ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

ประกันภัย ทางทะเลจ่อ ครม. พลิกประวัติศาสตร์ประเทศ

พ.ร.บ.การ ประกันภัย ทางทะเล ทำให้ประเทศไทยได้มีกฎหมาย เมื่อเกิดข้อพิพาท เดิมศาลฎีกานำกฎหมาย ประกันภัย อังกฤษมาปรับใช้

ประกันภัย ทางทะเลจ่อ ครม. พลิกประวัติศาสตร์ประเทศ

กันยายน
15

บอร์ด คปภ.ไฟเขียว ร่าง พ.ร.บ. ประกันภัย ทางทะเล ฉบับประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ชี้เป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยบูมศักยภาพเศรษฐกิจไทย ด้านอุตสาหกรรม ประกันภัย ทางทะเล การขนส่ง การเดินเรือทะเล ให้แข่งขันในเวทีโลกได้ ด้านสมาคมประกันวินาศภัยไทยยันกฎหมายฉบับใหม่ ไม่เป็นภาระต้นทุนขนส่งให้กับผู้ประกอบการส่งออก แต่จะช่วยพิจารณาคดีง่ายขึ้นกรณีเกิดข้อพิพาท

เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย มีมติเห็นชอบในหลักการของร่างพระราชบัญญัติการ ประกันภัย ทางทะเล พ.ศ ....และให้สำนักงาน คปภ.เสนอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวต่อกระทรวงการคลัง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

ทั้งนี้ เนื่องจากการ ประกันภัย ทางทะเล เป็นธุรกรรมที่สำคัญประเภทหนึ่งในระบบการค้าระหว่างประเทศ การขนส่งสินค้า การเดินเรือในทะเล และระหว่างประเทศ แต่ประเทศไทยกลับไม่มีกฎหมาย ประกันภัย ทางทะเลเป็นของตนเองไว้ใช้ เมื่อเกิดข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญา ประกันภัย ทางทะเล ศาลฎีกาได้นำกฎหมาย ประกันภัย ทางทะเลของประเทศอังกฤษมาปรับใช้ ในฐานะหลักกฎหมายทั่วไป ตั้งแต่ พ.ศ. 2496 ซึ่งสามารถช่วยได้ในระดับหนึ่ง แต่เนื่องจากเป็นกฎหมายของต่างประเทศ จึงมีความยุ่งยากในการนำสืบหลักกฎหมาย และมีบางส่วนที่ไม่เหมาะสมที่จะใช้กับประเทศไทย ประกอบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดให้ ประกันภัย ทางทะเล อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายเฉพาะ แยกจากกฎหมาย ประกันภัย ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การยกร่าง พ.ร.บ.การ ประกันภัย ทางทะเลนี้ จะทำให้ประเทศไทยได้มีกฎหมาย ประกันภัย ทางทะเล ของตนเองเป็นครั้งแรก อันถือเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานครั้งสำคัญ ที่จะเป็นกลไกในการช่วยเพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจไทยด้านอุตสาหกรรม ประกันภัย ทางทะเลและขนส่งให้แข่งขันในเวทีโลกได้ ทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการพิจารณาวินิจฉัยข้อพิพาทของศาล เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างบรรทัดฐาน ในการใช้การตีความกฎหมาย ประกันภัย ทางทะเลของไทย อาจจะเป็นประโยชน์ต่อคู่ความในคดี ที่ไม่ต้องนำสืบหลักกฎหมายของต่างประเทศ ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ประกอบการและประชาชนในผลแห่งคดี รวมทั้งยังสามารถใช้เป็นเครื่องมืออันเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ในการเสริมประสิทธิภาพการกำกับดูแลธุรกิจ ประกันภัย ของสำนักงาน คปภ.อีกด้วย

“เดิมกรมเจ้าท่าได้มีการแต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อจัดทำร่าง พ.ร.บ.การประกันภัยทางทะเล พ.ศ. ... มาก่อน แต่จากการประสานความร่วมมือ กรมเจ้าท่าเห็นชอบให้สำนักงาน คปภ.เป็นผู้รับผิดชอบหลัก ในการผลักดันร่าง พ.ร.บ.การ ประกันภัย ทางทะเลฉบับนี้ โดยยินดีร่วมเป็นคณะทำงานด้วย”

สำนักงาน คปภ.จึงได้แต่งตั้งคณะทำงาน 2 คณะ ประกอบด้วย 1.คณะกรรมการเพื่อศึกษาความจำเป็นในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการ ประกันภัย ทางทะเล พ.ศ. ... ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยววชาญทั้งในด้านวิชาการ ผู้เชี่ยววชาญในภาคปฏิบัติ หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนจากกรมเจ้าท่า ผู้เชี่ยววชาญทางด้านกฎหมายจากกรมสนธิสัญญา รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียจากทุกภาคส่วน ประกอบด้วยผู้แทนสมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย สมาคมเจ้าของเรือไทย สมาคมเจ้าของเรือและตัวแทนเรือกรุงเทพ สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ผู้บริหารและพนักงาน สำนักงาน คปภ. โดยมีเลขาธิการ คปภ.เป็นประธาน เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และให้ความเห็นในการจัดทำร่าง พ.ร.บ.การ ประกันภัย ทางทะเล พ.ศ. ... และ 2.คณะทำงานเพื่อศึกษาและจัดทำร่าง พระราชบัญญัติการ ประกันภัย ทางทะเล พ.ศ. ... ซึ่งประกอบด้วย นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านการ ประกันภัย ทางทะเล โดยมีอำนาจหน้าที่หลักในการจัดทำและเสนอร่าง พ.ร.บ.การ ประกันภัย ทางทะเล

คณะทำงานฯ ได้ดำเนินการยกร่าง พ.ร.บ.การ ประกันภัย ทางทะเล โดยใช้หลักการเดียวกับ พ.ร.บ.การ ประกันภัย ทางทะเล (Marine Insurance Act 1906) และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดย พ.ร.บ. ประกันภัย ของ (Insurance Act 2015) ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นหลักการที่นานาประเทศใช้อยู่ในปัจจุบัน ทั้งยังได้มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับบริบทของกฎหมายไทย ร่างพระราชบัญญัติการ ประกันภัย ทางทะเล พ.ศ. ... แบ่งออกเป็น 15 หมวด 134 มาตรา โดยมีสาระสำคัญในเรื่องการกำหนดสิทธิ และหน้าที่ระหว่างผู้รับ ประกันภัย และผู้เอา ประกันภัย ตามสัญญา ประกันภัย ทางทะเล มีการกำหนดหลักการทั่วไป เช่น หลักสุจริตอย่างยิ่ง หลักส่วนได้เสีย หลักรับช่วงสิทธิ รวมถึงการจำแนกประเภทของสัญญา ประกันภัย ทางทะเล และหลักการคำนวณสินไหมทดแทน สำหรับการ ประกันภัย แต่ละประเภท เป็นต้น

ด้าน นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดเผยว่า ถ้า พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลประกาศใช้ ก็จะทำให้ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นมีการพิจารณาคดีได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมามีการใช้กฎหมายจากอังกฤษในการตีความเวลาเกิดข้อพิพาทขึ้น นอกจากนี้ยืนยันว่า พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวจะไม่ทำให้เกิดต้นทุนเพิ่มขึ้นที่เกิดจากเบี้ย ประกันภัย ทางทะเล สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจขนส่งออกทางเรือ

“เบี้ย ประกันภัย ทางทะเล จะเพิ่มขึ้นมากหรือน้อย ไม่ใช่มาจาก พ.ร.บ.ฉบับนี้ แต่อยู่ที่ยอดขนส่งสินค้าเข้าและออกทางเรือมีมากน้อยแค่ไหนต่างหาก”

ขณะที่ประธานสภา ผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า สถานการณ์การส่งออกของไทยในปีนี้ จะยังติดลบต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 หลังการส่งออกในเดือนกรกฎาคม 2559 มีตัวเลข -4.43% ซึ่งขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ดังนั้น ถ้าหากจะให้การขนส่งออกในปีนี้ไม่ติดลบ หรืออยู่ที่ 0% ในช่วงครึ่งปีหลัง จะต้องทำให้การส่งออกมีมูลค่าเฉลี่ยเดือนละ 18,400 ล้านเหรียญสหรัฐ โดย สรท.ยังคงเป้าหมายการส่งออกปีนี้ไว้ในกรอบ 0 ถึง 0.2%

ที่มา : สยามธุรกิจ