่อยากให้มองความเสียหายแบบปีต่อปี ต้องมองระยะยาวและก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอื่นๆ อาทิ นโยบายบริหารจัดการน้ำของรัฐบาล และพื้นที่เพาะปลูกด้วย เราไม่สามารถปรับเบี้ย ประกันภัย ทุกปีได้ อยากให้ดูระยะยาว เพราะความเสี่ยงประเทศยังไม่นิ่ง อย่างน้ำท่วมในภาคใต้ในครั้งนี้ เนื่องจากมีพื้นที่เพราะปลูกข้าวแค่ 2 แสนกว่าไร่ ไม่เยอะมาก จนถึงขณะนี้ยังไม่รู้เสียหายทั้งหมดหรือไม่ รอรัฐประเมินและประกาศความเสียหายเป็นพื้นที่ภัยพิบัติก่อน เราอยากให้ประกาศเร็วๆ จะได้จ่ายสินไหมทดแทนให้กับเกษตรกรที่ได้รับความเสียหาย”

นอกจากความเสียหายจากภัยพิบัติที่ส่งผลต่ออัตราความเสียหายโดยตรงแล้ว ยังมีตัวแปรอีกอย่างหนึ่ง คือ พื้นที่เพาะปลูกที่ธุรกิจ ประกันภัย ต้องคืนเบี้ย ประกันภัย ให้เนื่องจากไม่ได้เพราะปลูก แต่ได้จัดทำ ประกันภัย ไว้ หรือจะเป็นการเพาะปลูกหลังเกิดภัยพิบัติ และอยู่ในช่วงระยะเวลารอคอย 7 วัน โดยนาข้าวที่เข้าข่ายต้องคืนเบี้ย ประกันภัย ให้ทุกปี จะอยู่ประมาณ 15% หรือ 4 ล้านไร่จาก 27 ล้านไร่ที่ทำ ประกันภัย ไว้ หรือมีเบี้ย ประกันภัย หายไป 400 ล้านบาท จะเหลือเบี้ย ประกันภัย ที่เข้าสู่ธุรกิจ ประกันภัย 2,300 ล้านบาท จากเดิม 2,700 ล้านบาท เมื่อเบี้ย ประกันภัย ลดลง จะทำให้สินไหมทดแทนเพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อรวมทุกปัจจัยเสี่ยงแล้ว Loss Ratio ประกันภัย ข้าวนาปีในปีที่ผ่านมา น่าจะอยู่ที่ประมาณ 40-50% ยังอยู่ในเกณฑ์ดีอยู่ โชว์ระบบเคลม ขรก. / ย้ำจ่าย รพ. เร็ว เตรียมชงคลัง / ดึงบุคคลที่ 3 เคาะเบี้ย

สำหรับอีกบทบาทของสมาคมฯ ที่จะเข้าไปดูแลสุขภาพของคนในประเทศ ที่น่าจะเริ่มจากการดูแลรักษาพยาบาลให้กับข้าราชการทั้งระบบนั้น กล่าวถึงความคืบหน้าของเรื่องนี้ ในการร่วมอภิปรายในงานสัมมนา ”สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการไทย โอนสิทธิ์ให้บริษัท ประกันภัย ดูแล ใครได้ ใครเสีย?” ที่จัดโดยคณะกรรมาธิการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นั้น ตนยังยืนยันว่าธุรกิจประกันวินาศภัยพร้อมจะเข้าไปดูแลค่ารักษาพยาบาลให้กับข้าราชการ โดยได้ทำความเข้าใจกับทุกฝ่าย ทั้งข้าราชการ และสถานพยาบาล เกี่ยวกับระบบบริหารจัดการสินไหมทดแทน เพื่อให้ข้าราชการเกิดความมั่นใจ ให้ได้รับความสะดวกในการใช้บริการ ขณะที่โรงพยาบาลจะได้รับค่ารักษาพยาบาลเร็วขึ้น

“อย่าพึ่งคิดว่า เมื่อมาซื้อ ประกันภัย ให้กับข้าราชการแล้ว จะทำให้รายจ่ายของรัฐบาลในด้านนี้ลดลงทันที เพราะจำนวนเคลมเยอะมาก 30 ล้านเคลมต่อปี เคลมปกติเราจะดูแลจ่ายให้เร็วผ่านระบบอี-เคลมที่ทำอยู่แล้ว โดยจะไปมอนิเตอร์เคลมที่มีลักษณะผิดปกติมากขึ้น เพื่อลดรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลลง แม้รัฐบาลจะให้ ประกันภัย เข้าไปดูแล แต่ข้าราชการไม่ได้รับผลกระทบใดๆ สิทธิประโยชน์ต่างๆ ยังคงเหมือนเดิม ส่วนสถานพยาบาลเราก็รับปากจะวางบิลค่ารักษาพยาบาลได้เร็วขึ้น พร้อมกันนั้นเราจะเก็บสถิติข้อมูลให้สมบูรณ์ที่สุด เพื่อให้รัฐบาลนำไปประกอบวางแผนนโยบายด้านสาธารณสุขให้กับข้าราชการในอนาคต เพื่อจะได้ลดการเจ็บป่วยลง ลดงบประมาณลงได้”

อย่างไรก็ดี สมาคมฯ จะยื่นข้อเสนอไปที่กระทรวงการคลังเร็วๆ นี้ ว่าพร้อมที่จะเข้าไปดูแลค่ารักษาพยาบาลให้กับข้าราชการ ส่วนอัตราเบี้ย ประกันภัย จะไม่กำหนดไป เพราะตัวเลขที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอ อีกทั้งตามเงื่อนไขของรัฐบาล เบี้ย ประกันภัย ต้องไม่สูงเกินงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรมาดูแลด้านการรักษาพยาบาล ซึ่งขณะนี้รู้แค่งบประมาณของปี 2559 อยู่ที่ 71,000 ล้านบาท ยังไม่รู้ของปี 2560 และปี 2561 โดยปี 2561 เป็นปีที่ธุรกิจประกันวินาศภัยจะเริ่มเข้าไปรับ ประกันภัย หากรัฐบาลให้เข้าไปดูแล โดยจะให้บุคคลที่ 3 ซึ่งน่าจะเป็นนักวิชาการด้าน คณิตศาสตร์ประกันภัย เข้ามาช่วยประเมินแนวโน้มค่ารักษาพยาบาลข้าราชการที่ภาครัฐต้องจ่ายในปี 2560-2561 ควรจะเป็นเท่าไหร่ ซึ่งตัวเลขที่ได้คือเบี้ย ประกันภัย โดยแนวทางนี้เป็นธรรมกับทั้ง 3 ฝ่าย ทั้งรัฐบาล บริษัท ประกันภัย และข้าราชการ

“ภายในเดือนมิถุนายนหรือกรกฎาคมนี้ น่าจะเห็นแนวโน้มค่ารักษาพยาบาลจะเป็นอย่างไร ส่วนบริษัท ประกันภัย ที่จะเข้าร่วมโครงการ กำหนดให้ส่งคำตอบภายใน 31 มกราคมที่ผ่านมา จะเข้าร่วมโครงการหรือไม่ และถ้าเข้าร่วมจะรับ ประกันภัย สัดส่วนเท่าไหร่ เบื้องต้นมีบริษัท ประกันภัย แสดงเจตจำนงจะเข้าร่วม 30 บริษัท แต่ยังไม่บอกสัดส่วนพี่จะรับมา ตอนนี้รอแค่ความชัดเจนจากรัฐบาลเท่านั้น จะให้ธุรกิจ ประกันภัย เข้าไปดูแลให้หรือไม่ หากให้ทำเราจะเดินหน้าลงทุนต่อ เพราะในช่วงเริ่มโครงการ ธุรกิจ ประกันภัย จะลงทุนเองประมาณ 200-300 ล้านบาทรองรับการทำเคลม โดยจะตั้งองค์กรขึ้นมาตรวจสอบ และประเมินความเสียหาย” เพราะจำนวนเคลมเยอะมาก

ยอดเคลมน้ำท่วมใต้ 559 ล้าน คปภ.ตั้งศูนย์ช่วยเหลือ / วางกฏซ่อมรถ

สำหรับความเสียหายจากน้ำท่วมในภาคใต้ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวว่า ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 26 มกราคม 2560 มีความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน 1,856 รายการ ประเมินความเสียหาย 559,961,758 บาท โดย รถยนต์ ที่ทำ ประกันภัย ได้รับความเสียหาย 1,631 คัน ประเมินความเสียหาย 139,272,122 บาท ประกันภัย ความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) 104 ราย ประเมินความเสียหาย 409,164,593 บาท ประกันอัคคีภัย (ที่อยู่อาศัย ที่ให้ความคุ้มครองภัยน้ำท่วม) 69 ราย ประเมินความเสียหาย 3,911,334 บาท ประกันอัคคีภัย (อาคารพาณิชย์ / SME) 49 ราย ประเมินความเสียหาย 7,363,708 บาท ประกันชีวิตและประกันอุบัติเหตุ (PA) 3 ราย ประเมินความเสียหาย 250,000 บาท ส่วนนาข้าวที่เสียหายยังคงมีจำนวน 40,296 ไร่ ซึ่งอยู่ระหว่างประเมินความเสียหาย ทั้งนี้ ในการให้ความช่วยเหลือ ได้สั่งการให้สำนักงาน คปภ. ภาค 8 (สุราษฎร์ธานี) และสำนักงาน คปภ. ภาค 9 (สงขลา) ตั้งศูนย์ประสานงานและจัดชุดโมบายเคลื่อนที่ โดยสำนักงาน คปภ. ภาค 8 (สุราษฎร์ธานี) ให้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือประชาชนด้าน ประกันภัย ในทุกจังหวัดที่รับผิดชอบ และให้จัดหน่วยเคลื่อนที่ไปดำเนินการร่วมกับสำนักงาน คปภ.จังหวัดชุมพรและประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น

สำหรับการซ่อม รถยนต์ ให้ยึดถือแนวปฏิบัติตามมาตรฐานการซ่อม รถยนต์ ที่ถูกนำน้ำท่วม ซึ่งแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ ระดับ A น้ำท่วมถึงพื้น รถยนต์ ประเมินค่าซ่อม 8,000-10,000 บาท ระดับ B น้ำท่วมถึงเบาะหลัง ประเมินค่าซ่อม 15,000-20,000 บาท ระดับ C น้ำท่วมถึงส่วนล่างของคอนโซลหน้า ประเมินค่าซ่อม 25,000-30,000 บาท ระดับ D น้ำท่วมสูงส่วนบนของคอนโซลหน้า ประเมินค่าซ่อมเริ่มต้นที่ 30,000 บาทขึ้นไป และ ระดับ E รถยนต์ จมน้ำทั้งคัน ซึ่งในกรณีนี้บริษัทผู้รับ ประกันภัย จะคืนทุน ประกันภัย ให้กับผู้รับ ประกันภัย สถานเดียว

ที่มา : สยามอินชัวร์ นิวส์