ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

แนะผู้บริโภคดูความเสี่ยงทำเลก่อนซื้อประกันภัย

คงดูในบ้านตัวเองในแต่ละทำเลมีความเสียหายอะไร นอกจากไฟไหม้ หากประชาชนทั่วไปม่มีความรู้เรื่องประกันภัย ติดต่อตัวแทนนายหน้า

แนะผู้บริโภคดูความเสี่ยงทำเลก่อนซื้อประกันภัย

ธันวาคม
21

โดย สยามธุรกิจ วันที่ 17 ธันวาคม 2554 เวลา 13:55 น.

ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันวินาศภัย ให้ความเห็นถึงการทำประกันภัยของประชาชนภายหลังเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ว่า ต้องแยกเป็นความคุ้มครองทรัพย์สินและตัวบุคคลคือเจ้าของบ้าน หากมีความเสี่ยงต่อชีวิตและร่างกายอาจจะซื้อประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (พีเอ) ประกันสุขภาพ ส่วนทรัพย์สินภายในบ้าน อาทิ เฟอร์นิเจอร์ คงต้องกลับมาดูในบ้านตัวเองในแต่ละทำเลมีความเสียหายอะไรนอกเหนือจากไฟไหม้ ซึ่งหากเป็นประชาชนทั่วไปที่ไม่มีการศึกษาข้อมูล หรือมีความรู้เรื่องประกันภัย อาจจะลำบากคงต้องติดต่อตัวแทนนายหน้าจะมีคำแนะนำอย่างไรบ้าง

หากเป็นบ้านอยู่อาศัยติดแม่น้ำ นอกจากจะมีความเสี่ยงต่อภัยน้ำท่วมแล้วต้องมองภัยธรรมชาติอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงต่อทรัพย์สินภายในบ้านด้วย อาทิ แผ่นดินไหว ลมพายุ เป็นต้น เมื่อประชาชนซื้อประกันภัยอัคคีภัย ขอให้บริษัทประกันภัยขยายความคุ้มครองถึงภัยธรรมชาติอื่นๆ ด้วย หากเป็นบ้านในต่างจังหวัดติดเชิงเขา อาจจะซื้อภัยไฟป่า ลูกเห็บเพิ่มเติม ซึ่งการทำประกันภัยให้นำประสบการณ์ความเสียหายจากน้ำท่วมในปีนี้เป็นฐานพิจารณา รวมไปถึงดูภัยที่เกิดขึ้นในปีหน้าที่เริ่มพูดถึงกันมาก อาทิ พายุที่จะเข้ามาอีกหลายลูก บ้านที่อยู่ในย่านเกิดลมพายุมีความเสี่ยง

ส่วนรถยนต์นอกจากประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่คุ้มครองภัยน้ำท่วมแล้ว ทางคณะกรรมการประกันภัยยานยนต์ จะศึกษาขยายความคุ้มครองภัยน้ำท่วมให้กับกรมธรรม์อื่นๆ อาทิ ชั้น 2 และชั้น 3

“ถามว่าต้องซื้อความคุ้มครองเท่าไหร่ถึงจะพอ ต้องมองความเสี่ยงนั้นมีโอกาสทำให้ทรัพย์สินเสียหายสิ้นเชิงหรือไม่ เช่น ไฟไหม้ แผ่นดินไหว ลมพายุ เมื่อเกิดแล้วทำให้บ้านเสียหายทั้งหลังต้องซื้อประกันภัยเต็มมูลค่าทรัพย์สิน ซึ่งบริษัทประกัน ภัยยืนดีรับประกันภัยอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นความเสี่ยงอื่น โอกาสเกิดความเสียหายไม่ใช่ทั้งหมด ต้องมาประเมินความเสียหายสูงสุดแต่ละครั้งเป็นวงเงินเท่าไหร่ บางบ้านอยู่ต่างจังหวัดน้ำท่วมเกือบมิดหลังไม่ใช่เสียหายสิ้นเชิง เพราะโครงสร้างบ้านยังอยู่แต่ทรัพย์สินเสียหายสมมติ 50% ของมูลค่าบ้าน ก็ทำประกันภัย 50% ก็พอ แต่ลูกค้าสามารถขอทำประกันภัยเต็มมูลค่าบ้านหรือเท่ากับมูลค่าสร้างใหม่ได้ หากอยู่ในช่วงปกติไม่ใช่ช่วงที่เกิดน้ำท่วม การทำประกันภัยบ้านคุ้มครองทุกภัย สมมติบ้านราคา 1 ล้าน บาท เบี้ยประกันภัยปีละประมาณ 2,000 บาท”

อย่างไรก็ดีจากเหตุการณ์น้ำท่วม สมาคมฯ ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานและอำนวยความสะดวกผู้เอาประกันภัย ที่ได้รับความเสียหายจากภัยน้ำท่วมขึ้นมาเหมือนเป็นคอลเซ็นเตอร์ เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ประชาสัมพันธ์ข้อมูลการประกันภัยกรณีน้ำท่วม ประสานงานและอำนวยความสะดวกให้กับผู้เอาประกันภัย ในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนสำหรับการประกันภัยทุกประเภท โดยจะประสานกับบริษัทประกันภัยให้

ในช่วงเวลาเดือนเศษนับจากตั้งศูนย์ดังกล่าวขึ้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคมถึงวันที่ 9 ธันวาคม 2554 มีประชาชนและผู้เอาประกันภัยติดต่อสอบถามข้อมูลเข้ามา 119 คน แบ่งเป็นผู้เอาประกันภัย 62 คน และประชาชนทั่วไปอีก 57 คน แบ่งเป็นกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ 27 คน กรมธรรม์ประกันภัยทรัพย์สิน 92 คนและกรมธรรม์พีเอ 1 คน

ทั้งนี้ 55 คนสอบถามเรื่องความคุ้มครองของกรมธรรม์ บริษัทประกันภัยที่รับประกันน้ำท่วม ค้นหาบริษัทประกันภัยให้ กรณีซื้อประกันภัยผ่านธนาคารการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ประกันรถยนต์ ราคาอะไหล่ เป็นต้น อีก 58 คนสอบถามเบอร์โทรศัพท์บริษัทสมาชิก รวมทั้งการประสานงานไปยังธนาคารต่างๆ และอีก 6 คนสอบถามข้อมูลติดต่อคปภ./ร้องเรียน

“คนที่ถามเข้ามาน้อยมากเทียบกับผู้ประสบภัย เพราะศูนย์นี้เหมือนเป็นศูนย์เก็บตกศูนย์หลักคือคปภ. อีกทั้งหากประชาชนรู้ว่าทำประกันภัยที่ไหน ติดต่อไปที่บริษัทประกันภัยนั้นๆ โดยตรง อีกอย่างประชาสัมพันธ์น้อย อย่างคนที่ถามเข้ามามีประเด็นประกันอัคคีภัยบ้านขยายความคุ้มครองภัยจากน้ำ กับภัยจากน้ำท่วมเหมือนกันมั๊ยเราก็อธิบายว่า คำนิยามไม่เหมือนกันหากซื้อภัยจาก น้ำไว้จะไม่คุ้มครองภัยน้ำท่วม ซึ่งในเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์จะมีวงเล็บระบุชัดเจนไม่รวมภัยน้ำท่วม ศูนย์นี้จะเปิดไปถึงปลายปี เพราะน้ำเริ่มลดตอนนั้นจะเป็นบทบาทของบริษัทสมาชิก ที่จะออกไปให้บริการค่าสินไหมทดแทน ออกไปเซอร์เวย์ประเมินความเสียหาย ในช่วงฟื้นฟูเราก็ทำงานร่วมกับคปภ. ลงพื้นที่ให้บริการกับประชาชน”

ที่มา : สยามธุรกิจ