ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

ไทยศรี/ทิพย ผนึก 5 ค่าย ประกันภัย ในเครือ ชูโมเดลเจาะตลาดอาเซียน

การผนึกของ 5 บริษัท ประกันภัย ไม่ใช่ที่สปป.ลาวที่เดียว จะขยายไปทั้งภูมิภาคอาเซียน หลังจากนั้นขยายไปประเทศอื่นๆ

ไทยศรี/ทิพย ผนึก 5 ค่าย ประกันภัย ในเครือ ชูโมเดลเจาะตลาดอาเซียน

กรกฎาคม
19

คืบหน้าเป็นระยะ แผนการขยายธุรกิจ ประกันภัย ต่างแดน สร้างการเติบโตในกลุ่มประเทศอาเซียน รองรับการเปิด เออีซี ปลายปี 2558 ของกลุ่มธุรกิจ ประกันภัย ในตระกูล "พานิชชีวะ" ทั้งบมจ.ไทยศรี ประกันภัย, บมจ.สยามซิตี้ประกันภัย และบมจ.กรุงไทยพานิช ประกันภัย ที่จะผนึกกำลังเจาะตลาด ประกันภัย ประเดิมสปป.ลาวเป็นประเทศแรก โดยมีการเจรจากับผู้ร่วมทุนทั้งฝั่งไทยและฝั่งลาว เพื่อหาพันธมิตรจัดตั้งบริษัท ประกันภัย แห่งใหม่ขึ้นในสปป.ลาว

ล่าสุดประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทยศรี ประกันภัย เปิดเผยว่า บริษัท ประกันภัย ไทยที่จะร่วมกับกลุ่มไทยศรี เข้าไปเปิดบริษัท ประกันภัย ในสปป.ลาวมีทั้งหมด 5 บริษัท นอกจาก 3 บริษัทข้างต้นแล้ว อีก 2 บริษัท ประกันภัย ที่เพิ่มเข้ามา เป็นบริษัทที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับตระกูล "พานิชชีวะ" และหนึ่งในนั้นเป็นบริษัทที่กลุ่ม "พานิชชีวะ" ถือหุ้นอยู่ด้วย

5 ค่ายผนึกผุดบริษัท ประกันภัย ร่วมทุนลาว ชูเป็นโมเดลเจาะทั้งอาเซียน

"หลังจากพูดคุยกันทุกคน อยากจะขยายธุรกิจที่สปป.ลาว ถ้าต่างคนต่างไป ก็เท่ากับไปแข่งขันกันเอง เมื่อมีเป้าหมายเดียวกัน สู้ผนึกกำลังกันไป รวมความแข็งแกร่ง ความสามารถที่มี ไปร่วมกันทำดีกว่า การเป็นพันธมิตรดีกว่าไปคนเดียว เลยตกลงที่จะร่วมมือกันฝั่งไทย จะมี 5 บริษัท ประกันภัย นี้ ที่จะไปร่วมทุนกับทางลาว ถามว่าอีก 2 บริษัทคือใคร บอกไม่ได้"

สำหรับเม็ดเงินที่จะลงทุนในสปป. ลาวนั้น กล่าวว่า กำลังดูทุนจดทะเบียนขั้นต่ำอยู่ เนื่องจากมี 2 ตัวเลขคือ 2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 60 ล้านบาท กับ 3 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 90 ล้านบาท คงต้องรอตัวเลขที่ชัดเจนจากทางรัฐบาลสปป.ลาว

การผนึกกำลังของทั้ง 5 บริษัท ประกันภัย ไม่ใช่ที่สปป.ลาวที่เดียว แต่จะขยายไปทั้งภูมิภาคอาเซียน เพียงแต่เริ่มที่สปป.ลาวก่อน เพราะขั้นตอนการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ประกันภัย (ไลเซ่นส์) ง่ายกว่าประเทศอื่น หลังจากนั้นจะขยายต่อไปยังกัมพูชา เวียดนาม พม่าและประเทศอื่นๆ

นำร่องลาวเพราะเข้าง่ายกว่าชาติอื่น "พม่า" ศักยภาพเยอะรอเปิดประเทศ

"ธุรกิจ ประกันภัย สปป.ลาวไซส์เล็กกว่าไทยเยอะ แต่ที่เราเลือกไปสปป.ลาวก่อน เพราะเป็นประเทศที่เข้าไปลงทุนได้ง่ายที่สุด เราต้องเลือกประเทศที่เข้าง่ายก่อน ถึงค่อยไปประเทศที่ยากขึ้นอย่างพม่า เราสนใจมากตลาดเขามีศักยภาพกว่าสปป.ลาว แต่เขายังปิดประเทศอยู่ ยังไม่เปิดรับนักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในธุรกิจ ประกันภัย เราต้องรอ"

อย่างไรก็ดีสิ่งสำคัญที่ต้องทำคือ การเตรียมบุคลากรให้พร้อม เพราะสปป.ลาว ขาดแคลนบุคลากรด้าน ประกันภัย อย่างหนัก หาคนที่มีคุณภาพยาก ต้องใช้บุคลากรจากประเทศไทยเข้าไปทำ ซึ่งจะต้องให้ประจำอยู่ที่สปป.ลาวเลย ดังนั้นต้องคัดเลือกคนที่พร้อม

สำหรับในสปป.ลาว กฎหมายให้นักลงทุนต่างชาติถือหุ้นได้ถึง 100% ใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ประกันภัย 1 ใบ ทางรัฐบาลอนุญาตให้ทำธุรกิจได้ 3 ประเภทคือ ประกันวินาศภัย ประกันชีวิต และรับ ประกันภัย ต่อ

จากการตรวจสอบบริษัท ประกันภัย อีก 2 แห่ง ที่จะร่วมทุนกับ "พานิชชีวะ" น่าจะเป็นกลุ่ม "ทิพย" ทั้งบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ซึ่งทั้ง 2 บริษัท ถือหุ้นในทิพยประกันชีวิต โดยไทยศรี ประกันภัย ถือหุ้นอยู่ 15% ในนามกลุ่ม "พานิชชีวะ"

"กลุ่มทิพย" หุ้นส่วน "พานิชชีวะ" ชูบริการสู้ศึกเออีซี เล็งเจาะมุสลิม

กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทิพย ประกันภัย ยอมรับว่า การไปลงทุนที่ลาว จะไปร่วมกัน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทิพย ทั้งทิพย ประกันภัย ทิพยประกันชีวิต และกลุ่ม "พานิชชีวะ" ได้แก่ ไทยศรี ประกันภัย กรุงไทยพานิช ประกันภัย และสยามซิตี้ ประกันภัย ซึ่งจะไปร่วมกับบริษัทท้องถิ่นที่ลาว ตั้งบริษัท ประกันภัย ขึ้นมา น่าจะเปิดตัวประมาณไตรมาส 3 นี้

"บริษัท ประกันภัย ที่เราจะเปิดที่ลาว ทำธุรกิจทั้งประกันวินาศภัย และประกันชีวิต ส่วน ประกันภัย ต่อ แม้เราจะมีใบอนุญาตด้วยก็ตาม แต่คงยังไม่ทำในตอนนี้"

เพิ่มเติมว่า ตลาด ประกันภัย ลาว ถือว่ายังไม่แพร่หลายนัก คนลาวยังทำ ประกันภัย ไม่มาก ต้องไปสร้างตลาดอีกมาก เพื่อรออนาคต หากเทียบกับพม่า ถือว่าพม่าน่าสนใจกว่า เพราะตอนนี้ทุกประเทศ ต่างมุ่งไปลงทุนในพม่า แต่พม่ายังไม่เปิดให้บริษัท ประกันภัย ต่างชาติเข้าไป ขณะที่ลาวเปิดแล้ว ส่วนกัมพูชาก็น่าสนใจเช่นกัน

"เราไม่ได้มองตลาดปัจจุบัน แต่เรามองเมื่อเปิดเออีซีจริง เศรษฐกิจภูมิภาคนี้จะเหมือนกันหมด เป็นอันเดียวกัน เป็นโอกาสให้เราได้ไปขยายตลาด และอยากจะไปลงทุนในลักษณะร่วมกัน 2 กลุ่มคือ ทิพย และพานิชชีวะ ถามว่าเมื่อเปิดเออีซี เราแข่งกับทางใต้ คือ สิงคโปร์ มาเลเซียได้ไหม แข่งได้สบายมาก เพราะบริษัท ประกันภัย จากแถบนั้น ก็เคยเข้ามาแข่งในบ้านเรา กลับออกไปหลายรอบก็มี"

สำหรับสิงคโปร์ เหมือนเทคโนโลยีจะดีกว่าไทย แต่ประเทศเล็ก ประชากรน้อย วิธีการให้การศึกษาเพื่อให้เข้าถึง ประกันภัย ก็สามารถที่จะทำได้ง่าย แต่ไทยประชากรเยอะกว่า และไม่ได้ถูกให้ความรู้ให้เข้าใจระบบ ประกันภัย อย่างนั้น หากเอาวิธีของสิงคโปร์มาทำในไทยยาก

"เราอาศัยความเข้าใจ คนไทยดีกว่าคู่แข่ง อีกทั้งภูมิภาคอาเซียนตอนบน ก็ยอมรับไทยเป็นศูนย์กลาง เข้าถึงตลาดตอนบนได้ดี เพียงแต่เราอาจจะเสียเปรียบเมื่อเปิดเออีซีจริง เพราะคนส่วนใหญ่กว่า 64% ของทั้งอาเซียน คือคนมุสลิม ขณะที่บ้านเรามีมุสลิมแค่ 8% ของประชากรทั้งหมด และกัมพูชา พม่า ลาว ก็มีมุสลิมไม่เยอะเท่าไร เรามาทำตลาดกลุ่มที่เราถนัดดีกว่า จริงๆ เราก็มองกลุ่มคนมุสลิมเช่นกัน หากเจาะได้โอกาสโตมีมาก เพราะเรื่องบริการในอาเซียนไม่มีใครสู้ไทยได้"

ที่มา : สยามธุรกิจ