ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

TDRI ชงรัฐบังคับ 'รถตู้-โดยสาร' ทำประกันภัยรถยนต์

เสนอรัฐล้อมคอก ประกันภัยรถยนต์ เพิ่มเพดานค่าเสียหายผู้ประสบภัยเป็น 5 แสนบาท แก้กฎฟ้องเอาผิดผู้ถือใบอนุญาตรถโดยสาร

TDRI ชงรัฐบังคับ 'รถตู้-โดยสาร' ทำประกันภัยรถยนต์

เมษายน
16

หลังผลศึกษาฯ "อุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะ กับผลกระทบการ ประกันภัยรถยนต์ และการชดเชยเยียวยาผู้ได้รับความเสียหาย" ระบุรถตู้พรากชีวิต 30% ด้านคปภ. แบ่งรับแบ่งสู้ กรณีเพิ่มวงเงินคุ้มครอง อ้างกระทบเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ เพิ่มแน่

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ร่วมกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) และบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) สรุปผลศึกษา "โครงการอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะ กับผลกระทบการ ประกันภัยรถยนต์ และการชดเชยเยียวยาผู้ได้รับความเสียหาย" จากการเก็บข้อมูลด้านอุบัติเหตุจากรถโดยสารสาธารณะ และข้อมูลการร้องเรียนจากผู้บริโภคจำนวน 252 ตัวอย่างพบว่า ได้รับเงินชดเชยจากค่ารักษาพยาบาล รวมกับค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้องจากศาล โดยข้อมูลของ มพบ. ระบุว่า ผู้เสียหายจะได้รับอยู่ที่ 145,697 บาท ส่วนข้อมูลของบขส. ผู้เสียหายได้รับเฉลี่ย 106,886 บาท นำเข้าสู่กระบวนการศาลเพียง 4-5% เพราะส่วนใหญ่เฉลี่ยถึง 95% ที่เจรจาสำเร็จในชั้นไกล่เกลี่ย ขณะที่ตั้งแต่ปี 2535 ที่ผ่านมา การจ่ายค่าเสียหายแก่ผู้ประสบภัยอยู่ที่ 5 หมื่นบาท โดยปรับเป็น 1 แสนบาทปี 2551 และปี 2552 เพิ่มเป็น 2 แสนบาทนั้น

นักวิชาการ ทีดีอาร์ไอ กล่าวในฐานะนักวิจัยโครงการนี้ว่า แม้จะทยอยปรับเพิ่มค่าเสียหายแก่ผู้ประสบภัยดังกล่าว แต่ยังไม่เพียงพอกับความคุ้มครองเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้น เฉลี่ยปีละ 10% รวมถึงอัตราเงินเฟ้อ เบื้องต้นจึงอยากให้ขยายวงเงินขึ้นจาก 2 แสนบาท เป็น 5 แสนบาท โดยแบ่งเป็นค่ารักษาพยาบาลจ่ายจริงแต่ไม่เกิน 1.5 แสนบาท , ค่าชดเชยกรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพหรือสูญเสียอวัยวะอีก 4 แสนบาท หากมีผลต่อการดำรงชีวิตจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น 2.4 แสนบาท โดยหลังจากนี้สถาบันทีดีอาร์ไอ มีแผนที่จะเสนอผลการวิจัยไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) และสมาคมประกันวินาศภัย เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อศึกษาอัตราเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับให้สอดคล้องและเหมาะสม หากมีการปรับเพิ่มความคุ้มครองจริง

ขณะเดียวกันความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน กรณีรถร่วมให้บริการที่เป็นรถตู้โดยสาร เมื่อเทียบความเสียหายกับรถขนาดใหญ่ เช่น ผู้โดยสาร 15 ที่นั่ง เมื่อเกิดอุบัติเหตุจะมีผู้เสียชีวิต 4-5 ราย หรือคิดเป็น 30% ขณะที่รถขนาดใหญ่ 30 ที่นั่ง จะมีผู้เสียชีวิตเพียง 4-5 ราย คิดเป็น 10-20% นั้น ภาครัฐต้องเร่งเข้ามาตรวจสอบความพร้อม เข้มงวดกับรถตู้โดยสารมากขึ้น เนื่องปัจจุบันจากมี รถตู้ (ป้ายเหลือง) วิ่งให้บริการทั่วประเทศ 1.8 หมื่นคัน จดทะเบียนถูกต้องเป็นรถร่วม ขสมก. 4 พันกว่าคัน, รถร่วม บขส. อีก 6 พันคัน ที่เหลือเป็นรถเอกชน ซึ่งยังไม่รวมรถตู้ผี (ป้ายฟ้า) เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้ว มักเรียกร้องค่าเสียหายได้ยาก

ดังนั้นแนวทางที่จะเสนอควบคู่กัน คือ บังคับให้รถตู้ทำ ประกันภัยรถยนต์ ภาคสมัครใจ พร้อมเร่งแก้กฎให้สามารถฟ้องร้องเอาผิดผู้ถือใบอนุญาตได้ (เจ้าของใบอนุญาต) เนื่องจากที่ผ่านมาเมื่อเกิดอุบัติเหตุ สังคมจะมองไปที่คนขับเพียงฝ่ายเดียว

สอดคล้องกับนักวิชาการเกียรติคุณ ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ปัญหาของ พ.ร.บ. คือ คิดเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ ตามความเสี่ยงของรถยนต์ ดังนั้นควรหันมาคิดแบบสะท้อนความจริงให้มากขึ้นตามสถิติการเกิดอุบัติเหตุ นอกจากนี้ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับยังทำได้ไม่เต็มที่ โดยเฉพาะกรมการขนส่งทางบก ทำได้เพียงเพิกถอนใบอนุญาต เหมือนมีไม้ตะพดด้ามเดียว

ส่วนข้อเสนอการปรับเพิ่มความคุ้มครอง ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ จาก 2 แสนบาท เป็น 5 แสนบาทนั้น ย่อมมีผลต่อเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ หากท้ายสุดมีการผลักดันอัตราเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ จาก 600 กว่าบาท อาจเพิ่มขึ้นเป็น 1,000 กว่าบาท เพราะทุน ประกันภัยรถยนต์ ผูกติดกับเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ ซึ่งขึ้นอยู่ที่ผู้จ่ายจะยินยอมหรือไม่ เพราะการปรับขึ้นเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ แน่นอนว่าจะต้องกระทบประชาชนวงกว้างอย่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมถึงฐานผู้ซื้อ ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับหลายล้านรายอีกด้วย

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ