ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

"กรุงเทพ "ชู ประกันภัยรถยนต์ โกยกำไร ครึ่งหลังขยายเพื่อนบ้าน

ประกันภัยรถยนต์ เป็นตัวนำ ทำให้บริษัทกลับมามีกำไร เน้นกลยุทธ์บริการหลังการขาย สร้างความพึงพอใจลูกค้า

"กรุงเทพ "ชู ประกันภัยรถยนต์ โกยกำไร ครึ่งหลังขยายเพื่อนบ้าน

กันยายน
6

ปีนี้สถานการณ์บริษัท ประกันภัย เริ่มฟื้นไข้จากน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 หลายบริษัทเริ่มกลับมามีกำไร โดยเฉพาะกำไรจากการรับ ประกันภัย ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ ขาใหญ่อย่าง "กรุงเทพประกันภัย" หลังจากกำไรส่วนนี้หดหายไป 2 ปี โดยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) บอกว่า เริ่มกลับมาเป็นปกติเหมือนเมื่อก่อนเกิดน้ำท่วมใหญ่แล้ว

" ประกันภัยรถยนต์ " ตัวนำ ดึงกำไร / คาดทั้งปีฟัน 400 ล้าน

"ครึ่งปีแรกปีนี้ (มกราคม-มิถุนายน 2556) เรามีกำไรจากการรับ ประกันภัย ถึง 736 ล้านบาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานแล้ว เป็นกำไรสุทธิจากการรับ ประกันภัย 259 ล้านบาท ขณะที่อัตราค่าสินไหมทดแทน หรือลอสเรโช (Loss Ratio) โดยรวมอยู่ที่ 59% ถือเป็นปีแรกที่เรากลับมามีกำไร จากการรับ ประกันภัย เหมือนเมื่อก่อนน้ำท่วม"

น้ำท่วมนำให้ขาดทุนจากการรับ ประกันภัย ไป 2 ปี (2554-2555) รวม 3,300 ล้านบาท แต่เมื่อเคลียร์สินไหมไปแล้วจึงกลับมามีกำไร และมั่นใจว่าสิ้นปีนี้จะไม่ขาดทุนอีก คาดว่าทั้งปีมีกำไรจากรับ ประกันภัย สุทธิประมาณ 400 ล้านบาท อยู่ในระนาบเดียวกันกับก่อนน้ำท่วม โดยที่สินไหมน้ำท่วมทั้งหมดอยู่ที่ 37,000 ล้านบาท แต่เป็นส่วน ประกันภัย ต่อ 31,000 ล้านบาท ดังนั้นเหลือความเสียหายจริงที่ต้องจ่ายแค่ 6,000 ล้านบาท ซึ่งจ่ายสินไหมไปแล้ว 85% ของยอดทั้งหมด

อย่างไรก็ดี การ ประกันภัยรถยนต์ เป็นตัวนำ ที่ทำให้บริษัทกลับมามีกำไรจากการรับ ประกันภัย เน้นกลยุทธ์บริการหลังการขาย สร้างความพึงพอใจลูกค้า และการบริหารจัดการสินไหมที่ดี ไม่แข่งขันด้านราคาค่าเบี้ย ประกันภัย กับตลาด ซึ่ง 3-4 ปีที่นำกลยุทธ์นี้มาใช้ ทำให้ ประกันภัยรถยนต์ ของบริษัทเติบโตเป็นตัวเลข 2 หลักมาตลอด และมีกำไรจากการรับ ประกันภัย ด้วย

"ตลอด 2 ปี เราไม่ได้ปรับราคาเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ ขึ้นเลย โดยปรับครั้งแรกหลังน้ำท่วม แม้ประกันอัคคีภัยจะทำกำไรดี แต่ก็ยังมีเรื่องของสินไหมน้ำท่วมอยู่ โดยสัดส่วนกำไรจากการรับ ประกันภัย มาจาก ประกันภัยรถยนต์ มากที่สุดถึง 45% รองลงมาเป็น ประกันภัย สรรพภัย หรือ IAR 35% เหตุที่ ประกันภัย IAR ทำกำไรได้ดี มาจากหลังน้ำท่วม ราคาเบี้ย ประกันภัย ในตลาดนี้ปรับเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการเองก็มีการตื่นตัวป้องกันภัยกันมากขึ้น ทำให้ลดความเสี่ยงลงไปได้มาก"

สำหรับผลประกอบการครึ่งปีแรก บริษัทมีเบี้ย ประกันภัย รับรวม 7,816.4 ล้านบาท เติบโต 27% มีกำไรสุทธิ 916 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 231% โดยมีเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ 3,301 ล้านบาท เติบโต 41% ลอสเรโช 60%, ประกันอัคคีภัย 943 ล้านบาท เติบโต 21% ลอสเรโช 74%, ประกันภัย ทางทะเลและขนส่ง (มารีน) แบ่งเป็นตัวเรือ 26 ล้านบาท ลดลง 21% ลอสเรโชสูงถึง 167% ขณะที่ ประกันภัย สินค้า หรือคาร์โก้ มีเบี้ย ประกันภัย 180 ล้านบาท เติบโต 2% ลอสเรโช 40% ส่วน ประกันภัย รายย่อย คือ ประกันภัย อุบัติเหตุส่วนบุคคล (พีเอ) และ ประกันภัย สุขภาพ มีเบี้ย ประกันภัย 695 ล้านบาท เติบโตลดลง 1% แต่ลอสเรโชดีมากแค่ 38% โดยที่ ประกันภัย เบ็ดเตล็ดรวม ประกันภัย IAR มีเบี้ย ประกันภัย 2,672 ล้านบาท เติบโต 26% ลอสเรโช 65%

ครึ่งหลังชู ประกันภัยรถยนต์ ธงนำต่อเนื่อง / บุกเขมร-ลาว ขายผ่านแบงก์

สำหรับครึ่งปีหลัง ยังคงเน้นการ ประกันภัยรถยนต์ เป็นตัวนำ ซึ่งบริษัทกำลังประเมินอยู่ว่า จะปรับขึ้นเบี้ย ประกันภัย หรือไม่ เพราะ 6 เดือนแรกปีนี้ ลอสเรโช มีสิทธิ์แตะ 60% อีกทั้งค่าซ่อม ค่าอะไหล่ ค่าแรงที่เพิ่มขึ้น ขณะที่อู่ซ่อมเองมีปัญหาปริมาณไม่เพียงพอ จากปีก่อนมี รถยนต์ ใหม่เข้าสู่ระบบเยอะ จากนโยบาย รถยนต์ คันแรก โดยบริษัทกำลังเพิ่มจำนวนอู่เป็น 500 อู่

นอกจากนี้ ยังเตรียมขยายตลาด ประกันภัยรถยนต์ ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน คือ กัมพูชา และลาว ภายในปลายปีนี้ โดยจะเน้นจุดขายที่การซ่อม สามารถนำ รถยนต์ มาซ่อมในไทยได้ ซึ่งในกัมพูชา มีบริษัทร่วมทุนในนาม Asia Insurance (Cambodia) โดยถือหุ้นอยู่ 22.92% ส่วนในลาว มีบริษัทร่วมทุนในนาม พีซีทีเอเชียอินชัวรันส์ และอีกส่วนจะมาจากการขาย ประกันภัย ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเริ่มวาง ประกันภัยรถยนต์ ขายมาตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ผลตอบรับดีปีนี้ จึงจะขยายเต็มที่

แบงก์-เทเลฯ-สาขาดันรายย่อยโต / สิ้นปีเบี้ยเข้าเป้า 15,300 ล้าน

นอกจากนี้ยังคงเน้นการขยายตลาดรายย่อย ซึ่งปัจจุบันในแง่จำนวนราย 80% เป็นรายย่อย แต่ในแง่ของเบี้ย สัดส่วนยังอยู่ที่ 40% โดยมาจาก 3 ส่วนใหญ่ ได้แก่ การขาย ประกันภัย ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงเทพ โดยครึ่งปีแรกทำเบี้ย ประกันภัย ได้ 750 ล้านบาท คาดว่าสิ้นปีจะทำได้ 800-850 ล้านบาท อีกส่วนมาจากขาย ประกันภัย ผ่านโทรศัพท์ หรือเทเลมาร์เก็ตติ้ง ซึ่งกำลังเริ่มอิ่มตัว ต้องหาฐานข้อมูลใหม่เพิ่ม น่าจะทำเบี้ย ประกันภัย ได้ 1,500-1,600 ล้านบาท และอีกส่วนมาจากงานสาขา ซึ่งปัจจุบันเป็นสาขาเต็มรูปแบบทั้งหมด 32 สาขา หลังจากปรับนโยบายพัฒนาคุณภาพบุคลากร และระบบไอที ทำผลงานเติบโตได้ดีกว่าสำนักงานใหญ่ โดย 6 เดือนแรกปีนี้เติบโต 38% ขณะที่ช่วง 3 ปีมานี้ เติบโตเป็นเลข 2 หลักมาตลอด โดยสัดส่วนเบี้ย ประกันภัย จากสาขาโตเพิ่ม 1% ทุกปี มาอยู่ 18% ในปีที่ผ่านมา และยังมีศูนย์บริการแคร์สเตชั่นในห้างสรรพสินค้าอีก 30 แห่ง ที่เข้าถึงไลฟ์สไตล์ลูกค้าได้มากขึ้นด้วย พร้อมกันนี้บริษัทยังปรับการบริหาร จัดการความเสี่ยงจากภัยสะสม โดยควบคุมภัยสะสมตามโซนที่แบ่งเป็น 20 โซน เพื่อบริหารจัดการด้านรับ ประกันภัย และการ ประกันภัย ต่อได้ดีขึ้น

"ครึ่งปีแรกผลงานเบี้ย ประกันภัย ของเราเติบโตเกินเป้า แม้ครึ่งปีหลังเศรษฐกิจจะชะลอตัว แต่ก็เชื่อว่าสิ้นปีจะสามารถทำผลงานได้ตามเป้า เบี้ย ประกันภัย รวม 15,300 ล้านบาท หรืออาจจะเกินเป้าไปถึง 16,000 ล้านบาทได้"

ที่มา : สยามธุรกิจ