ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

กองทุนฯ เล็งลดเบี้ย ประกันภัย พ.ร.บ.บริหารน้ำ ตอกย้ำความเชื่อมั่น

กองทุนส่งเสริม ประกันภัย พิบัต ครบรอบ 1 ปี ลดเบี้ย ประกันภัย น้ำท่วมสำเร็จ จากแตะ 13% ลดลงใกล้ภาวะปกติที่ 1% ลดเบี้ย ประกันภัย น้ำท่วมได้อีก

กองทุนฯ เล็งลดเบี้ย ประกันภัย พ.ร.บ.บริหารน้ำ ตอกย้ำความเชื่อมั่น

เมษายน
17

ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริม ประกันภัย พิบัติ เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของกองทุนฯ ตลอดระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งกองทุนฯ ตามพระราชกำหนดกองทุนส่งเสริม ประกันภัย พิบัติ พ.ศ.2555 เมื่อวันที่ 28 มี.ค.2555 จนถึงวันที่ 21 มี.ค.2556 ภายหลังจากที่ประเทศไทยประสบภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ในช่วงปลายปี 2554 ถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว เพราะเบี้ย ประกันภัย น้ำท่วมที่เคยสูงลิ่ว 12-13% เริ่มปรับลดลงเข้าใกล้ภาวะปกติแล้ว

“ความเสียหายของบ้านเรือนประชาชน ตลอดจนโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) และโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่ตั้งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรม จากภัยน้ำท่วมเมื่อปลายปี 2554 คิดเป็นเม็ดเงินหลายแสนล้านบาท ทำให้รัฐบาลตัดสินใจตั้งกองทุนส่งเสริม ประกันภัย พิบัติ ในวงเงิน 50,000 ล้านบาท เพื่อลดความเสี่ยงภัยทางด้านเศรษฐกิจ ให้แก่ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไป”

โดยกองทุนฯ ได้กำหนดเบี้ย ประกันภัย อัตราเดียวทั่วประเทศ สำหรับแต่ละกลุ่มระหว่าง 0.50% จนถึง 1.25% ในลักษณะของกรรมธรรม์แบบจำกัดความรับผิด (Sublimit) โดยเริ่มต้นจาก
1. บ้านเรือนที่อยู่อาศัย จ่ายเบี้ย ประกันภัย 0.50% หรือ 500 บาทต่อปี จะได้รับความคุ้มครองไม่เกิน 100,000 บาท
2. เอสเอ็มอีที่มีทุน ประกันภัย ไม่เกิน 50 ล้านบาท จำกัดความรับผิดไม่เกิน 30% ของทุน ประกันภัย จ่ายเบี้ย ประกันภัย 1% หรือ 500,000 บาทต่อปี และ
3. ซึ่งเป็นกลุ่มสุดท้ายคือ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ จำกัดความรับผิดไม่เกิน 50% ของทุน ประกันภัย จ่ายเบี้ย ประกันภัย 1.25%

ผู้ที่ซื้อ ประกันภัย ดังกล่าวจะได้รับความคุ้มครอง 3 ภัยประกอบด้วย
ภัยน้ำท่วมกรณีที่ 1. น้ำท่วมพื้นอาคารจะได้รับความคุ้มครอง 30% ของวงเงินการจำกัดความรับผิด
ภัยน้ำท่วมกรณีที่ 2. ระดับน้ำสูง 50 ซม. จากพื้นอาคารจะได้รับความคุ้มครอง 50% ของวงเงินการจำกัดความรับผิด
ภัยน้ำท่วมกรณีที่ 3. ระดับน้ำสูง 75 ซม. จากพื้นอาคารได้รับความคุ้มครอง 75% ของวงเงินการจำกัดความรับผิด และ
ภัยน้ำท่วมกรณีที่ 4. ระดับน้ำสูง 100 ซม. จากพื้นอาคารจะได้รับความคุ้มครองเต็มวงเงินคือ ไม่เกิน 100,000 บาท ส่วน 2 ภัยที่เหลือคือ ภัยจากแผ่นดินไหวต้องมีความรุนแรงตั้งแต่ 7 ริกเตอร์ขึ้นไป และภัยจากลมพายุ ต้องมีความเร็วลมตั้งแต่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป

“จากที่รัฐบาลจัดตั้งกองทุนฯ ทำให้เบี้ย ประกันภัย ที่ปรับตัวสูงขึ้นแตะ 12–13% ของทุน ประกันภัย ขณะนี้ลดลงมาอยู่ที่ 2–3% แสดงให้เห็นว่า นักลงทุนต่างชาติโดยเฉพาะบริษัทรับ ประกันภัย ต่อจากต่างประเทศ หรือ Reinsurer เริ่มกลับเข้ามารับ ประกันภัย น้ำท่วมอีกครั้ง ด้วยการเสนอเบี้ย ประกันภัย ที่ถูกลง”

การฟื้นความเชื่อมั่นให้นักลงทุนต่างชาติกลับคืนไม่ใช่เรื่องง่าย หรือทำแบบเล่นๆ การมีกองทุนฯ ไม่ได้เป็นสิ่งที่ยืนยันว่าน้ำจะไม่ท่วมอีก แต่การรัฐบาลผลักดัน พ.ร.บ. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศวงเงิน 350,000 ล้านบาท เท่ากับเป็นการตอกย้ำให้นักลงทุนต่างชาติ รับทราบข้อมูลอย่างชัดเจนว่า รัฐบาลเอาจริงเอาจังกับเรื่องดังกล่าว เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมแบบซ้ำซาก

“ผลพวงจากการจัดตั้งกองทุนฯ ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา มีจำนวนกรมธรรม์ ประกันภัย พิบัติที่ยังมีความคุ้มครองอยู่ 808,119 ฉบับ เบี้ย ประกันภัย 558 ล้านบาท ทุน ประกันภัย พิบัติ 75,926 ล้านบาท โดยเป็นทุน ประกันภัย ต่อ 52,123 ล้านบาท และเบี้ย ประกันภัย ต่อ 420 ล้านบาท โดยไม่มีการเรียกร้องสินไหมทดแทนแม้แต่บาทเดียว

เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) ในฐานะกรรมการบริหารกองทุนฯ (บอร์ด) กล่าวว่า สิ่งที่บอร์ดกำลังพิจารณาต่อไปในอนาคตคือ ความพยายามที่จะลดเบี้ย ประกันภัย ของกองทุนฯ ให้ลดลงต่ำกว่าในปัจจุบัน เพราะภาระเบี้ย ประกันภัย ที่ระดับ 2-3% ถือเป็นต้นทุนที่สูงเกินไปสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และผู้ประกอบการรายใหญ่ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัย 5 จังหวัดได้ พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม และกรุงเทพฯ ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ถือเป็นหัวใจของระบบเศรษฐกิจไทย เพราะมีทั้งบ้านเรือนประชาชนและโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่จำนวนมาก

“บอร์ดเดินทางไปศึกษาดูงานต่างประเทศ ทั้งสหรัฐฯ อังกฤษ ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านเช่น เวียดนาม มาเลเซีย และสิงคโปร์ พบว่า เบี้ย ประกันภัย พิบัติเฉลี่ยอยู่ที่ 1% แต่ของประเทศไทยเฉพาะ 5 จังหวัดที่เป็นพื้นที่เสี่ยงภัย เบี้ย ประกันภัย ที่ 2–3% ยังถือว่าสูงเกินไป จึงจำเป็นต้องเร่งสร้างความมั่นใจ ให้บริษัท ประกันภัย ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รวมถึงบริษัทรับ ประกันภัย ต่อจากต่างประเทศ ลดเบี้ย ประกันภัย ลง”

การลดเบี้ย ประกันภัย ลง ถือเป็นภารกิจที่สำคัญของกองทุนฯ ต่อไปในอนาคต เพราะในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ถือว่ากองทุนฯ ประสบความสำเร็จแล้วในระดับหนึ่ง เนื่องจากก่อนหน้าที่ประเทศไทยจะประสบกับภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ ค่าเบี้ย ประกันภัย น้ำท่วมถูกมากๆ เพียง 0.01% หรือเรียกภาษาชาวบ้านว่า บริษัท ประกันภัย แถมให้ฟรีๆ เพราะเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่เมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว ทุกคนก็ตื่นตระหนก ไม่ใช่เฉพาะแค่นักลงทุนชาวต่างชาติเท่านั้น แต่คนไทยเองก็ไม่พบเห็นเหตุการณ์แบบนี้มาก่อน

“จากภาวะที่ทุกอย่างเป็นปกติ ก็เปลี่ยนเป็นไม่ปกติ หลังเหตุการณ์น้ำท่วมเบี้ย ประกันภัย พุ่งขึ้นเป็น 12-13% หมายความว่า บริษัท ประกันภัย ทั่วโลกปฏิเสธที่จะรับ ประกันภัย น้ำท่วมจากไทย ความเสี่ยงทั้งหมดก็ต้องตกอยู่กับผู้ประกอบการภาคเอกชน โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มูลค่าหลายพันล้าน หรือนับหมื่นล้านบาท หากเกิดน้ำท่วมขึ้นมาอีกครั้ง ผลที่เกิดขึ้นคือ การขาดทุน การปิดโรงงาน และการย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศไทย”

ดังนั้น การมีกองทุนฯ เพื่อเข้ามาทำหน้าที่ การันตีว่าหากมีภัยความเสียหายจากน้ำท่วมเกิดขึ้นอีก จะมีคนเข้ามารับความเสี่ยงแทนบริษัท ประกันภัย ซึ่งถือว่าเราทำสำเร็จแล้ว แต่ขั้นต่อไปคือ การทำให้เบี้ย ประกันภัย กลับคืนสู่ภาวะปกตินั้น อาจยังต้องใช้เวลา 2-3 ปี ภายหลังจากที่ประเทศไทยมีระบบบริหาร และจัดการน้ำอย่างเหมาะสม

ที่มา : ไทยรัฐ