ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

คาดสิ้นปี ประกันภัย โตแตะ 17% ประกันภัยรถยนต์ 59,000 ล้าน

ประกันภัยรถยนต์ มีเบี้ย ประกันภัย มากที่สุด 59,613 ล้านบาท เติบโต 21.09% รองลงมาเป็น ประกันภัย เบ็ดเตล็ด 32,299 ล้านบาท

คาดสิ้นปี ประกันภัย โตแตะ 17% ประกันภัยรถยนต์ 59,000 ล้าน

กันยายน
23

เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ภาพรวมธุรกิจ ประกันภัย ในช่วงครึ่งปีแรก 2556 เติบโตได้น่าพอใจ โดยมีเบี้ย ประกันภัย รับรวม 313,256 ล้านบาท เติบโต 17.36% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้สัดส่วนเบี้ย ประกันภัย ต่อจีดีพียังเติบโตได้ดีที่ 5.2% โดยสัดส่วนเบี้ยประกันชีวิตต่อจีดีพีอยู่ที่ 3.5% ส่วนเบี้ยประกันวินาศภัยต่อจีดีพีอยู่ที่ 3.7%

ในส่วนของธุรกิจประกันชีวิต มีเบี้ย ประกันภัย รับรวม 212,689 ล้านบาท เติบโต 16.69% แบ่งเป็นเบี้ย ประกันภัย ปีแรก (FYP) 47,785 ล้านบาท เติบโต 24.93% เป็นเบี้ย ประกันภัย ต่ออายุ 139,959 ล้านบาท เติบโต 12.49% เติบโตต่ำกว่าช่วงก่อนเล็กน้อย และเป็นเบี้ย ประกันภัย ชำระครั้งเดียว หรือซิงเกิล พรีเมี่ยม (Single Premium) 24,945 ล้านบาท เติบโต 27.26% โดยที่การประกันชีวิตประเภทสามัญยังคงมีเบี้ย ประกันภัย มากที่สุด คิดเป็นสัดส่วน 83% เศษ หรือเป็นเบี้ย ประกันภัย 176,256 ล้านบาท เติบโต 15.23% ขณะที่เบี้ย ประกันภัย กลุ่มโตมากที่สุดถึง 31.75% เป็นเบี้ย ประกันภัย 29,739 ล้านบาท

ด้านประกันวินาศภัยมีเบี้ย ประกันภัย รับรวม 100,567 ล้านบาท เติบโต 18.81% เติบโตหมดทุกประเภท โดยตัวหลัก คือ ประกันภัยรถยนต์ มีเบี้ย ประกันภัย มากที่สุด 59,613 ล้านบาท เติบโต 21.09% รองลงมาเป็น ประกันภัย เบ็ดเตล็ด 32,299 ล้านบาท เติบโต 16.94% ซึ่งเป็นเบี้ยจาก ประกันภัย ทรัพย์สิน (IAR) มากที่สุด 11,475 ล้านบาท เติบโตถึง 45.05% รองลงมาเป็น ประกันภัย พีเอ 11,160 ล้านบาท เติบโต 11.15% ส่วนประกันอัคคีภัย 5,967 ล้านบาท เติบโต 14.08% และ ประกันภัย ทางทะเลและขนส่ง (มารีน) เป็นประเภทเดียวที่โตติดลบ 1.45% มีเบี้ย ประกันภัย 2,530 ล้านบาท

ส่วนสินทรัพย์ของธุรกิจ ประกันภัย ยังเติบโตได้ดีเช่นกัน โดย ณ สิ้นมิถุนายน 2556 มีสินทรัพย์รวมถึง 2.347 ล้านล้านบาท เติบโต 3% มีกำไร 37,739 ล้านบาท เติบโต 33.33% ขณะที่เงินกองทุนถ้ายึดตามกฎหมายกำหนด มีแค่ 100,000 ล้าน บาทก็พอ แต่ทั้งระบบมีเงินกองทุนถึง 429,712 ล้านบาท หรือ 4.25 เท่าของกฎหมายกำหนด และแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามการเติบโตของธุรกิจ ขณะที่แบงก์ถ้ายึดตามเกณฑ์บาร์เซิล 2 จะต้องมีเงินดำรงกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงอยู่ที่ 8.5% ของสินทรัพย์เสี่ยง แต่ปัจจุบันแบงก์มี 14% ของสินทรัพย์เสี่ยง หรือ 1.5 เท่าของกฎหมายกำหนด

"ประเมินผลครึ่งปีแรกธุรกิจ ประกันภัย เติบโตน่าพอใจ เมื่อเทียบกับการเติบโตของเศรษฐกิจ โดยเบี้ย ประกันภัย ที่โต 17-18% ขณะที่ฝั่งทรัพย์สินของธุรกิจก็โต 14-15% เช่นเดียวกับกำไรถือว่าดี และเงินกองทุนก็สูงกว่ากฎหมายกำหนดมาก สะท้อนธุรกิจ ประกันภัย มีเสถียรภาพดี โดยเฉพาะฝั่งประกันชีวิตจะมีเสถียรภาพกว่าประกันวินาศภัย เพราะวินาศภัยเจอน้ำท่วม และบริษัท ประกันภัย ต่อต่างประเทศขอแฮร์คัตหนี้ครึ่งหนึ่ง แต่ก็เชื่อว่าครึ่งปีหลังจะโตชัดเจนกว่านี้โดยเฉพาะประกันชีวิต เพราะช่วงธันวาคมเป็นช่วงนาทีทองลดหย่อนภาษี"

สำหรับแนวโน้มธุรกิจ ประกันภัยครึ่งหลัง คาดว่าเบี้ย ประกันภัย รับรวมน่าจะทำได้ตามเป้าหมายเดิม เติบโต 16% ได้อยู่แล้ว เพราะครึ่งปีแรกประกันวินาศภัยโต 18% ประกันชีวิตโต 16% เฉลี่ยโต 17% สูงกว่าเป้าเล็กน้อย ดังนั้นครึ่งปีหลังมีโอกาสที่จะทำได้ถึง 17% แต่จะมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องความผันผวนของเศรษฐกิจช่วงไตรมาส 3 มีผลต่อการโตของธุรกิจ ประกันภัย

"แต่ยังเชื่อว่าไตรมาส 4 จะกระตุ้นขึ้นมาได้ เพราะเป็นช่วงกรมธรรม์ครบต่ออายุ และคนซื้อ ประกันภัย เพื่อใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี ก็จะมาชดเชยไตรมาสสามที่ดร็อปลงไปได้"

ขณะที่ธุรกิจประกันชีวิตมีทิศทางเติบโตตามที่ คปภ.คาดการณ์ โดยผู้อำนวยการสมาคมประกันชีวิตไทยกล่าวว่า ผลการดำเนินงานของธุรกิจประกันชีวิตในช่วง 7 เดือนแรกของปี (มกราคม-กรกฎาคม 2556) มีเบี้ย ประกันภัย รับรวมทั้งสิ้น 251,076.9 ล้านบาท เติบโต 17.52% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เป็นเบี้ย ประกันภัย ใหม่ (New Business Premium) 87,414.45 ล้านบาท เติบโต 28.06% และเบี้ย ประกันภัย รับปีต่อไป 163,662.41 ล้านบาท เติบโต 12.57% โดยมีอัตราความยั่งยืนกรมธรรม์อยู่ที่ 86%

"การเติบโตยังเป็นไปตามที่สมาคมฯ ประมาณการไว้ตั้งแต่ต้นปี คือ 17.3% ซึ่งอีก 4 เดือนที่เหลือ คาดว่าจะยังเติบโตอยู่ในระดับนี้ต่อเนื่อง หรือไม่ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้"

ที่มา : สยามธุรกิจ