ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

ประกันภัย จุก CAR ratio ปี 55 ต่ำเกณฑ์เพียบ

ปัญหาการเรียกสินไหมคืนจาก ประกันภัย คู่ค้าลากยาวข้ามปี กระทบค่าความเสี่ยงด้านเครดิตจากการ ประกันภัย

ประกันภัย จุก CAR ratio ปี 55 ต่ำเกณฑ์เพียบ

กุมภาพันธ์
2

ผลพวงจากยอดตัวเลขการจ่ายค่าสินไหม น้ำท่วม รวมกันทั้งระบบกว่า 4.8 แสนล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้ยังเป็นยอดค้างจ่ายสำหรับลูกค้ารายใหญ่กว่าครึ่ง จากสัดส่วนยอดเดิมที่เป็นกลุ่ม ประกันภัย ญี่ปุ่น และยุโรป รับไว้เป็นหลัก คิดเป็นมูลค่าคงค้างเกือบ 2 แสนล้านบาท ที่ยังอยู่ในกระบวนการค้างจ่ายที่ยังเป็นปัญหาอยู่ ซึ่งคาดการณ์ว่าน่าจะลากยาวต่อเนื่องตลอดปี 2556 นี้

ปัญหาที่ทำให้ต้องลากยาวข้ามปี เกิดจากการเรียกสินไหมคืนจาก ประกันภัย คู่ค้าด้วยกันไม่ได้ ทั้งบริษัท ประกันภัย ในประเทศ และบริษัท ประกันภัย ต่อในต่างประเทศ (รีอินชัวเรอร์) ด้วยเหตุผลข้ออ้างสารพัด เช่นระบบการตรวจสอบเอกสาร การสำรวจภัยที่ยังไม่สรุป รายละเอียดเครื่องจักรสินค้า ยอดขาย เงื่อนไขกรมธรรม์ที่ซับซ้อน เอกสารของลูกค้า และบริษัท ประกันภัย ไม่ตรงกัน หรือหาต้นขั้วเอกสารไม่พบ เป็นต้น เหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาจุกจิก แต่สามารถทำให้เกิดผลกระทบทางธุรกิจไม่น้อย เพราะในที่สุดแล้ว กระบวนการยุ่งยากของการเคลมสินไหมจาก ประกันภัย ธุรกิจหยุดชะงัก ต้องสะดุดตามไปด้วย

ขณะที่เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) จะปรับเกณฑ์มาตรฐานการดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง (RBC) ให้ขยับขึ้นมาเป็นระดับ 140% จากเดิมผ่อนผันให้ลดเหลือ 125% ในช่วงหลังน้ำท่วมเป็นเวลานานนับปี เพื่อให้ภาคธุรกิจ ประกันภัย สะท้อนความแข็งแกร่งทางฐานะการเงินอย่างแท้จริง เพราะในขณะที่ธุรกิจต้องจ่ายสินไหม แต่ความมั่นคงทางการเงินจะต้องไม่สะดุด หรือกระทบตามไปด้วย ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของธุรกิจ โดยจะเห็นได้ว่าตลอดช่วงปี 2555 บริษัท ประกันภัย หลายแห่งทั้งใน และนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องเร่งเพิ่มทุนกันจ้าละหวั่น แถมปีนี้ยังจะมีอีกหลายรายจ่อเพิ่มทุน ท่ามกลางสินไหมน้ำท่วมที่ยังเคลียร์ไม่จบ

คปภ. และคณะทำงานร่วมของสมาคมประกันวินาศภัยไทย ได้กำหนดอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน (CAR Adequacy Ratio : CAR) ซึ่งเป็นค่าความเสี่ยงด้านเครดิตจากการ ประกันภัย ต่อ กรณีผู้รับ ประกันภัย ต่อที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ ประกันภัย ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันภัย โดยกำหนดค่าความเสี่ยงออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้

  1. ตั้งแต่ 300% ขึ้นไป ค่าความเสี่ยงเท่ากับ 1.6%
  2. ตั้งแต่ 200 แต่ไม่ถึง 300% ค่าความเสี่ยงเท่ากับ 2.8%
  3. ตั้งแต่ 150 แต่ไม่ถึง 200% ค่าความเสี่ยงเท่ากับ 4%
  4. น้อยกว่า 150% ค่าความเสี่ยงเท่ากับ 8%

ค่าความเสี่ยงเหล่านี้ จะสะท้อนอย่างมีนัยว่า บริษัท ประกันภัย ที่มีภาระจ่ายสินไหมน้ำท่วมจำนวนมาก ทั้งที่ได้จ่ายไปแล้ว และยังอยู่ระหว่างรอจ่าย อาจมีผลให้ตัวเลขการประเมินค่าความเสี่ยงเปลี่ยนแปลงไป ขึ้นอยู่กับพอร์ตโฟลิโอที่มีอยู่ในแต่ละบริษัท ลักษณะโครงสร้างของการทำธุรกิจ ความเสี่ยงจากการรับ ประกันภัย และความเพียงพอของเงินกองทุน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก เมื่อเกิดภัยใหญ่ขึ้นมาโดยคาดไม่ถึง

อัตรา CAR ratio ที่ระดับ 1.6% ถือว่ามีความปลอดภัย แข็งแกร่งทางการเงินค่อนข้างสูงสุด โดย ณ 30 ก.ย.2555 มีบริษัท ประกันภัย 29 แห่งที่อยู่ในเกณฑ์นี้ แต่เนื่องจากต้องรอข้อมูลทางการเงินเต็มปี หรือนำไตรมาส 4 เข้ามาคิดด้วย ในจำนวน 29 แห่งนี้ อาจจะมีการปรับเปลี่ยนเกณฑ์ไปเป็นระดับอื่นที่ต่ำลงมาอีก

ขณะที่ระดับ 8% นั้น ถือว่าค่อนข้างอันตราย ล่อแหลมต่อการต้องรีบเร่งแก้ไขสถานะการเงิน แต่ระดับ 4% แม้จะดีกว่าระดับ 8% เล็กน้อย แต่ก็ยังวางใจไม่ได้มาก เพราะข้อมูลทางการเงินทั้งปียังไม่สรุป หรือยังไม่ออดิเตอร์เบ็ดเสร็จ ยังมีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้

สำหรับกลุ่มที่ระบุ N.A. (Not Available) หมายถึงไม่มีข้อมูลปรากฎให้เห็นนั้น มองได้หลายแง่มุม เช่น ข้อมูลการเงินไม่พร้อม หรือยังไม่สรุปตัวเลข แม้กระทั่งสรุปแล้ว แต่ตัวเลขแย่มาก ทำให้ไม่ต้องการเปิดเผยข้อมูลออกมา กรณีนี้ถ้า คปภ.ตรวจสอบลงลึกในรายละเอียดเพิ่มเติมอย่างจริงจังแล้ว พบความผิดปกติจริง คปภ. อาจจะพิจารณาสั่งให้งดรับ ประกันภัย ได้ เพื่อให้เกิดการแก้ไขข้อมูล ให้เป็นไปตามข้อเท็จจริง

อย่างไรก็ดี ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการทดสอบจากฐานข้อมูลที่มีอยู่ ซึ่งแต่ละแห่งต้องรายงาน คปภ. แต่ตัวเลขอาจปรับเปลี่ยนปรับเพิ่ม หรือปรับลดก็ได้ ขึ้นอยู่กับผลดำเนินงานประจำปีที่ได้รับการสอบทาน และรับรองทางบัญชีแล้ว

แต่ที่แน่ๆ เมื่อข้อมูลการเงินพื้นฐานโชว์สถานะเบื้องต้นออกมาแบบนี้ อย่างน้อยย่อมทำให้บริษัท ประกันภัย แต่ละแห่งได้ตระหนักว่า พื้นฐานไส้ใน ความมั่นคงแข็งแกร่งทางการเงินของบริษัทมีมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะฐานเงินสำรองกองทุนมีเพียงพอ หรือถ้าไม่เพียงพอ สามารถจัดหา เพื่อแก้ไขฐานะได้ทันท่วงที

เมื่อนั้น ประชาชนที่เป็นผู้เอา ประกันภัย จะได้รับรู้เบื้องต้นว่า บริษัทใดที่ได้ซื้อ ประกันภัย หรือเอา ประกันภัย ไว้ จะวางใจได้มาก พอเมื่อเกิดเหตุไม่คาดคิดที่จะต้องเคลมสินไหมได้อย่างครบถ้วน รวมทั้งเป็นการส่องกล้องมองสถานะของบริษัทที่อ่อนแอได้อย่างชัดเจน ปัญหาบริษัท ประกันภัย อ่อนแอ จะได้ไม่เกิดขึ้นซ้ำซากเหมือนที่ผ่านมา

ที่มา : DBBnews