ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

"ไมโครอินชัวรันส์" ขายสิงหา "หาบเร่-แผงลอย" มีลุ้น จ่ายเบี้ย ประกันภัย ปีละ 200

ดันกันเต็มที่กรมธรรม์ ประกันภัย เพื่อรายย่อย "ไมโครอินชัวรันส์" หวังประชาชนผู้มีรายได้น้อยได้มีหลัก ประกันภัย

"ไมโครอินชัวรันส์" ขายสิงหา "หาบเร่-แผงลอย" มีลุ้น! / จ่ายเบี้ย ประกันภัย ปีละ 200

มิถุนายน
18

โดยเลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) กล่าวว่า ปัจจุบันคนไทยมีการถือครองกรมธรรม์ 35.14% ของประชากรทั้งหมด 68 ล้านคน ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในหัวเมืองใหญ่ๆ ส่วนในภูมิภาคมีน้อยมาก เนื่องจากไม่มีผลิตภัณฑ์ที่สามารถเข้าถึงคนกลุ่มนี้ จึงเป็นที่มาของการจัดทำไมโครอินชัวรันส์ ที่มีรูปแบบเป็นกรมธรรม์ ประกันภัย ขนาดเล็ก เบี้ย ประกันภัยไม่แพง เงื่อนไขไม่ซับซ้อน หาซื้อได้ทั่วไป ให้ความคุ้มครองพื้นฐานทั้งการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ จากโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งจะมีระยะเวลารอคอย (waiting period) ช่วง หนึ่ง ก่อนกรมธรรม์คุ้มครองเหมือน ประกันภัย ทั่วไป การเสียชีวิตจากการขับขี่ซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ และค่าปลงศพ

เบี้ยไม่เกิน 300 ดึงแม่ค้า-แผงลอย ย้ำ "ไมโคร" ฉบับ คปภ.ต้องมีชื่อเฉพาะ

"ส่วนวงเงินคุ้มครองและเบี้ย ประกันภัย จะเป็นเท่าไหร่ ทาง คปภ.และภาคธุรกิจกำลังศึกษาอยู่ ที่คุยกันเบื้องต้น หากเสียชีวิตจากอุบัติเหตุวงเงิน 100,000 บาท ขับขี่รถจักรยานยนต์ 50% ของทุน ประกันภัย ค่าปลงศพ 10,000 บาท เบี้ย ประกันภัย ที่ดูไว้ 200-300 บาทต่อปี เป็นระดับที่ผู้มีรายได้น้อยพ่อค้า แม่ค้า หายเร่ แผงลอยจ่ายได้"

สำหรับช่องทางจำหน่าย จะเปิดให้กว้างที่สุด เพื่อให้ประชาชนหาซื้อได้ง่ายที่สุด เช่น ผ่านร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต เป็นต้น ไม่ต้องออกเป็นกรมธรรม์ ประกันภัย ออกแค่บัตรผู้เอา ประกันภัย เพื่อลดค่าใช้จ่ายของบริษัท ประกันภัย ต่ำสุด เพื่อให้ไมโครอินชัวรันส์อยู่ยั่งยืนในระยะยาว ไม่เหมือน ประกันภัย เอื้ออาทรในอดีตที่หยุดไป เพราะมีค่าใช้จ่ายสูง อัตราสินไหมทดแทนสูงกว่าเบี้ย ประกันภัย และขาดการประชาสัมพันธ์

ขณะเดียวกันกำลังพิจารณาเรื่องใบอนุญาตขายแบบ ประกันภัย ไมโครอินชัวรันส์ ผู้ขายยังต้องมีใบอนุญาตเป็นตัวแทน/นายหน้า เหมือนการขายแบบ ประกันภัย ทั่วไปหรือไม่ เพราะ ประกันภัย ไมโครเป็นสินค้าง่ายๆ ไม่จำเป็นต้องให้คำแนะนำกับลูกค้า และเป็นการขายในวงกว้าง แต่เบื้องต้นอยากให้คนขายมีใบอนุญาต เพราะระยะยาวลูกค้าไมโครอินชัวรันส์ จะเป็นฐานลูกค้าที่จะซื้อแบบ ประกันภัย อื่นๆ ของบริษัท ประกันภัย รวมถึงเมื่อเปิดเออีซี สามารถใช้ไมโครอินชัวรันส์ขยายไปยังประเทศต่างๆ ในเออีซีได้

"เพื่อให้เกิดความชัดเจน และให้กรมธรรม์ไมโครอินชัวรันส์ตัวนี้ แตกต่างจากสินค้าในตลาด จะกำหนดชื่อ เช่น กรมธรรม์ ก เพื่อให้รู้ว่ากรมธรรม์ชื่อนี้ จะมีความคุ้มครอง และเบี้ย ประกันภัย แบบนี้เท่านั้น และไม่ว่าอาชีพใดก็สามารถซื้อได้ แต่จะจำกัดจำนวนกรมธรรม์ ประกันภัย ต่อราย"

ชูเป็นสินค้านำร่องต่อยอดขายตัวอื่น หัวหอกขยายเออีซี/สิงหาคลอดแน่

กรมธรรม์ไมโครอินชัวรันส์ จะออกในเดือนสิงหาคม ซึ่งจะเป็นสินค้ากลาง ขายได้ทั้งบริษัทประกันชีวิต และบริษัทประกันวินาศภัย เป็นภาคสมัครใจแล้วแต่บริษัทไหนจะขาย ในวันเปิดตัวมี 10-20 บริษัทเข้าร่วมก็เพียงพอ โดย คปภ. และภาคธุรกิจจะร่วมกันรณรงค์ในวงกว้าง เพื่อประชาสัมพันธ์ให้คนทั่วไปรู้จัก ซึ่งเมื่อประชาชนเข้าใจ จะสามารถซื้อ ประกันภัย ไมโครอินชัวรันส์แบบอื่นๆ ที่วางขายอยู่ได้ โดยไมโครอินชัวรันส์เป็นสินค้านำร่อง เพื่อให้บริษัท ประกันภัย ต่อยอดไปยังสินค้าประเภทอื่นได้

ข่าวจากวงการประกันภัยกล่าวว่า ประกันภัย ไมโครอินชัวรันส์มีการเคาะเบี้ย ประกันภัย แล้วอยู่ที่ 200 บาท คุ้มครองตามวงเงินข้างต้นแต่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง

ค่าย ประกันภัย พร้อมขายทุกช่องทาง เบี้ยโตไม่หยุด 3 เดือน 1.5 แสนล้าน

ด้านความพร้อมของธุรกิจ ประกันภัย นายกสมาคมประกันชีวิตไทยให้ความเห็นว่า ปัจจุบันมีบริษัท ประกันชีวิตหลายแห่งออกแบบ ประกันภัย ไมโครอินชัวรันส์ มารองรับคนไทยในระดับฐานรากอยู่แล้ว และการเข้าถึงดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจประกันชีวิตเติบโต ทั้งการขายผ่านช่องทางตัวแทนกว่า 400,000 คนในระบบ และช่องทางขายอื่นๆ เช่น ขายตรง (ไดเรกต์) ก็มีส่วนช่วยในการขยายตลาดนี้

อย่างไรก็ดี ในฐานะกรรมการผู้จัดการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต ทางบริษัทมีความพร้อมในการขาย ทั้งผ่านตัวแทน และสาขาทั่วประเทศ รวมทั้งศูนย์บริการลูกค้าในห้างสรรพสินค้าต่างๆ ทั่วประเทศก็พร้อมขาย หากลูกค้าต้องการซื้อแบบ ประกันภัย นี้

กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทยประกันชีวิตกล่าวว่า การที่ คปภ.เข้ามาช่วยประชาสัมพันธ์ไมโครอินชัวรันส์จะทำให้เกิดการตื่นตัว เพราะต้องยอมรับ ประกันภัย ยังเข้าถึงชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มรากหญ้าได้ไม่มาก ขณะที่กลุ่มคนระดับบนจะเข้าใจเรื่อง ประกันภัย อยู่แล้ว จึงอยู่ที่ทำอย่างไรจะให้ ประกันภัย เข้าถึงกลุ่มรากหญ้า

"ทำอย่างไรจะกระตุ้นคนกลุ่มรากหญ้าเข้าถึง ประกันภัย อนาคตคนกลุ่มนี้จะปรับตัวเอง ขึ้นไปเป็นกลุ่มที่สูงขึ้น ทำให้มองเห็นความสำคัญของการ ประกันภัย และมองหามีภาระอะไรที่ต้องให้ ประกันภัย เข้ามาดูแล"

ทั้งนี้ ไทยประกันชีวิตมี 3 ช่องทางพร้อมขาย ทั้งตัวแทน ช่องทางไดเรกต์ และการขายผ่านศูนย์บริการลูกค้า (CSC) ที่มีอยู่ในห้างสรรพสินค้าต่างๆ มองอนาคตของคนกลุ่มนี้ที่จะยกระดับตัวเอง มาเป็นลูกค้าของบริษัทในอนาคต

ด้านกรรมการผู้จัดการ บมจ. ไทยพาณิชย์ประกันชีวิตกล่าวว่า ในฐานะที่เป็นบริษัทประกันชีวิตในระดับท็อปไฟว์ของธุรกิจ ก็ต้องให้ความร่วมมือในการขายไมโครอินชัวรันส์อยู่แล้ว ในทุกช่องทางจำหน่าย ทั้งตัวแทน และแบงก์แอสชัวรันส์ แต่คงเป็นในลักษณะหากลูกค้ามีความต้องการก็มีขายให้ คงไม่ได้ถึงขั้นสร้างทีมขายเฉพาะ

สำหรับในไตรมาสแรกธุรกิจ ประกันภัย มีเบี้ย ประกันภัย รับโดยตรงรวมทั้งสิ้น 159,339 ล้านบาท เติบโต 20.73% แบ่งเป็นเบี้ยประกันชีวิต 108,273 ล้านบาท ขยายตัว 20.73 และเบี้ยประกันวินาศภัย 51,066 ล้านบาท ขยายตัว 20.73%

ที่มา : สยามธุรกิจ