ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

ประกันภัย ตรวจเข้มลูกค้าติดบัญชีดำ "ก่อการร้าย"

กฎหมายการฟอกเงิน สามารถตรวจสอบลูกค้าที่ทำ ประกันภัย ได้ปกติ แต่การสนับสนุนการเงินแก่การก่อการร้ายยุ่งยาก เร่งปปง.ออกคู่มือและรายชื่อ

ประกันภัย ตรวจเข้มลูกค้าติดบัญชีดำ "ก่อการร้าย"

มิถุนายน
21

หนึ่งในกฎหมายใหม่ที่ธุรกิจ ประกันภัย ต้องเจอในปีนี้ คือ กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอก เงิน และกฎหมายว่าด้วยการ ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ที่ตรวจเข้มมาถึงการทำธุรกรรมของบริษัท ประกันภัย กับบุคคล หรือนิติบุคคลที่ต้องสงสัย

ประกันภัย สกัดเข้มก่อการร้าย เร่งปปง.ออกคู่มือปฏิบัติรับเออีซี

ทั้งนี้ ในส่วนของการตรวจสอบลูกค้า ตามกฎกระทรวงว่าด้วยเรื่อง การตรวจสอบข้อเท็จจริงลูกค้า เริ่มใช้ไปเมื่อ 21 สิงหาคม 2555 ขณะที่กฎหมายว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงิน แก่การก่อการร้าย มีผลบังคับใช้เมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมา แต่จนถึงตอนนี้ยังไม่มีคู่มือ ที่ทาง ปปง.จะออกมาเป็นไกด์ไลน์การปฏิบัติตามระบบงาน ให้กับบริษัท ประกันภัย ดังนั้นสมาคมประกันชีวิตไทย จึงได้จัดสัมมนาเพื่อทำความเข้าใจกันอีกครั้ง ถึงแนวปฏิบัติในเรื่องนี้

รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานกฎหมายควบคุม การปฏิบัติตามกฎระเบียบและตรวจสอบภายใน สายงานความสัมพันธ์ภาครัฐ และฝ่ายพัฒนาธุรกิจใหม่ บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต ในฐานะกรรมการคณะอนุกรรมการกำกับธุรกิจ สมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า สิ่งที่ทุกบริษัทต้องการ คือ คู่มือปฏิบัติเพื่อให้สอดรับกับระบบงานของบริษัท โดย ปปง.คาดว่าน่าจะออกมาบังคับใช้สิ้นเดือนมิถุนายนนี้

อย่างไรก็ดี ในส่วนของการตรวจสอบลูกค้า เพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (CDD) ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ถือว่าธุรกิจประกันชีวิต สามารถตรวจสอบได้เป็นปกติไม่มีปัญหา เพราะขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ตรวจสอบเฉพาะลูกค้าที่ทำ ประกันภัย ชำระเบี้ย ประกันภัย ตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป ก็แจ้งไปยัง ปปง. และสามารถตรวจสอบย้อนหลัง เมื่อตอนจ่ายเคลมก็ได้ หากไม่ได้ตรวจสอบตั้งแต่ตอนแรก แต่ที่ยุ่งยาก คือ การตรวจสอบการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย เพราะต้องตรวจสอบทั้งลูกค้าที่มาทำ ประกันภัย กับบริษัท และคู่ค้า หรือองค์กรที่บริษัท ประกันภัย ทำธุรกรรมด้วย ไม่ว่าใครก็ตาม ตั้งแต่บาทแรกที่มีการทำธุรกรรมร่วมกัน จากเดิมตีความกันแค่ตรวจสอบลูกค้าเท่านั้น

"รายชื่อที่ ปปง.ประกาศเป็นผู้สนับสนุนการก่อการร้าย ยังมีไม่ถึง 100 ราย โดยจะทยอยออกรายชื่อมา เพราะเกรงบริษัท ประกันภัย จะตรวจสอบไม่ทัน แต่เมื่อใกล้เปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ซึ่งจะมีต่างชาติเข้ามาทำธุรกรรมจำนวนมาก โอกาสที่จะเจอบุคคล หรือองค์กรต้องสงสัยก็มีมาก ดังนั้นทางสมาคมฯ จึงเสนอให้ทาง ปปง.เร่งออกคู่มือปฏิบัติ และรายชื่อมาให้พร้อม เพราะต้องตรวจสอบกันตั้งแต่แรกที่มาติดต่อทำธุรกรรม"

ขอเว้นกธ.คุ้มครองตายอย่างเดียว ไม่เชื่อซื้อเพื่อฟอกเงิน ก่อการร้าย

นอกจากนี้ยังเสนอด้วยว่า หากเป็นกรมธรรม์ ประกันภัย ประเภทคุ้มครอง (Protection) ที่เน้นจ่ายเคลมเมื่อลูกค้าเสียชีวิตอย่างเดียว เพราะไม่น่าจะเป็นเหตุผลที่จะเป็นการฟอกเงิน หรือก่อการร้าย ทาง ปปง.ก็น่าจะยืดหยุ่นไม่ต้องตรวจสอบ ซึ่งจะลดภาระการตรวจสอบของบริษัทประกันชีวิตไปได้มาก

"เราไม่เชื่อว่าคนที่จะก่อการร้ายหรือฟอก เงิน จะมาซื้อกรมธรรม์ระยะยาว เช่น ตลอด ชีพเน้นเคลมเมื่อเสียชีวิตอย่างเดียว เพราะไม่เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อคนเหล่านี้ ซึ่งทางปปง. เองก่อนที่จะออกคู่มือมาก็จะถามความเห็นจากภาคธุรกิจก่อนว่าเหมาะสมหรือไม่ในทางปฏิบัติ โดยจะมีการนำร่างคู่มือมาหารือกันอีกครั้งทั้งประกันชีวิต และประกันวินาศภัย"

ตรวจทุกรายตั้งแต่รับ ประกันภัย จ่ายเคลม เช็กลูกค้า-คู่ค้าติดบัญชีดำ "ก่อการร้าย"

ด้านประกันวินาศภัย โดยกรรมการบริหาร สมาคมประกันวินาศภัยไทย ให้ความเห็นว่า กฎหมายการสนับสนุนการเงินแก่ก่อการร้าย เข้มงวดกว่ากฎหมายฟอกเงินมาก โดยกำหนดให้บริษั ทประกันภัย ต้องนำรายชื่อบุคคลภายนอกทุกราย ทั้งรายบุคคล และนิติบุคคล ที่มีการทำสัญญาด้วย ไปตรวจดูในฐานข้อมูลของ ปปง.ว่าอยู่ในบัญชีรายชื่อผู้ก่อการร้าย ที่ถูกประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาหรือไม่ หรืออยู่ในบัญชีรายชื่อ ที่องค์การนานาชาติหรือสหประชาชน (ยูเอ็น) ประกาศไว้หรือไม่

"กฎหมายเกี่ยวกับผู้ก่อการร้าย ครอบคลุมบุคคลทุกราย ที่ทำมาค้าขาย หรือทำสัญญากับบริษัท ประกันภัย ต้องเอาชื่อบุคคล หรือองค์กรเหล่านั้น ไปวนดูมีชื่ออยู่ในบัญชีผู้ก่อการร้าย หรือไม่ถ้ามีต้องระงับการทำธุรกรรม แต่หากวนดูแล้วไม่สามารถทำสัญญาได้ ซึ่งในขั้นตอนนี้ต้องดูไปถึงจำนวนธุรกรรมด้วย มีทุน ประกันภัย ขนาดใหญ่เกิน 700,000 บาทขึ้นไป หรือไม่ถ้าเกินต้องตรวจสอบตัวตนของลูกค้า และจัดลำดับชั้นความเสี่ยงลูกค้าด้วย"

อย่างไรก็ดี หากในอนาคตมีการเรียกร้องสินไหมทดแทนเกิดขึ้น บริษัท ประกันภัย ต้องนำรายชื่อผู้เรียกร้องดังกล่าว ไปวนดูในฐานข้อมูลผู้ก่อการร้ายอีกครั้ง หากอยู่ในบัญชีรายชื่อ ต้องระงับการจ่ายสินไหมทดแทนทันที ตั้งแต่บาทแรก เท่ากับต้องตรวจสอบ 2 ครั้ง เพราะกระบวนการประกาศรายชื่อผู้ก่อการร้าย มีขั้นตอนและใช้เวลาพอสมควร การตรวจสอบอาจจะหลุดในขั้นตอนการทำสัญญา หรือการรับ ประกันภัย ในตอนแรก แต่สามารถตรวจสอบอีกครั้ง ในขั้นตอนจ่ายสินไหมทดแทน เช่นเดียวกับการต่ออายุกรมธรรม์ ที่ต้องเอารายชื่อมาวนเพื่อตรวจสอบทุกครั้ง

"ตั้งแต่กฎหมายเริ่มบังคับใช้ ตั้งแต่กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หลายเดือนนี้ก็เจอบุคคลที่อยู่ในบัญชีต้องห้าม เป็นผู้ฟอกเงินและก่อการร้ายเป็นระยะ มีการระงับการทำธุรกรรม แต่ธุรกิจประกันวินาศภัยไม่น่าห่วง เพราะทุน ประกันภัย ไม่สูง โอกาสฟอกเงิน และเป็นแหล่งสนับสนุนเงิน แก่ผู้ก่อการร้ายมีน้อย ถ้าจะทำต้องมีทุน ประกันภัย ที่สูงมาก"

การปฏิบัติตามกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ทำให้ธุรกิจ ประกันภัย มีต้นทุนเพิ่มขึ้นมาก ทั้งการเพิ่มเครื่องมือในการตรวจสอบในระบบคอมพิวเตอร์ การเชื่อมโยงฐานข้อมูลกับทาง ปปง. ขั้นตอนการทำงานที่เพิ่มขึ้น ในทุกธุรกรรมที่ทำกับคู่สัญญา เพื่อตรวจสอบตัวตนของลูกค้า โดยต้นทุนในการดำเนินการประเมินเป็นตัวเลขยาก แต่แนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยต้นทุนที่แพงที่สุดในอนาคตคือ การเชื่อมต่อข้อมูลกับเกตเวย์ของ ปปง. หากทำเสร็จ จะทำให้กระบวนการตรวจสอบข้อมูล สะดวกรวดเร็วมากขึ้น

ที่มา : สยามธุรกิจ