ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

ประกันภัยรถยนต์ 3 พลัส ระอุ "เอเชีย" จ่อโขกเบี้ย 5-10% อัดสินค้าใหม่

อาจจะปรับเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ เอเชีย 3 พลัส Loss Ratio สูงถึง 48% แนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอด อาจจะถึง 50% เพราะค่าซ่อมเพิ่มขึ้น

ประกันภัยรถยนต์ 3 พลัส ระอุ "เอเชีย" จ่อโขกเบี้ย 5-10% อัดสินค้าใหม่

สิงหาคม
21

เบี้ย ประกันภัยรถยนต์ ภาคสมัครใจประเภท 3+1 หรือ 3 พลัส ในตลาดส่อเค้าขยับขึ้น เมื่อบริษัท เอเชีย ประกันภัย 1950 จำกัด เจ้าตลาด และผู้บุกเบิกสินค้า ประกันภัยรถยนต์ ประเภทนี้เมื่อ 7 ปีก่อน ส่งซิกเตรียมปรับค่าเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ เพิ่มขึ้น หลังจากอัตราความเสียหาย หรือสินไหมทดแทน (Loss Ratio) พุ่งขึ้น จ่อทะลุเพดาน 50%

เชื่อทั้งตลาดขึ้นเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ / สินไหมจ่อ 50%

กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชียประกันภัย 1950 กล่าวว่า ปีหน้าบริษัทอาจจะปรับเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ เอเชีย 3 พลัส สินค้าเด่นของบริษัท เพิ่มขึ้นประมาณ 5-10% จากปัจจุบันขายอยู่ 6,800 บาทจะเพิ่มเป็น 7,000-7,100 บาท เนื่องจาก Loss Ratio สูงถึง 48% เทียบกับ 38% เมื่อ 7 ปีก่อนตอนที่ออกสินค้า โดยสินไหมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอด อาจจะถึง 50% เพราะค่าซ่อมเพิ่มขึ้นตามค่าแรง ค่าไหล่ ขณะที่ค่าครองชีพเพิ่มขึ้น เฉลี่ย 5%

"ภาพรวมสินไหม 3 พลัสจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามต้นทุนการซ่อม กำไรรับ ประกันภัย ลดลงเรื่อยๆ เบี้ย ประกันภัยรถยนต์ มีแต่จะเพิ่มขึ้น เพียงแต่ยังไม่มีใครกล้าขึ้น ถ้าสินไหมขึ้นไปถึง 50% ต้องขึ้นเบี้ย ประกันภัย ประมาณ 3-5% เพื่อกดสินไหมลงมา รักษากำไร เชื่อว่าตลาด 3 พลัสยังกว้าง คนจะหันมาซื้อมากขึ้น ตามการขยายตัวของยอดขาย รถยนต์ และค่าเบี้ยถูกกว่า ประกันภัยรถยนต์ชั้น1 มาก แม้เราจะปรับเบี้ยเพิ่มขึ้น ก็เชื่อว่าลูกค้ายังซื้ออยู่ เพราะสินค้าขายได้ด้วยตัวเองอยู่แล้ว"

"เอเชีย" ปรับเป้าเบี้ย ประกันภัย ปีนี้ 2 พันล้าน

สำหรับในปีนี้ บริษัทจะปรับเป้าหมายเบี้ย ประกันภัย ใหม่เป็น 2,000 ล้านบาท จากเดิม 1,800 ล้านบาท หลังจากในช่วงครึ่งแรกมีเบี้ย ประกันภัย 900 ล้านบาท เพราะเบี้ย ประกันภัย มักจะเข้ามาในช่วงครึ่งปีหลังมากอยู่แล้ว อีกทั้งบริษัทยังได้เบี้ย ประกันภัย จากลูกค้าเก่าที่ต่ออายุมากถึง 70% โดยบริษัทมีลูกค้าเก่า 50% อีก 50% เป็นลูกค้าใหม่

"ปีก่อนเรามีเบี้ย 1,500 ล้านบาท เติบโต 20% มีกำไรสุทธิ 28 ล้านบาท ตามแผนจะล้างขาดทุนสะสม 40 ล้านบาทให้หมดในปีนี้ แต่คงทำไม่ได้ แม้ 4 เดือนจะมีกำไรเฉลี่ย 40 ล้านบาทก็ตาม เพราะเบี้ยที่ได้ไม่ได้ถือเป็นรายได้ทั้งหมด ต้องตั้งสำรองสินไหมที่จะเกิดตามมา ทำให้ขาดทุนทางเทคนิคอยู่ คาดว่าปีนี้ขาดทุนสะสมจะลดลงเหลือ 20 ล้านบาท และล้างได้หมดในปีหน้า หากเบี้ยไปถึง 2,500-3,000 ล้านบาท"

ประกันภัยรถยนต์ "3 พลัส" แบบใหม่คุ้มครองลูกค้าผิด

สินค้าที่จะใช้ขยายตลาด ยังคงเป็นแบบ ประกันภัยรถยนต์ ตระกูลพลัส ทั้ง 2 พลัสและ 3 พลัส ที่มียอดขายประมาณ 60% ของเบี้ยทั้งหมด โดยจะออกแบบ ประกันภัยรถยนต์ ใหม่เรียกว่า "เอเชีย 3OD" เป็น 3 บวก ที่มีจุดเด่นตรงคุ้มครอง รถยนต์ คันเอา ประกันภัย กรณีเป็นฝ่ายผิด จ่ายค่าซ่อมให้สูงสุด 100,000 บาท จากเดิมคุ้มครองเฉพาะลูกค้าเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น เบี้ย 5,800 บาท พร้อมความคุ้มครองอื่นๆ เหมือนประเภท 3 ทั่วไป โดยจะเริ่มขายในเดือนสิงหาคมนี้ ไม่ได้ตั้งเป้าหมายยอดขาย แค่ต้องการเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้า

อย่างไรก็ดี หากรวมแบบ ประกันภัย ใหม่ เท่ากับบริษัทมีสินค้าประเภทพลัส สนองความต้องการลูกค้าครบทุกกลุ่ม และมีความคุ้มครองครบ โดยเบี้ย ประกันภัย เริ่มต้น 2,500 บาทสำหรับประเภท 3 ทั่วไป และสูงสุด 7,900 บาทสำหรับประเภท 2 บวก คุ้มครอง รถยนต์ คันเอา ประกันภัย ที่เสียหายจากการชนวงเงิน 100,000 บาท และกรณีสูญหาย ไฟไหม้

"ยอดขายส่วนใหญ่ เป็นเอเชีย 3 พลัส ส่วน 3 กันชนปีครึ่ง ได้เบี้ย ประกันภัย ประมาณ 100 ล้านบาท"

ส่วนช่องทางจำหน่าย เน้นผ่านช่องทางใหม่ อาทิเอาต์เล็ตที่จะมีรูปแบบเหมือนจุดขายในปั๊มน้ำมัน มีทั้งส่วนที่บริษัทลงทุนเอง และตัวแทนลงทุน ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 10 แห่ง ตามแผนภายใน 3 ปีหรือปี 2558 จะเพิ่มเป็น 200-300 แห่ง รวมจุดขายบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสด้วย ตามแผนต้องการเปิดในทุกพื้นที่ สาเหตุที่เน้นขายผ่านเอาต์เล็ต เพราะมั่นใจสินค้าขายได้ ไม่เน้นขายผ่านตัวแทนเหมือนในอดีต เพราะไม่ได้มี ประกันภัยรถยนต์ชั้น1 มาก ซึ่งปัจจุบันจำนวนตัวแทนแอ็กทีฟลดลงครึ่งหนึ่ง เหลือ 3,000 คน

ตามแผนการ บริษัทจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ในปีหน้า เป็นเป้าหมายที่วางร่วมกับธนาคาร DEG-KFW ธนาคารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเยอรมนี ที่มีรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ที่เข้าถือหุ้นบริษัท 24.5 % ตั้งแต่ปี 2552 นอกจากจะใส่เงินทุนเข้ามาประมาณ 100 ล้านบาท ยังช่วยอบรมพนักงาน กระบวนการทำงานให้เป็นสากลมากขึ้น ซึ่งตามกำหนดภายใน 5 ปีหลังจากธนาคารเข้ามาถือหุ้น หรือเมื่อบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารแห่งนี้จะขายหุ้น และถอนตัวออกไป

ปัจจุบันบริษัทมีฐานลูกค้า ประกันภัยรถยนต์ ที่ทำ ประกันภัย ตระกูลพลัส ประมาณ 270,000 ราย โดย 60% เป็นลูกค้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล หากรวม ประกันภัย พ.ร.บ. ประมาณ 600,000-700,000 ราย ตามเป้าหมาย 3 ปีจะเพิ่มเป็น 1 ล้านราย และมีเงินกองทุนเกินเกณฑ์การดำรงเงินกองทุนตามความเสี่ยง (RBC) ของ คปภ. ถึง 400% สามารถขายเบี้ย ประกันภัย ได้ถึง 8,000-10,000 ล้านบาท

ที่มา : สยามธุรกิจ