ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

ไทยรีฯ ยันจ่าย ประกันภัย ช้าแต่ชัวร์

บริษัทขายหุ้นเพิ่มทุนแก่ผู้ถือหุ้นมูลค่า 7 พันล้านบาท อัตราส่วนเงินกองทุน ประกันภัย อยู่ที่ 180% เงินสำรองจ่ายสินไหมกว่า 7 พันล้านบาท

ไทยรีฯ ยันจ่าย ประกันภัย ช้าแต่ชัวร์

มีนาคม
29

วิกฤติน้ำท่วมปลายปี 2554 ยังคงส่งผลต่อเนื่องแม้เวลาจะผ่านมาเกือบ 2 ปี ด้วยตัวเลขความเสียหายเชิง ประกันภัย ที่ถูกระบุให้สูงกว่า 4.5 แสนล้านบาท หนึ่งในบริษัท ประกันภัย ที่ถูกจับตามองมากที่สุด เห็นจะหนีไม่พ้น บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน) หรือ ไทยรี

จากข้อมูลล่าสุด ตัวเลขการจ่ายสินไหมมหาอุทกภัย ทั้งจากบริษัท ประกันภัย ภายในประเทศ ที่มีลักษณะรับ ประกันภัย ต่อกันเป็นทอดๆ ตลอดจนการเรียกคืนสินไหมจากบริษัทต่างชาติ หรือ รี อินชัวเรอร์ ในเดือนกุมภาพันธ์ คืบหน้าไปแล้วเกือบ 67% จากมูลค่าความเสียหายที่มีผู้เอา ประกันภัย เรียกร้อง 4.08 แสนล้านบาท ได้รับการชดใช้แล้ว 3.35 แสนล้านบาท คงเหลือสินไหมคงค้างรอจ่ายราว 7.5 หมื่นล้านบาท และคาดว่าการจ่ายสินไหม 75% จะเสร็จสิ้นในครึ่งปีแรก

จากข้อมูลดังกล่าว ได้รับการยืนยันจากประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน) หรือ ไทยรี ที่ถือเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญในวงการประกันวินาศภัยไทย โดยยอมรับว่าสถานการณ์การจ่ายสินไหมอาจช้า หรือลากยาวไปไม่ต่ำกว่า 1-2 ปี ตอนนี้บริษัทรับ ประกันภัย ต่อ (รี อินชัวเรอร์) ในต่างประเทศตื่นตัวอย่างมาก หลังจากได้ทยอยจ่ายสินไหมเข้ามาต่อเนื่อง ซึ่งได้รับการยืนยันเพิ่มเติมว่า แต่ละบริษัทได้ตั้งทีมสำรวจภัย เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของแต่ละเคลม โดยกระบวนการหลังจากนี้ทีมสำรวจภัยแต่ละบริษัทจะตรวจสอบภัยอย่างจริงจัง ซึ่งแน่นอนย่อมส่งผลโดยตรงต่อตัวเลขสินไหมที่ไม่น่าจะถึง 3.5 แสนล้านบาท

อย่างไรก็ตาม อัตราสินไหมที่ลดลงนี้ จะเป็นการสร้างบรรทัดฐานในการจ่าย และการสำรวจภัยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล แม้ที่ผ่านมามีหลายบริษัทจะสำรองจ่ายไปก่อน ซึ่งอาจมีผลกระทบ แต่เชื่อว่าแต่ละบริษัทจะสามารถบริหารได้

สำหรับบริษัทเองนั้น มีการรับเสี่ยงภัยไว้เองที่ 9.2 พันล้านบาท และคาดว่าจะจ่ายเสร็จสิ้นราวปลายปี 2556-57 โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุน เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้ขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม (Rights offering) และนักลงทุนแบบเฉพาะเจาะจง (Private Placement) มูลค่า 7 พันล้านบาท ส่งผลให้บริษัทมีความมั่นคงทางการเงิน ตามอัตราส่วนต่อเงินกองทุนที่ต้องสำรองตามกฎหมาย หรือ Risk based capital (RBC) ล่าสุดอยู่ที่ 180% สูงกว่าค่ามาตรฐานที่ 140% และมีเงินสำรองการจ่ายสินไหมกว่า 7 พันล้านบาท มาจากการเพิ่มทุนหลัง พร้อมยืนยันว่าภายใน 2 ปีจากนี้จะไม่มีการตั้งสำรองเพิ่มแต่อย่างใด

ยืนยันเพื่อสร้างความมั่นใจ โดยระบุว่า ในส่วนของบริษัทเอง ได้ทำการจ่ายเคลมออกไปตามปกติ แต่ที่จ่ายล่าช้าเนื่องจากสัญญายังไม่ชัดเจน ซึ่งบางฉบับไม่มีการระบุว่า เกิดความเสียหายด้านไหนอย่างไร โดยปัจจัยเหล่านี้ทำให้บริษัทไม่สามารถจ่ายเคลมได้ เนื่องจากต้องรายงานแก่ผู้ตรวจสอบบัญชี ผู้ถือหุ้น หากจ่ายสินไหมโดยไม่ตรวจสอบ จะส่งผลต่อสถานะบริษัท เนื่องจากบริษัทอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ดังนั้นข้อมูลต้องถูกต้องโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ ส่วนการจ่ายสินไหม คาดว่าจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1-2 ปี ถึงจะทยอยจ่ายสินไหมได้หมด 100% แม้ล่าสุดจะจ่ายคืบหน้าแล้ว 70%

ทางด้านการเติบโตของบริษัทนั้น เล่าถึงการปรับแผนการตลาดและกลยุทธ์ ซึ่งจะใช้เดินหน้าทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อควบคุมความเสี่ยงจากการรับ ประกันภัย โดยเฉพาะการปรับลดสัดส่วนฐานลูกค้า เพื่อให้มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ 12- 13% คิดเป็นเบี้ย ประกันภัย รับ 6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 500 ล้านบาท โดยปีนี้จะเน้นตลาดลูกค้ารายย่อยเป็นหลัก โดยเน้นหนักไปที่การลดสัดส่วนการรับ ประกันภัย ที่เกี่ยวกับน้ำท่วม ไม่ว่าจะเป็นบ้านและที่อยู่อาศัย โดยหันไปรับ ประกันภัย สำหรับลูกค้ารายย่อยแทน ไม่ว่าจะเป็นกรมธรรม์ ประกันภัย อุบัติเหตุส่วนบุคคล หรือพีเอ ประกันสุขภาพ เป็นต้น

"การปรับสัดส่วนลูกค้าหลักๆ มาจากการได้รับบทเรียนจากเหตุการณ์มหาอุทกภัย ซึ่งแม้เหตุการณ์จะผ่านไปกว่า 2 ปี แต่ยังส่งผลกระทบต่อบริษัทต่อเนื่อง เห็นได้จากการปรับลดลูกค้าลงในกลุ่ม ประกันภัย บ้านและที่อยู่อาศัย ที่เน้น ประกันภัย น้ำท่วม ให้มีสัดส่วนไม่เกิน 5% โดยหันไปเน้นรับ ประกันภัย กลุ่มที่ทำกำไรแทน เนื่องจากไม่มีประโยชน์ที่จะนำความสามารถในการรับเสี่ยงภัย ไปรองรับภัยที่มีความเสี่ยงสูงยิ่งทำก็มีแต่ขาดทุน ส่งผลให้ปัจจุบันบริษัทมีลูกค้ารายย่อยประมาณ 70% และอีก 30% จากลูกค้าองค์กร เป็นต้น"

ที่มา : สยามธุรกิจ