ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

ชงจำนำข้าวต้องทำ ประกันภัย คลังเสนอแผน ลดปัญหาสวมสิทธิ์ งบประมาณ

เกษตรกรโครงการรับจำนำ ต้องทำ ประกันภัย พืชผล ลดปัญหาสวมสิทธิ์ ภาระงบประมาณ จ่ายพืชผลเสียหายจากภัยธรรมชาติ 1 หมื่นล้าน

ชงจำนำข้าวต้องทำ ประกันภัย คลังเสนอแผน ลดปัญหาสวมสิทธิ์ งบประมาณ

กรกฎาคม
21

รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่าทาง ธ.ก.ส. จะเสนอให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง พิจารณาข้อเสนอการทำ ประกันภัย พืชผล แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว เพื่อเป็นส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา การสวมสิทธิ์ในการรับจำนำข้าว โดยจะกำหนดบังคับให้เกษตรกรที่เข้าร่วมในโครงการจำนำข้าวของรัฐบาล จะต้องทำ ประกันภัย พืชผลในจำนวน 1 ใน 4 ของพื้นที่ปลูกข้าวด้วย

"​เรามั่นใจว่า วิธีการนี้จะลดปัญหาการสวมสิทธิ์ในโครงการจำนำข้าวได้ เนื่องจากก่อนที่เกษตรกรจะได้รับใบประทวน เพื่อไปเบิกเงินกับ ธ.ก.ส. จะต้องมีส่วนประกอบ 2 อย่างคือ หนังสือการขึ้นทะเบียนโครงการจำนำ และหนังสือการทำ ประกันภัย ซึ่งจะเป็นชื่อของเกษตรกรคนเดียวกัน การตรวจสอบด้านการจ่ายค่าเบี้ย ประกันภัย ก็จะมีเอกชนเข้าร่วม ฉะนั้นก็เชื่อว่าจะช่วยลดการสวมสิทธิ์โครงการจำนำได้ และเมื่อระดับนโยบายคลังเห็นชอบ จะมีการเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) เพื่ออนุมัติอีกครั้ง"

การกำหนดให้ผู้เข้าโครงการจำนำข้าวของรัฐบาลทำ ประกันภัย พืชผล ยังช่วยป้องกันความเสี่ยงให้แก่เกษตรกร กรณีที่อาจเกิดความเสียหายต่อพืชผลจากภัยธรรมชาติ โดยที่เกษตรกรต้องยอมเสียค่าเบี้ย ประกันภัย รายปี ในอัตราที่รัฐบาลจะเข้าไปช่วยลดภาระให้จำนวนหนึ่งด้วย ซึ่งการ ประกันภัย จะให้ความคุ้มครอง ที่คลอบคลุมต้นทุนการผลิตทั้งหมด ทั้งนี้ทาง ธ.ก.ส.จะพยายามเจรจากับสมาคมประกันวินาศภัย เพื่อขอให้คงอัตราเบี้ย ประกันภัย ที่ 120 บาทต่อไร่ต่อปี เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อเกษตรกรเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีในจำนวนเบี้ย ประกันภัย ดังกล่าว ทางรัฐบาลจะช่วยจ่ายแทนเกษตรกรให้จำนวน 69 บาทต่อไร่

ปัจจุบันลูกค้าเกษตรกรที่ทำ ประกันภัย พืชผลมีอยู่จำนวน 6 ล้านราย แต่ทางสมาคมประกันวินาศภัยต้องการจะเพิ่มให้เป็น 8 ล้านราย เพราะเป็นจำนวนที่คุ้มต่อการรับ ประกันภัย แต่เมื่อเราใช้วิธีกำหนดให้ เกษตรกรที่เข้าโครงการรับจำนำทำ ประกันภัย จะทำให้บริษัท ประกันภัย มีลูกค้าในกรณีนี้เพิ่มขึ้นถึง 15ล้านราย ถือว่าเพิ่มขึ้นเท่าตัว ฉะนั้นเราก็จะขอให้มีความคุ้มครองเต็มพื้นที่เพาะปลูกข้าว 60 ล้านไร่ โดยที่เกษตรกรจ่ายเบี้ย ประกันภัย เพียง 1 ใน 4 ของพื้นที่เพาะปลูก ทั้งนี้เมื่อเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเข้าโครงการ ประกันภัย พืชผลทั้งหมด ทางรัฐบาลก็จะลดภาวะงบประมาณ ที่ต้องจ่ายกรณีพืชผลเสียหายจากภัยพิบัติประมาณ 1 หมื่นล้านบาทต่อปี ให้เหลือประมาณ 1 พันล้านบาทต่อปี (ซึ่งเป็นค่าเบี้ย ประกันภัย ) โดยที่บริษัท ประกันภัย จะเป็นผู้รับภาระค่าเสียหายแทน ปัจจุบันในแง่ความคุ้มครอง การทำ ประกันภัย จะอยู่ที่จำนวน 1,111 บาทต่อไร่

สำหรับความคืบหน้าการรับจำนำข้าวนาปรัง ในฤดูการผลิต 55/56 นั้น ล่าสุด ธ.ก.ส. ได้ดำเนินการรับจำนำไปแล้วจำนวน 20.2 ล้านตัน เป็นเม็ดเงินประมาณ 9 หมื่นล้านบาท ยังเหลือข้าวที่กำลังเข้าสู่โครงการก่อนปิดเดือน ก.ย.นี้ อีกประมาณ 1 ล้านตัน หากรัฐบาลมีนโยบายที่จะลดราคาจำนำ และจำกัดปริมาณการรับจำนำในฤดูการผลิตถัดไป จะต้องทำการประชาสัมพันธ์แจ้งให้เกษตรกรทราบโดยเร็ว เพื่อให้เกษตรกรได้ปรับตัวสำหรับการผลิต เนื่องจากฤดูการผลิตใหม่จะเริ่มต้นในช่วงกลางเดือน ส.ค.นี้ และในวันเดียวกันนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงนามระหว่างผู้บริหาร ธ.ก.ส. และเลขาธิการ ส.ป.ก. ทบทวนเงื่อนไขข้อตกลงในการใช้ที่ดิน ส.ป.ก. เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้เงินจาก ธ.ก.ส. จากการปล่อยกู้เป็นรายบุคคล ให้ขยายครอบคลุมไปยังสถาบันเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน เช่น สหกรณ์วิสาหกิจชุมชน ซึ่งมีอยู่จำนวน 140 สถาบันทั่วประเทศ ด้วยการใช้ ส.ป.ก. เป็นหลักประกัน

รวมไปถึงการขยายเอกสารสิทธิ์เพิ่มเติม จากเดิมใช้ค้ำประกันเฉพาะ ส.ป.ก. 4-01 ส.ป.ก.4-28 ส.ป.ก. 4-14 ส.ป.ก. 4-18 เพื่อครอบคลุมเอกสารสิทธิ์ที่ดิน ส.ป.ก. ทุกชนิดที่ออกให้เกษตรกร นอกจากนี้สำนักงาน ส.ป.ก. ยังเตรียมแจกที่ดินให้กับประชาชนรายอื่นที่ไม่ใช่เกษตรกร เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ จะทำให้ขยายการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น จากปัจจุบันได้ปล่อยสินเชื่อให้เกษตรกรไปแล้ว 288,837 ราย มูลหนี้คงค้าง 37,578 ล้านบาท ทำให้ได้รับสินเชื่อจาก ธ.ก.ส. ได้เพิ่มขึ้น

ที่มา : อาร์วายทีไนน์