ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

ส.วินาศภัยยื่นคำขาด ประกันภัย ต่อ CCR-เบสรี จ่ายเต็ม

ไม่รับข้อเสนอจ่ายสินไหมลดลง เพิ่มเติมมาตรการกดดันต่างๆ รายงานข้อมูลผ่านในระดับสากล ผิดเงื่อนไขสัญญา ประกันภัย ต่อระหว่างประเทศ

ส.วินาศภัยยื่นคำขาด ประกันภัย ต่อ CCR-เบสรี จ่ายเต็ม

พฤศจิกายน
12

ส.วินาศภัยไม่อ่อนข้อ ยันให้ซีซีอาร์, เบสรี จ่ายสินไหมคงค้างเต็มวงเงิน พร้อมยืนข้อเสนอหารือร่วมกันสัปดาห์หน้า เตรียมถกซีซีอาร์บินถึงไทย 11 พ.ย. หากชักดาบเตรียมงัดมาตรการกดดันระดับสากล บริษัทสมาชิกตั้งทีมเร่งรัดสินไหม มิตซุยนำทีมโดดประสาน คาดได้รับค่าเงินไหมอย่างช้าไม่เกินกลางปีหน้า หลัง 4 บริษัทอ่อมแบกรับสินไหมคงค้าง ส่วนใหญ่เป็น ประกันภัย ธุรกิจหยุดชะงัก

ตามที่เสนอข่าว จากผลของเหตุการณ์มหาอุทกภัยเมื่อปลายปี 2554 ซึ่งสร้างความเสียหายประชาชน ธุรกิจ และยังมีปัญหาเรื่องการฟ้องจ่ายค่าสินไหมทดแทน ที่บริษัทประกันวินาศภัยไทยรับซื้อความคุ้มครองไว้จำนวนมาก และบางส่วนได้ส่ง ประกันภัย ต่อไปยังต่างประเทศ (รีอินชัวรันซ์)

มติสมาคมฯ ยันไม่มีแฮร์คัต

ต่อความคืบหน้า นายกสมาคมประกันวินาศภัย เปิดเผยว่า ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 ทางบริษัท ซีซีอาร์ฯ (Caisse Centrale de Reassurance SA) จะเดินทางมายังประเทศไทย โดยจะใช้เวลาอยู่ในเมืองไทยประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อประเมินสถานการณ์ และค่าสินไหมร่วมกับบริษัท ประกันภัย เบื้องต้นสมาคมฯ จะตั้งตัวแทนเข้ามาประสานงาน 4-5 ท่าน เพื่อติดตามสถานการณ์ครั้งนี้อย่างใกล้ชิด พร้อมนำเสนอข้อมูลความเสียหายของแต่ละบริษัทให้กับซีซีอาร์ได้รับทราบ

ทั้งนี้ทางสมาคมฯ ยืนยันที่จะไม่รับข้อเสนอการจ่ายวงเงินสินไหมลดลง ( Hair cur) ที่ 70% ,80% หรือ 90% เด็ดขาด นอกจากนี้จะเพิ่มเติมมาตรการกดดันต่างๆ เช่น การรวบรวม และรายงานข้อมูลผ่านในระดับสากล ถ้าหากซีซีอาร์ยังยืนยันที่จะขอลดวงเงินสินไหมกับบริษัท ประกันภัย ไทยเช่นเดิม เพราะถือว่าผิดเงื่อนไขสัญญาการ ประกันภัย ต่อระหว่างประเทศ

ด้านรองผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันส์ จำกัด (บจก.) เปิดเผยว่า มติที่ประชุมสมาคมฯ ยืนยันที่จะให้ซีซีอาร์จ่ายเต็มวงเงินสินไหม 100% และจะไม่รับข้อเสนอการขอลดสินไหมแต่อย่างใด โดยในเบื้องต้น แม้มิตซุยจะไม่มีกรณีการเรียกคืนสินไหมกับซีซีอาร์ แต่เนื่องจากมิตซุยได้ใช้วิธีการกระจายความเสี่ยงภัยต่อให้กับบริษัท ประกันภัย เพื่อนสมาชิกในสมาคมฯ ประมาณ 15 บริษัท ซึ่งบริษัทเหล่านี้ได้รับความเดือดร้อน ดังนั้น มิตซุย จะเข้ามาเป็นหนึ่งในตัวกลางประสานระหว่างซีซีอาร์กับบริษัท ประกันภัย เพื่อนสมาชิก คาดว่าซีซีอาร์จะต้องเร่งดำเนินการจ่ายสินไหมค้างจ่าย ให้กับบริษัท ประกันภัย เพื่อนสมาชิกอย่างช้าที่สุดภายในกลางปี 2557

ส่วนความคืบหน้าการจ่ายสินไหมดังกล่าวให้กับลูกค้ามิตซุย ปัจจุบันจ่ายไปแล้ว 95% จากวงเงินสินไหมรวมทั้งสิ้น 1.4 แสนล้านบาท และสินไหมคงค้างส่วนใหญ่เป็น ประกันภัย ธุรกิจหยุดชะงัก (BI) โดยบริษัท ประกันภัย ที่ได้รับผลกระทบครั้งนี้มากที่สุด 4 บริษัท ได้แก่ มิตซุย วงเงินสินไหม 1.4 แสนล้านบาท รองลงมาเป็น โตเกียวมารีน วงเงินสินไหม จำนวน 8-9 หมื่นล้านบาท, สมโพธิ์ เจเปน วงเงินสินไหม จำนวน 4-5 หมื่นล้านบาทและ กรุงเทพประกันภัย วงเงินสินไหมจำนวน 2-3 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ

ใช้กระบวนการสากลกดดัน

ข่าวจากที่ประชุมระบุด้วยว่า ที่ประชุมมีมติจะตั้งทีมรวบรวม และหารือกับบริษัท ประกันภัย สมาชิกเป็นกลุ่มย่อย 2 กลุ่ม แยกเป็นบริษัทที่มีสินไหมค้างจ่ายกับซีซีอาร์ และเบสรี จะเริ่มประชุมในสัปดาห์หน้า เพื่อติดตามกระบวนการเรียกร้องของแต่ละบริษัท ว่าต้องการจะดำเนินการเรียกร้องให้กับบริษัทเป็นไปในทิศทางใดบ้าง ซึ่งสมาคมฯ จะเปิดกว้างให้บริษัทสมาชิกสามารถหารือกับซีซีอาร์เป็นการส่วนตัวได้ เชื่อว่ากระบวนการเรียกสินไหมจะทำได้เร็วขึ้น

นอกจากนี้ จะใช้กระบวนการต่อต้านระดับสากลเพื่อกดดัน เช่น การนำข้อมูล รวมถึงวิธีการต่างๆ ที่ซีซีอาร์ใช้กับบริษัท ประกันภัย ไทย นำไปเปิดเผยต่อเวทีระดับประเทศร่วมกันช่วยกดดันซีซีอาร์ เพราะจากการที่ซีซีอาร์ มองว่าไทยเป็นประเทศเล็ก และมูลค่าสินไหมทั้งระบบ ทั้งประกันชีวิต และ ประกันภัย ทรัพย์สิน 4.27 แสนล้านบาท เท่านั้น โดยซีซีอาร์มองว่าสินไหมที่เหมาะสม ไม่น่าจะจ่ายเกิน 3 แสนล้านบาท จึงไม่อยากจ่ายสินไหมส่วนที่เหลือ

ชี้ซีซีอาร์ยึกยักเสียดายเงิน

ขณะที่กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทกรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) (บมจ.) กล่าวว่า ปัญหาของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการเรียกคืนสินไหมจากบริษัทรับ ประกันภัย ต่อ ยังมีเพียงรายเดียว คือ ซีซีอาร์ เนื่องจากที่ผ่านมามีการขอปรับลดการจ่ายสินไหมลง 80% ของวงเงินที่เหลือ ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัทไม่สามารถยอมรับได้ ซึ่งในระยะยาวมีความเสี่ยงที่ประเทศไทยจะถูกดิสเครดิตได้ เนื่องจากถูกมองว่าไม่มีความเป็นมืออาชีพในการรับ ประกันภัย

อย่างไรก็ดี บริษัทคงไม่สามารถตอบแทนบริษัทอื่นได้ เนื่องจากกระบวนการ หรือการยอมรับข้อต่อรองของแต่ละแห่งนั้นแตกต่างกัน ส่วนบริษัทเองยอมรับว่า ไม่สามารถยอมรับข้อเสนอได้ เพราะถ้ายอมรับก็เท่ากับซีซีอาร์กล่าวหาว่า บริษัทประเทศไทยสำรวจภัยบกพร่อง ซึ่งต่างจากข้อเท็จจริง ที่บริษัทเองจ้างทีมนักสำรวจภัย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในระดับโลกหลายเจ้า ทั้งจากอังกฤษ สิงคโปร์ เป็นต้น และสูญเสียงบประมาณในการสำรวจภัยจำนวนไม่น้อย ดังนั้นแนวทางของบริษัทเอง ยืนยันว่าจะไม่รับแฮร์คัต หรือลดหนี้สินไหม

"ตอนนี้จากการสอบถามไปยังต่างประเทศ มีการประเมินว่าซีซีอาร์มีเงินและพร้อมจ่าย ส่วนที่ทำท่าทีว่าขอลดวงเงิน ก็อาจเพื่อที่จะไม่ต้องจ่ายเยอะ เพราะวงเงินสินไหมที่เป็นของซีซีอาร์ ต้องจ่ายให้กับบริษัทที่ส่งงานให้สูงมาก"

ข่าวจากสมาคมประกันวินาศภัยไทย ระบุถึงความคืบหน้าจากการรวบรวมข้อมูลแต่ละบริษัท เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเดือดร้อน หลังถูกซีซีอาร์ส่งหนังสือขอลดการจ่ายสินไหมลง ซึ่งอาจถึงขั้นทำให้กระเทือนต่อสถานภาพด้านเงินทุนของแต่ละบริษัท ท้ายสุดอาจถึงขั้นทำให้บริษัท ประกันภัย หายไปไม่ต่ำกว่า 20% ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทขนาดกลางค่อนไปทางเล็ก และมีเบี้ย ประกันภัย ต่อปีในระดับหลักไม่เกิน 5 พันล้านบาท

คปภ.ห่วงสะเทือนความสัมพันธ์ระหว่างปท.

ด้านรองเลขาธิการด้านกำกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) แสดงความกังวลว่า กรณีการยื่นฟ้องร้องบริษัท ประกันภัย ต่อซีซีอาร์นั้น อยากให้บริษัท ประกันภัย ทำอย่างรอบคอบ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่อาจกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เนื่องจากซีซีอาร์มีรัฐบาลฝรั่งเศสถือหุ้นอยู่ ส่วนกรณีที่ซีซีอาร์ขอต่อรองการลดวงเงินจ่ายสินไหมนั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทจะยอมรับหรือไม่ โดยต้องเข้าไปดูตามสัญญา เพราะแต่ละบริษัททำสัญญา ประกันภัย ต่อแตกต่างกัน ซึ่งต้องยอมรับว่าบางบริษัททำสัญญา ประกันภัย ต่อแบบมีช่องโหว่ ทำให้ซีซีอาร์สามารถยื่นข้อเสนอขอลดวงเงินสินไหมได้

อย่างไรก็ดี จากข้อมูลความคืบหน้าการจ่ายสินไหมจากบริษัท ประกันภัย ไทย ซึ่งอยู่นอกเหนือจากการเรียกคืนจาก ประกันภัย ต่อ เมื่อผ่านไป 2 ปีถือว่าไทยมีความคืบหน้าการจ่ายอย่างมาก คงเหลือสินไหมคงค้างไม่ถึง 18% วงเงินไม่ถึง 6 หมื่นล้านบาท นับว่ามีความก้าวหน้าอย่างมาก เมื่อเทียบกับต่างประเทศ เนื่องจากสินไหมจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี 2554 เกิดความเสียหายสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยในต่างประเทศต้องใช้เวลาทยอยจ่ายสินไหมไม่ต่ำกว่า 5-10 ปี โดยในมุมมองของหน่วยงานที่กำกับภาคธุรกิจยืนยันว่า บริษัท ประกันภัย ต้องเร่งจ่ายสินไหมแก่ผู้เอา ประกันภัย ครบทุกรายและต้อง 100% ซึ่งต้องแยกออกจากการเรียกสินไหมจาก ประกันภัย ต่อ

สำหรับความคืบหน้าตัวเลขการจ่ายสินไหมทดแทนจากเหตุการณ์น้ำท่วมปี 2554 ข้อมูล คปภ. รายงานว่า ณ วันที่ 30 กันยายน 2556 บริษัท ประกันภัย ต่างทยอยจ่ายชดเชยสินไหมแก่ผู้เอา ประกันภัย ไปแล้ว 97.96% คิดเป็นมูลค่าสินไหม 3.80 แสนล้านบาท จากมูลค่าสินไหมรวม 4.27 แสนล้านบาท โดยกลุ่มที่ยังคงมีสินไหมค้าง คือ กลุ่มที่ทำ ประกันภัย การเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) จากที่มีผู้ยื่นเรื่องเอา ประกันภัย รวม 1.06 หมื่นราย วงเงินสินไหม 4.09 แสนล้านบาท ได้จ่ายชดเชยแล้ว 3.63 แสนล้านบาท คงเหลือสินไหมค้างจ่าย 4.56 หมื่นล้านบาท หรือประมาณ 11.14% ส่วน ประกันภัย ทรัพย์สิน (ที่อยู่อาศัย) คงเหลือสินไหมค้างจ่าย 36.60 ล้านบาท สัดส่วน 1.15% และกลุ่มเอสเอ็มอี อาคารพาณิชย์ มีสินไหมคงค้าง 1.02 พันล้านบาท สัดส่วน 9.66%

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ