ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประชาสัมพันธ์-สื่อสารองค์กร

อัคคีภัย ไฟไหม้ ดูแลอย่างไร ตอนที่ 2

ไฟฟ้าลัดวงจร หากเกิดขึ้น...ลุกลามเร็ว..ไปได้ทุกที่ที่มีเชื้อเพลิง สร้างความเสียหายเป็นมูลค่ามหาศาล

อัคคีภัย ไฟไหม้ ดูแลอย่างไร ตอนที่ 2

ตุลาคม

17

ตอนที่แล้วกล่าวถึง อัคคีภัย เพลิงไหม้ หรือไฟไหม้ ส่วนใหญ่ที่เรารับทราบ จะเป็นการเกิดจาก “ไฟฟ้าลัดวงจร” (Short Circuit) หากเกิดขึ้น...ลุกลามเร็ว..ไปได้ทุกที่ที่มีเชื้อเพลิง จนเกิดการลุกไหม้ต่อเนื่อง ความร้อนของเพลิงมีความร้อนแรงมาก สร้างความเสียหายเป็นมูลค่ามหาศาลต่อทรัพย์สินและชีวิต

ไฟฟ้าลัดวงจร คือ การที่จุด 2 จุดในวงจรไฟฟ้ามาแตะหรือสัมผัสกัน ทำให้เกิดเกิดความร้อนสูงในจุดที่แตะสัมผัสกัน และอาจเกิดประกายไฟขึ้น และถ้าในบริเวณนั้นมีวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงอยู่ ก็จะเป็นเหตุนำไปสู่การเกิด ไฟไหม้ ได้นั่นเอง

สาเหตุการเกิด ไฟฟ้าลัดวงจร

“สายไฟชำรุด”
สายไฟภายในบ้านเก่า กรอบ หรือมีรอยฉีกขาด เราสามารถมองเห็นส่วนที่หุ้มสายไฟ (ฉนวน) ฉีกขาด การต่อสายไฟแล้วเทปพันสายไฟไม่แน่นหนา ไม่สามารถหุ้มลวดทองแดงไว้ได้ทั้งหมด ทำให้จุดต่างๆ ในวงจรมาเข้าใกล้กัน สัมผัส หรือเสียดสีกันโดยไม่ตั้งใจ เกิดการลัดวงจร ห้ามใช้งานเด็ดขาด

วิธีป้องกัน
สายไฟฟ้า ที่ใช้งานต้องมีเครื่องหมาย มอก. (มาตรฐานผลิตอุตสาหกรรม) บนสายไฟฟ้าทุกเส้น อย่าเลือกซื้อเพราะราคาถูกเท่านั้น

สายไฟภายในบ้านสามารถตรวจสอบด้วยตัวเอง ปกติมักมีอายุการใช้งานอยู่ที่ 15-20 ปี สายไฟเส้นใดถูกสัตว์หรือแมลงสาบแทะจนเปลือกนอกเสียหายหรือไม่ รอยเปื่อย รอยแห้งกรอบ รอยไหม้ และรอยแตกร้าว แตกหักจนลวดทองแดงด้านใน ควรเปลี่ยนใหม่ให้เรียบร้อย อาจใช้ไขควงเช็คไฟตรวจสอบการรั่วของไฟฟ้าในจุดที่สงสัย แล้วทำการเปลี่ยนแปลงหรือซ่อมแซมให้เรียบร้อย

“เครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด”
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เก่า หรือส่วนประกอบภายในชำรุด สายไฟภายในตัวเครื่องอาจเสียหาย และเกิดลัดวงจรได้ หรือขาดความระมัดระวังการใช้เครื่องไฟฟ้าที่มีความร้อน วางใกล้วัสดุที่อาจติดไฟง่ายและได้รับความร้อนสูงต่อเนื่อง เช่น ลืมคนเสียบเตารีดทิ้งไว้ ร้อนจนติดโต๊ะรีดผ้า และลามไปยังวัสดุอื่น

วิธีป้องกัน
หมั่นตรวจสอบสภาพเครื่องใช้ฟ้า ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีอาการติดๆ ดับๆ สายไฟฉีกขาด มีควัน หรือมีกลิ่นไหม้ขณะใช้งาน ต้องหยุดใช้งานทันที เครื่องใช้ไฟฟ้าจำพวกเตารีด เตาไฟฟ้า กระทะไฟฟ้า ฯลฯ อย่าตั้งใกล้วัสดุที่ติดไฟง่าย ไม่ควรเสียบปลั๊กทิ้งไว้โดยไม่มีผู้ดูแล เมื่อเลิกใช้งานต้องถอดปลั๊กออกทุกครั้ง

“ใช้ปลั๊กแปลง-ปลั๊กพ่วงไม่ถูกวิธี”
การใช้ปลั๊กพ่วงที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือเสียบใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่หลายๆ ชิ้นพร้อมกัน กับปลั๊กพ่วงอันเดียว อาจทำให้เกิดไฟลัดวงจรและเกิดประกายไฟ

วิธีป้องกัน
การใช้ปลั๊กพ่วงที่ไม่ได้มาตรฐาน มอก. และไม่ควรเสียบใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่หลายชิ้นพร้อมกัน กับปลั๊กพ่วงอันเดียว หรือเมื่อเสียบแล้วหลวม แตก หรือหัก ควรเปลี่ยนใหม่ทันที ไม่ควรใช้สายไฟฟ้า (เปลือย) ที่ไม่มีปลั๊กต่อตรงกับเครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะอาจเกิดไฟลัดวงจรและเพลิงลุกไหม้ขึ้นได้ ขณะถอดปลั๊กตัวผู้ ควรจับที่ตัวปลั๊ก ไม่ควรดึงที่สายไฟโดยตรง เพราะอาจทำให้สายไฟฟ้าด้านในขาดได้

“ใช้สายไฟผิดขนาด”
การใช้งานสายไฟที่รองรับปริมาณไฟฟ้าได้น้อย ร่วมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ไฟมาก อาจทำให้เกิดความร้อนสูงจนสายไฟหลอมละลาย เกิดไฟลุกไหม้ขึ้นได้

วิธีป้องกัน
เลือกขนาดสายไฟในบ้านให้เหมาะกับเครื่องใช้ไฟฟ้า เนื่องจากอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิด จะใช้ปริมาณไฟฟ้าไม่เท่ากัน ได้แก่ ประเภทลวดทองแดงชนิดเส้นฝอย ทนกระแสไฟฟ้าได้ต่ำ ร้อนง่าย หรือ ประเภทลวดทองแดงชนิดเส้นแข็ง ทนกระแสได้สูง ร้อนน้อยกว่า

ดังนั้นการเลือกใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น พัดลม เตาไฟฟ้า หลอดไฟ เครื่องปรับอากาศ จะใช้สายไฟฟ้าขนาดไม่เท่ากัน และสายไฟฟ้าต้องมีคุณภาพได้มาตรฐาน มีตรา มอก. อย่าเห็นแก่ของราคาถูก เพราะอาจส่งผลถึงความปลอดภัยในชีวิตได้

ที่มา : ทูเดย์อินชัวร์