ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวจากบริษัทประกันภัย

เมืองไทย ประกันภัย โชว์ผลงาน ประกาศปี 2557 ก้าวสู่ 10,000 ล้านอย่างมั่นคง

ผลกำไรประจำปี 2556 สุทธิ 772.4 ล้านบาท เบี้ย ประกันภัย รับรวมสูงถึง 8,891.7 ล้านบาท มุ่งเน้นการพัฒนาช่องทางขายผ่านตัวแทน, Bancassurance

เมืองไทย ประกันภัย โชว์ผลงาน ประกาศปี 2557 ก้าวสู่ 10,000 ล้านอย่างมั่นคง

มีนาคม
3

กรรมการผู้จัดการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยผลการดำเนินงานประจำปี 2556 ว่า บริษัทฯ มีผลประกอบการกำไรสุทธิ 772.4 ล้านบาท ซึ่งเป็นปีที่มีกำไรสูงสุดนับแต่มีการควบรวมกิจการ ส่วนในปี 2555 บริษัทฯ มีผลขาดทุนสุทธิที่ 862.5 ล้านบาท เนื่องจากการบันทึกสินไหมกรณีเหตุการณ์อุทกภัยจำนวน 1,534.4 ล้านบาท (โดยมีผลกระทบขาดทุนสุทธิหลังภาษีประมาณ 1,228 ล้านบาท) ในปีนี้สินไหมดังกล่าวได้จ่ายชำระให้ผู้เอา ประกันภัย ไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ ทำให้สามารถปรับลดค่าใช้จ่ายสินไหมลงเป็นจำนวน 260.1 ล้านบาท เป็นผลให้มีผลกำไรสุทธิปีนี้สูงถึง 772.4 ล้านบาท อีกทั้งบริษัทฯ สามารถจัดโครงสร้างการ ประกันภัย ต่อได้ดียิ่งขึ้นกว่าที่ผ่านมา เป็นผลให้ต้นทุนเกี่ยวกับการ ประกันภัย ต่อลดลงตามลำดับภายหลังเหตุการณ์ต่างๆ เข้าสู่ภาวะปกติ โดยบริษัทฯ มีเบี้ย ประกันภัย รับรวม 8,891.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,388.9 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ18.5 จากปีก่อน อันเป็นผลมาจากการมีช่องทางขายที่หลากหลาย เน้นกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้หลายระดับ ทั้งด้าน ประกันภัยรถยนต์ และ ประกันภัย ทั่วไป

นอกจากนี้บริษัทฯ มีรายได้และผลกำไรจากการลงทุนในหลักทรัพย์รวม 362.5 ล้านบาท ด้านค่าใช้จ่ายในการรับ ประกันภัย ทั้งหมดอยู่ที่ 4,026.9 ล้านบาท มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 1,488.0 ล้านบาท และกำไรจากการรับ ประกันภัย 709.9 ล้านบาท ทั้งนี้บริษัทฯ มีกำไรก่อนหักภาษีเงินได้ 1,024.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2555 ที่มีผลขาดทุน 1,052.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 197.3 และกำไรสุทธิ 772.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 189.6

“สำหรับในปี 2557 นี้ บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายการเติบโตของเบี้ย ประกันภัย รับตรงอยู่ที่ 10,350 ล้านบาท โดยแบ่งสัดส่วนเป็น ประกันภัยรถยนต์ (Motor) 47% และเป็น ประกันภัย ทั่วไป (Non-Motor) 53"

ในปี 2557 นี้ บริษัทฯ มีแผนงานหลัก ได้แก่ แผนการพัฒนาด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ในปี 2557 บริษัทฯ มีแผนงานขยายการขายผ่านช่องทางต่างๆ ครอบคลุมครบทุกช่องทางที่หลากหลาย (Multi Channels) ซึ่งมีช่องทางธุรกิจขายตรง ช่องทางธุรกิจนายหน้า ช่องทางขายธุรกิจตัวแทน ช่องทางพันธมิตรธุรกิจรถยนต์ ช่องทาง Bancassurance และช่องทางเครือข่ายพันธมิตร สำหรับช่องทางที่มีอัตราการขยายตัวค่อนข้างสูง คือช่องทางธุรกิจตัวแทน และช่องทาง Bancassurance

ช่องทางธุรกิจตัวแทนนั้น บริษัทฯ จะขยายจำนวนตัวแทนรายใหม่ทั่วประเทศ เพื่อให้สามารถดูแลลูกค้าได้ทั่วถึง นอกจากภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ที่บริษัทฯ ได้มีการขยายตัวทั้งจำนวนตัวแทน และยอดขายผ่านช่องทางนี้ค่อนข้างสูงในปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ยังคงเน้นนโยบายการสร้างตัวแทนรายใหม่ๆ พร้อมทั้งพัฒนาตัวแทนรายเดิมให้มีศักยภาพในการแข่งขันกับช่องทางต่างๆ ให้เป็นผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อยด้าน ประกันภัย (Insurance Entrepreneur) ที่มีความเป็นมืออาชีพ ทั้งด้าน ประกันภัย และด้านการบริการจัดการธุรกิจของตัวเอง ให้มีความยั่งยืนในอาชีพนี้ต่อไป ภาคที่มีการขยายจำนวนตัวแทน โดยมีเป้าหมายสูงกว่าปีที่ผ่านมา คือ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

นอกจากนี้ช่องทางหลักอีกช่องทางของบริษัทฯ ที่มีอัตราการขยายตัวค่อนข้างสูงคือ ช่องทาง Bancassurance เนื่องจากพันธมิตรหลักของบริษัทฯ คือ ธนาคารกสิกรไทย ที่มีการขยายจำนวนสาขาเพิ่มขึ้นทั่วประเทศ ซึ่งขยายการให้บริการไปยังภูมิภาค ทำให้เป้าหมายของช่องทางนี้มีความเติบโตสูง เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายลูกค้าของธนาคารมีความหลากหลาย (Multi-target Segmentation) ผ่านช่องทางที่หลากหลายของธนาคาร เช่น สาขา และเครื่อง ATM เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าธนาคารได้ครบถ้วน ทำให้บริษัทฯ วางแผนในด้านผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ทุกช่วงอายุ หรือกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจ โดยคำนึงในด้านความต้องการเพื่อป้องกันความเสี่ยงและพฤติกรรมของลูกค้า จึงมีผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่หลากหลาย (Product mix) เช่น ประกันภัย อุบัติเหตุ และ ประกันภัย สุขภาพ ซึ่งเหมาะสมกับแต่ละกลุ่ม นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ ประกันภัยรถยนต์ ตั้งแต่ ประกันภัย พ.ร.บ. ประกันภัย เป็นแบบ package หรือ ประกันภัยรถยนต์ ประเภทหนึ่ง หรือแม้แต่การ ประกันภัย ทรัพย์สินที่ออกแบบให้เหมาะสมกับธุรกรรมของลูกค้าของธนาคาร เนื่องจากจุดขายที่ลูกค้าสามารถติดต่อซื้อ ประกันภัย ค่อนข้างสะดวก บริษัทฯ มี ประกันภัย การเดินทางต่างประเทศเพื่อการขอวีซ่า หรือครอบคลุมเหตุต่าง๐ ลูกค้าสามารถหาซื้อได้ทุกสาขาทั่วประเทศ นอกจากนี้แล้วยังมี ประกันภัย อุบัติเหตุให้ท่านซื้อได้เองง่าย ๆ จากตู้ ATM ของธนาคารได้ทั่วประเทศ

แผนการพัฒนาการให้บริการ

เนื่องจากอัตราการขยายตัวรถยนต์ของบริษัทฯ ในปีนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากช่องทางต่างๆ บริษัทฯ มีโครงการพัฒนากระบวนการทำงานระบบเทคโนโลยี และเจ้าหน้าที่ เพื่อให้มีความพร้อมในการให้บริการสินไหม ประกันภัยรถยนต์ ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งเน้นลูกค้าเป็นสำคัญ โดยมีเป้าหมายขยายจำนวนอู่ และศูนย์ซ่อมแซม ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยปัจจุบันมีจำนวนอู่คู่สัญญาทั้งหมด 622 แห่ง และศูนย์บริการรับงานจำนวน 480 แห่ง และสำนักงานตัวแทนจำนวน 222 แห่ง รวมถึงศูนย์บริการลูกค้าจำนวน 21 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้มีคุณภาพด้านบริการที่สะดวกรวดเร็วมากขึ้น

แผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ปี 2557

ในปี 2557 นี้ บริษัทฯ มีแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้เหมาะกับ Lifestyle อย่างน้อย 4 ผลิตภัณฑ์ โดยเน้นการออกผลิตภัณฑ์โดยเน้นการแบ่งกลุ่มทางการตลาด (Segmentation) ที่ชัดเจน เริ่มจาก ประกันภัย สุขภาพ Hi-end หรือ Healthcare High Sum เป็นผลิตภัณฑ์ที่เน้นกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อ และมีความต้องการในการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลชั้นนำ โดยให้ความคุ้มครองสูงสุดถึง 40 ล้านบาท และสามารถให้ความคุ้มครองทั่วโลก หากเดินทางท่องเที่ยว หรือติดต่อธุรกิจที่ต่างประเทศ โดยให้ความคุ้มครองพิเศษเพิ่มเติมถึงค่าดูแลบุตรที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ในขณะที่ผู้เอา ประกันภัย พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล และยังให้ความคุ้มครองถึงการปลูกถ่ายอวัยวะ การล้างไต และการรักษาโรคมะเร็ง สำหรับการรักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยนอก โดยไม่ต้องซื้อความคุ้มครองเพิ่ม รวมถึงค่าใช้จ่ายสำหรับการจ้างพยาบาลพิเศษมาดูแลที่บ้าน

ผลิตภัณฑ์ที่สองคือ ประกันฟัน เป็นการเสริมความคุ้มครองเพิ่มเติมจาก ประกันภัย อุบัติเหตุ หรือ ประกันภัย สุขภาพ ปัจจุบันคนไทยได้ตื่นตัวกับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน กันเป็นจำนวนมาก และต้องการความคุ้มครองในส่วนนี้ บริษัทฯ ได้ทำการศึกษาแล้วพบว่า มีกลุ่มลูกค้าสองกลุ่มหลักไม่ว่าจะเป็นพนักงานบริษัทฯ ซึ่งสวัสดิการของบริษัทฯ เอกชนส่วนใหญ่ ไม่ได้ขยายถึงการคุ้มครองทันตกรรม รวมถึงผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ ที่จะต้องรับภาระในส่วนนี้เอง บริษัทฯ จึงเตรียมแผนการออกความคุ้มครองที่ครอบคลุมการรักษาฟันทั่วไป (อุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน เคลือบฟลูออไรด์) การรักษาฟันจากอุบัติเหตุ คุ้มครองสูงถึงการผ่าฟันคุด และรักษารากฟัน พร้อมบริการสิทธิพิเศษ บริการนัดหมายทันตแพทย์ที่คุณเลือกได้เอง และเข้ารับการรักษาโดยไม่ต้องสำรองจ่าย

ผลิตภัณฑ์ที่สามคือ เมืองไทย Cats & Dogs เป็นผลิตภัณฑ์ที่คุ้มครองสัตว์เลี้ยง สังคมไทยในปัจจุบันนั้น คนเริ่มหาเพื่อนรู้ใจที่เป็นสัตว์เลี้ยงแสนซื่อสัตย์ รักและดูแลสัตว์เลี้ยงเหมือนลูกหลาน บริษัทฯ จึงออกผลิตภัณฑ์นี้เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของคนรักสัตว์เลี้ยง ด้วยความคุ้มครองที่ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นความคุ้มครองจากการเสียชีวิต/ค่ารักษาพยาบาล เนื่องจากบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรือการเจ็บป่วย ความรับผิดต่อชีวิตและร่างกายของบุคคลภายนอก อันเนื่องมาจากสัตว์เลี้ยง ค่าใช้จ่ายในการโฆษณา การประกาศเพื่อติดตามสัตว์เลี้ยงที่สูญหาย เป็นต้น โดยจะรับ ประกันภัย สัตว์เลี้ยงที่มีอายุระหว่าง 3 เดือน ถึง 7 ปี

ผลิตภัณฑ์ที่สี่คือ P.A.Senior ในอนาคตอันใกล้ สังคมไทยจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างความอุ่นใจในทุกจังหวะการดำรงชีวิตให้กับผู้สูงอายุ และหมดความกังวลกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล จากเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้น จึงขอนำเสนอผลิตภัณฑ์ ประกันภัย อุบัติเหตุส่วนบุคคล P.A. ผู้สูงอายุ รับ ประกันภัย ต่อเนื่องตั้งแต่ 45-80 ปี ต่ออายุได้ตลอดชีพ มอบความคุ้มครองทั้งเงินช่วยเหลือกรณีเสียชีวิต ค่ารักษาพยาบาลกรณีเกิดจากอุบัติเหตุ โดยไม่ต้องสำรองจ่าย เพียงยื่นบัตร Care Card กับโรงพยาบาลคู่สัญญากว่า 260 แห่งทั่วประเทศ พร้อมเพิ่มความคุ้มครองพิเศษสำหรับ ค่า wheel chair และเงินชดเชยกรณีกระดูกแขนหรือขาแตกหัก เนื่องมากจากอุบัติเหตุ

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังขยายตลาด ประกันภัยรถยนต์ ในอีก Segment ได้แก่ การ ประกันภัย รถบรรทุก ซึ่งเป็นอีกกลุ่มเป้าหมายที่สอดรับการการขยายตัวของธุรกิจ Logistics ที่มีแนวโน้มการข้ามชายแดนระหว่างประเทศมากขึ้น โดยมีการกำหนดแนวทางการรับ ประกันภัยรถยนต์ ที่ชัดเจน ในตลาดนี้มีผู้รับ ประกันภัย จำนวนน้อยราย และแนวโน้มการขยายตัวสูง ทำให้หากมีการรับในปริมาณรถที่มากพอ มีโอกาสที่จะทำให้มีกำไรได้เช่นกัน

แผนพัฒนาการบริหารความเสี่ยง Risk Management

ในปี 2556 ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการด้านความเสี่ยงขององค์กร (Enterprise Risk Management , ERM) อย่างต่อเนื่อง มีการจัดตั้งคณะกรรมการย่อยเพื่อศึกษาและการกำหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ( Risk Appetite) โดยมีการประเมินความเสี่ยงด้านต่างๆ รวมทั้งการทดสอบภาวะวิกฤต ( Stress Test) เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมในการจัดการ/ควบคุมความเสี่ยงด้านต่างๆ เช่น ด้านการตลาด ด้านเครดิต และ ด้าน ประกันภัย เป็นต้น บริษัทฯ ได้นำข้อมูลจากการวิเคราะห์ดังกล่าว มาประกอบการจัดทำโครงสร้าง และเงื่อนไขสัญญา ประกันภัย ต่อ ให้เหมาะสม และนำมาเป็นปัจจัยในการจัดทำงบประมาณปี 2557 ด้วย สำหรับปี 2557 บริษัทฯ จะมุ่งเน้นการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ การกำหนดตัววัดในเชิงต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาเครื่องมือในการวัดผล และประเมินความเสี่ยงที่เป็นมาตรฐานสากล ซึ่งจะสอดคล้องกับแผนงานของ สนง.คปภ.ในการพัฒนา Risk Based Capital Phase 2 นอกจากนี้บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างความตระหนัก ในเรื่องความสำคัญของการบริหารจัดการความเสี่ยง และความเชื่องโยงไปสู่การปฏิบัติงานในทุกด้านแก่พนักงานในทุกระดับ อีกทั้งยังได้กำหนดให้เป็นปัจจัยหนึ่งในการประเมินผลการปฏิบัติงานในปี 2557 ด้วย

แผนพัฒนาการ ประกันภัย ต่อปี 2557

ในส่วน ประกันภัย ต่อ จากแผนการบริหารความเสี่ยงและเป้าหมายการเจริญเติบโตของบริษัทฯ สำหรับปี 2557 บริษัทฯ จึงได้วางกรอบนโยบายด้าน ประกันภัย ต่อ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย และบรรลุวัตถุประสงค์ของบริษัทฯ โดยนโยบาย ประกันภัย ต่อนี้ ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัทฯ เป็นที่เรียบร้อย

ในปี 2557 นี้ บริษัทฯ ได้วางนโยบาย ประกันภัย ต่อ โดยสามารถสรุปโดยสังเขปได้ดังนี้

  1. การ ประกันภัย ต่อตามสัญญา (Treaty)
    1. สัญญาแบบเป็นสัดส่วน (Proportional Treaty) บริษัทฯ ได้จัดทำสัญญาเพื่อให้ขีดความสามารถในการรับงานได้มาก โดยสัญญาหลัก ซึ่งได้แก่สัญญากรมธรรม์ ประกันภัย ทรัพย์สิน บริษัทฯ สามารถเจรจาเพิ่มขีดความสามารถในการรับงานมากขึ้นกว่าเดิม 20% เมื่อเทียบกับปี 2556 ที่ผ่านมา
    2. สัญญาแบบไม่เป็นสัดส่วน (Excess of Loss) ซึ่งคุ้มครองส่วนที่บริษัทฯ รับเสี่ยงภัยไว้เอง รวมทั้งการคุ้มครองภัยธรรมชาติ บริษัทฯ ได้มีระบบ IT เพื่อรวบรวมข้อมูลการสะสมภัย (risk accumulation) พร้อมกับการเชิญบริษัทนายหน้า ประกันภัย ต่อมืออาชีพเข้ามาทำการศึกษาเรื่องการสะสมของภัย โดยเฉพาะภัยธรรมชาติร่วมกับนักคณิตศาสตร์ ประกันภัย ของบริษัท เพื่อให้บริษัทฯ ดำเนินการจัดซื้อความคุ้มครองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

      ในการคัดเลือกบริษัทรับ ประกันภัย ต่อ (Reinsurer Selection) บริษัทฯ ได้คัดสรรบริษัทรับ ประกันภัย ต่อ (Reinsurer) อย่างระมัดระวัง โดยเลือกเฉพาะรายที่มีความมั่นคงทางด้านการเงิน และมีประวัติการจ่ายค่าสินไหมทดแทนที่ดีอย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจัยหลัก
  2. การ ประกันภัย ต่อเฉพาะราย (Facultative Reinsurance) เช่นเดียวกับการ ประกันภัย ต่อแบบสัญญา(Treaty) บริษัทฯ ได้วางนโยบายเรื่องการ ประกันภัย ต่อเฉพาะราย โดยคำนึงถึงความมั่นคง/ฐานะการเงินของผู้รับ ประกันภัย ต่อ ความเป็นมืออาชีพ อีกทั้งบริษัทฯ ยังมีมาตรการควบคุมไม่ให้เกิดการกระจุกตัว ของการใช้บริษัทรับ ประกันภัย ต่อรายใดรายหนึ่ง จนมากเกินไป

“ผลการดำเนินงานประจำปี 2556 ของบริษัทฯ เป็นผลมาจากบริษัทฯ ได้ขยายช่องทาง และสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับพันธมิตรธุรกิจ ตลอดจนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า ทำให้สามารถเพิ่มยอดเบี้ย ประกันภัย ได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งบริษัทฯ ยังมุ่งเน้นการพัฒนาระบบการให้บริการให้มีประสิทธิภาพมาก รวมทั้งการพัฒนาบุคคลากรของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งบริษัทฯ จะดำเนินการเช่นนี้ตลอดไป”

ที่มา : อาร์วายทีไนน์