ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

ประกันภัย ยกระดับ 'อี-เคลม' คปภ.สั่งทำเต็มระบบ

พัฒนาไปสู่การขายจ่ายสินไหมออนไลน์ เชื่อมต่อข้อมูลสู่โครงการอินชัวรันส์บูโร ศูนย์ข้อมูลสำคัญธุรกิจ ประกันภัย ใช้ในการวิเคราะห์การทำ ประกันภัย อัตราเบี้ย สินไหม

ประกันภัย ยกระดับ 'อี-เคลม' คปภ.สั่งทำเต็มระบบ

ธันวาคม
6

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) เตรียมต่อยอดระบบสินไหมอัตโนมัติ หรืออี-เคลม (E-Claim) ไปยัง ประกันภัย ตัวอื่นทั้งประกันชีวิตและประกันวินาศภัย หลังจากประสบความสำเร็จกับ ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับหรือ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งกว่า 1 ปีที่เชื่อมระบบอี-เคลม การเบิกจ่ายสินไหมทำได้เร็วขึ้น ประชาชนไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาไปก่อน ได้รับการรักษาทันที โรงพยาบาลวางบิลเบิกค่ารักษาผ่านระบบออนไลน์ได้ทันทีเช่นกัน

ดึง "ประกัน 200" เชื่อมอี-เคลม / หนุนบริษัท โรงพยาบาลเข้าระบบ

เลขาธิการ คปภ.กล่าวว่า เท่าที่หารือกับนายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย ประกันภัย รูปแบบอื่นที่จะเชื่อมเข้าระบบอี-เคลมได้ ต้องมีความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเหมือนกัน อาทิ ประกันภัย อุบัติเหตุ (พีเอ) ประกันภัย สุขภาพ เป็นต้น จะเริ่มจาก ประกันภัย 200 หรือไมโครอินชัวรันส์ ที่จะเปิดขายผ่านช่องทางต่างๆ ในระบบออนไลน์เรียลไทม์ ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นทดสอบระบบ เมื่อขายผ่านระบบออนไลน์ น่าจะให้จ่ายสินไหมผ่านออนไลน์ด้วย ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย ประกันภัย 200 มีกำหนดเปิดขายอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 พฤศจิกายนนี้

นอกจากนี้ การพัฒนาไปสู่การขายและจ่ายสินไหมออนไลน์ ยังเป็นการเชื่อมต่อข้อมูลเข้าสู่โครงการอินชัวรันส์บูโร หรือศูนย์ข้อมูลของ คปภ.ที่กำลังทำอยู่ด้วย โดยขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลทั้งหมด ของธุรกิจประกันชีวิตน่าจะแล้วเสร็จในปี 2557 หลังจากนั้นจะเป็นธุรกิจประกันวินาศภัย ซึ่งต่อไปอินชัวรันส์บูโร จะเป็นศูนย์ข้อมูลสำคัญของธุรกิจ ประกันภัย ที่จะใช้ในการวิเคราะห์การทำ ประกันภัย อัตราเบี้ย และสินไหมเป็นอย่างไร

"ตอนนี้เรามีคณะกรรมการส่งเสริมระบบอี-เคลม มีหน้าที่วางหลักเกณฑ์มาตรฐานการจ่ายสินไหมผ่านระบบนี้ จะมีการประเมินผลทุกปี ถ้าบริษัทไหนต่ำกว่าเกณฑ์จะถอนออกจากระบบ ตอนนี้มีบริษัท ประกันภัย ผ่านเกณฑ์ได้รับใบรับรอง และตราสัญลักษณ์ E-Claim แล้ว 19 บริษัท"

ย้ำว่าจะส่งเสริมให้บริษัทที่เหลือเข้ามาสู่ระบบมากขึ้น นอกจากบริษัทจะสามารถนำไปใช้โฆษณาทางการตลาดแล้ว ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพบริการ และลดค่าใช้จ่ายบริษัทด้วย ขณะเดียวกันจะกระตุ้นโรงพยาบาลทั่วประเทศใช้อี-เคลมมากขึ้นด้วย เพื่อให้ระบบนี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ส่วนกฎหมายเพิ่มค่าเสียหายเบื้องต้น ค่ารักษาพยาบาล ประกันภัย พ.ร.บ.จาก 15,000 บาท เป็น 30,000 บาท และกรณีเสียชีวิตจาก 50,000 บาท เป็น 65,000 บาท เลขาธิการ คปภ.กล่าวว่า น่าจะเสร็จภายในปีนี้ และประกาศใช้ต้นปี 2557

เปิดช่องลูกค้าเบิกครบทุกสิทธิ์ / เอกชนขานรับกระตุ้น ประกันภัย โต

ด้านนายกสมาคมประกันวินาศภัยไทยกล่าวว่า การร่วมมือกันพัฒนาระบบอี-เคลม เพื่อให้การจ่ายสินไหมสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ไม่ใช่แค่ค่ารักษาพยาบาล แต่รวมไปถึงการเสียชีวิตด้วย ซึ่งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ระบบอี-เคลมเติบโตมาตลอด มีโรงพยาบาลเข้าระบบมากขึ้น โดยระบบอี-เคลม กลุ่มที่ได้ประโยชน์สูงสุดคือประชาชน ได้รับความสะดวกเรื่องการเบิกจ่ายสินไหม ได้รับการรักษาทันที ขณะที่สถานพยาบาล โรงพยาบาล มีหลักประกันได้ค่ารักษาพยาบาลครบถ้วน เรียกเก็บค่ารักษาเร็วขึ้น บริษัท ประกันภัย มีการตรวจสอบสิทธิ์ที่ถูกต้องของผู้ประสบภัย

"เมื่อ คปภ.ทำอินชัวรันส์บูโร ซึ่งเป็นศูนย์ข้อมูลธุรกิจ ประกันภัย ทั้งหมด ทั้งค่าสินไหม ประกันภัยรถยนต์ พ.ร.บ. ภาคสมัครใจ ประกันภัย พีเอ ซึ่งจะสามารถเชื่อมเข้าระบบอี-เคลมได้ในอนาคต ต่อไปประชาชนจะใช้สิทธิ์จาก ประกันภัย ทั้งหมดได้เต็มที่ โรงพยาบาลจะเห็นสิทธิ์ตั้งต้น มี ประกันภัย อะไรบ้าง ต่อไปถ้าไมโครอินชัวรันส์ ประกันภัย พีเอ ประกันภัย สุขภาพ เบิกจ่ายผ่านอี-เคลมได้ จะลดภาระของรัฐจากการที่ประชาชนไปใช้สิทธิ์ เบิกสวัสดิการอื่นๆ ได้ปีละหลายพันล้านบาท เชื่อไม่เกิน 3 ปีการเชื่อมค่ารักษาระหว่างบริษัท ประกันภัย และโรงพยาบาล จะเข้าระบบออนไลน์ทั้งหมด คปภ.มอนิเตอร์บริษัทได้ใกล้ชิดมากขึ้น สุดท้ายทำให้คนหันมาทำ ประกันภัย มากขึ้น"

บ.กลางฯ คุยโรงพยาบาล / จ่าย "พีเอ-สุขภาพ" ผ่านอี-เคลม

กรรมการผู้จัดการบริษัทกลางฯ กล่าวว่า ปัจจุบันมีสถานพยาบาลและโรงพยาบาลทั่วประเทศ ใช้ระบบอี-เคลม 1,777 แห่ง หรือกว่า 97% ของทั้งหมด เทียบกับปีที่ผ่านมามีจำนวน 1,549 แห่ง ตามเป้าหมายจะขยายระบบอี-เคลม เชื่อมกับสถานีอนามัย ซึ่งปัจจุบันพัฒนาเป็นโรงพยาบาลระดับตำบล ซึ่งเริ่มมีการรักษาพยาบาลเบื้องต้นมากขึ้น ซึ่งขณะนี้มีสถานีอนามัยเชื่อมระบบอี-เคลมแล้ว 600 แห่ง จากทั้งหมด 9,000 แห่ง

"เรากำลังจะเริ่มคุยกับโรงพยาบาลต่างๆ ในเรื่องการเชื่อมข้อมูลอี-เคลมกับ ประกันภัย พีเอและ ประกันภัย สุขภาพ เพื่อให้ผู้ประสบภัยได้ใช้สิทธิการรักษาที่เกินจาก ประกันภัย พ.ร.บ. ช่วยลดภาระของรัฐด้วย ระบบอี-เคลมของเรารองรับในเรื่องของการเชื่อมโยงข้อมูลนี้ได้ ซึ่งเราเปิดรับทั้งบริษัทประกันวินาศภัย และบริษัทประกันชีวิตที่สนใจเข้าร่วมเชื่อมโยงระบบกับเรา"

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต กล่าวว่า การเชื่อมโยงข้อมูลการทำ ประกันภัย พีเอและ ประกันภัย สุขภาพของผู้ประสบภัยเข้ากับระบบอี-เคลม จะทำให้สะดวกขึ้นในการรักษาพยาบาล ทั้งโรงพยาบาลเองสามารถตรวจสอบข้อมูลของลูกค้าได้ว่า มีสิทธิ์เบิกค่ารักษาพยาบาลจากส่วนอื่นได้หรือไม่ ส่วนที่เกินจาก ประกันภัยรถยนต์ พ.ร.บ. ก็จะได้มีค่ารักษาจาก ประกันภัย พีเอหรือ ประกันภัย สุขภาพที่ซื้อไว้มารองรับ ขณะเดียวกันผู้ประสบภัยจะได้ไม่ต้องกังวล ในเรื่องของค่ารักษาพยาบาลส่วนนี้ด้วยเช่นกัน

"ระบบอี-เคลมที่ทำอยู่เป็นระบบที่ดีมาก อย่างโรงพยาบาลเราทำมา 5-6 ปี พยายามเชื่อมโยงระบบนี้กับโรงพยาบาลชุมชนในจ.ภูเก็ตอีก 2 แห่งด้วย เพื่อให้การรักษาสะดวก กรณีที่ส่งต่อผู้ป่วยมารักษาทำให้สะดวกรวดเร็วขึ้น ผู้ประสบภัยเข้าถึงสิทธิของตัวเองได้ดี"

ที่มา : สยามธุรกิจ