ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

เอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ ประกันภัยรถยนต์

พิกัดอัตราเบี้ย ประกันภัย ยังกำหนดให้ คุ้มครองตามเอกสารแนบท้าย ที่เรียกชื่อย่อว่า รย คุ้มครองเพิ่มเติมจากความคุ้มครอง ประกันภัยรถยนต์ หลัก

เอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ ประกันภัยรถยนต์

กันยายน
20

การทำ ประกันภัยรถยนต์ ภาคสมัครใจในประเภทต่างๆ บางครั้งความคุ้มครองหลักสำหรับการ ประกันภัยรถยนต์ ในแต่ละประเภทอาจยังไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้เอา ประกันภัย เพราะภายใต้หลักกฎหมาย เรื่องการ ประกันภัย ค้ำจุนและการ ประกันภัย ตัวทรัพย์ที่เป็นวัตถุที่เอา ประกันภัย ยังไม่ครอบคลุมถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับการใช้รถในภาวะปัจจุบันได้ ดังนั้นพิกัดอัตราเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ ภาคสมัครใจ จึงกำหนดให้มีความคุ้มครองเพิ่มเติมจากความคุ้มครองของกรมธรรม์หลักในการ ประกันภัยรถยนต์ กล่าวคือ ความคุ้มครองหลักตามกรมธรรม์ ประกันภัยรถยนต์ ภาคสมัครใจประกอบด้วย

  1. ความคุ้มครองความเสียหายของบุคคลภายนอก ทั้งในส่วนของค่ารักษาพยาบาล ค่าปลงศพ และค่าเสียหายส่วนแรกของทรัพย์สินบุคคลภายนอก รวมผู้โดยสารในรถยนต์คันเอา ประกันภัย ในกรณีที่ผู้ขับขี่รถยนต์คันเอา ประกันภัย ต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้น

  2. ความคุ้มครองตัวรถยนต์คันที่ทำ ประกันภัย ไม่ว่าจะเป็นความเสียหาย หรือสูญหายก็ตาม

นอกจากความคุ้มครองหลักตามกรมธรรม์ ประกันภัยรถยนต์ ภาคสมัครใจทั้งสองประการดังกล่าวแล้ว พิกัดอัตราเบี้ย ประกันภัย ยังกำหนดให้กรมธรรม์ ประกันภัยรถยนต์ ภาคสมัครใจ สามารถให้ความคุ้มครองตามเอกสารแนบท้าย ที่เรียกชื่อย่อว่า รย. อีก 3 ประการ คือ

รย. 01 คือ ความคุ้มครองเพิ่มเติมในเรื่อง อุบัติเหตุส่วนบุคคลสำหรับผู้ขับขี่ และผู้โดยสารในรถยนต์คันที่ทำ ประกันภัย ไว้ ซึ่งเป็นผลมาจากอุบัติเหตุ ถึงขนาดที่ทำให้ผู้ขับขี่ หรือผู้โดยสารเสียชีวิต สูญเสียมือ เท้า สายตา หรือทุพพลภาพ

รย. 02 คือ ความคุ้มครองในเรื่องค่ารักษาพยาบาลที่ให้กับผู้ขับขี่ และผู้โดยสาร ในรถยนต์คันที่ทำ ประกันภัย เนื่องจากอุบัติเหตุในขณะอยู่ใน หรือกำลังขึ้น หรือกำลังลง จากรถยนต์คันที่ทำ ประกันภัย ไว้

สำหรับเอกสารประการสุดท้าย คือ
รย. 03 การประกันตัวผู้ขับขี่ เป็น ความคุ้มครองที่มีให้สำหรับผู้เอา ประกันภัย หรือผู้ขับขี่ โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอา ประกันภัย เมื่อนำรถยนต์คันที่ทำ ประกันภัยรถยนต์ ไว้ไปใช้และเกิดอุบัติเหตุขึ้น ทำให้ผู้เอา ประกันภัย หรือผู้ขับขี่นั้นถูกควบคุมตัวไว้ในคดีอาญา เอกสารนี้ให้ความคุ้มครองโดยบริษัทที่รับ ประกันภัย จะต้องดำเนินการประกันตัวผู้เอา ประกันภัย หรือผู้ขับขี่ เพื่อให้พนักงานสอบสวน อัยการ หรือศาล พิจารณาปล่อยตัวบุคคลดังกล่าวเป็นการชั่วคราว

การปฏิบัติการตามความคุ้มครองในส่วนนี้ เป็นภาระที่บริษัท ประกันภัย จะต้องดำเนินการไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ดังนั้นแม้บริษัทจะได้วางหลักทรัพย์ ประกันภัย ดังกล่าวในชั้นพนักงานสอบสวนแล้ว ต่อมามีการส่งเรื่องไปยังชั้นอัยการ และศาลต่อไป บริษัทที่รับ ประกันภัย ก็ยังคงมีหน้าที่ต้องดำเนินการประกันตัวผู้เอา ประกันภัย หรือผู้ขับขี่ต่อไป จนกว่าคดีจะถึงที่สุด และในระหว่างการประกันตัว ถ้าหากบุคคลที่ได้รับการประกันตัวดังกล่าวหลบหนี ทำให้บริษัทต้องรับผิดชดใช้เงินตามสัญญาประกันตัว บริษัทก็ไม่สามารถฟ้องร้องเรียกคืนได้ และหากผู้ที่ได้รับการประกันตัวที่หลบหนีถูกจับตัวมาได้ภายหลัง บริษัทก็ไม่ต้องประกันตัวบุคคลดังกล่าวสำหรับอุบัติเหตุรายนั้นอีก แต่ถ้าเป็นอุบัติเหตุรายอื่น บริษัทก็ยังคงมีหน้าที่ต้องดำเนินการประกันตัวอีกเช่นเคย

การประกันตัวผู้เอา ประกันภัย หรือผู้ขับขี่ที่ได้รับความยินยอมจากผู้เอา ประกันภัย ตามข้อสัญญา รย.03 นั้น แม้ว่าความเสียหายหรือความรับผิดสำหรับอุบัติเหตุนั้น จะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์หลักก็ตาม บริษัทก็ยังคงมีหน้าที่ต้องดำเนินการประกันตัวตามเอกสาร รย. 03 อยู่ดี เช่น ผู้เอา ประกันภัย ขับขี่รถคันที่ทำ ประกันภัย ด้วยความมึนเมา จนเกิดอุบัติเหตุชนรถยนต์คันอื่นได้รับความเสียหาย แม้ว่าจะสามารถตรวจสอบได้ว่า ผู้เอา ประกันภัย ที่ขับขี่รถยนต์นั้น มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเส้นเลือดสูงกว่า 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ อันเป็นข้อยกเว้นความรับผิดของบริษัท ประกันภัย ก็ตาม แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุ บริษัทยังคงมีหน้าที่ต้องดำเนินการประกันตัวผู้เอา ประกันภัย นั้นตาม รย.03

แต่ถ้าหากผู้เอา ประกันภัย เมาสุราโดยถูกด่านของตำรวจ ตรวจพบแอลกอฮอล์ในเส้นเลือดสูงกว่า 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ และถูกควบคุมตัวไว้ กรณีเช่นนี้มิได้มีการเกิดอุบัติเหตุใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวรถยนต์คันที่ทำ ประกันภัย ไว้ ดังนั้นบริษัท ประกันภัย จึงไม่มีหน้าที่ต้องดำเนินการประกันตัวผู้เอา ประกันภัย รายนี้แต่อย่างใด รายละเอียดของความคุ้มครองของกรมธรรม์ ประกันภัยรถยนต์ มีมากมายหลายประการ จึงควรศึกษาทำความเข้าใจให้ชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการใช้รถยนต์ และการใช้ประโยชน์จากกรมธรรม์จะได้ผลเต็มที่ครับ

ที่มา : สยามธุรกิจ