ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

มั่นใจกำแพงกั้นน้ำ 7 นิคมฯเอาอยู่ คาดประกันภัยต่อลดเบี้ย 10%

มั่นใจกำแพงป้องกันน้ำนิคมอุตสาหกรรม เรียกความเชื่อมั่นยักษ์ประกันภัยต่อโลก กดเบี้ยประกันภัยน้ำท่วม 3 ยักษ์ญี่ปุ่นอ้าแขนรับประกันภัยต่อ

มั่นใจกำแพงกั้นน้ำ 7 นิคมฯเอาอยู่ คาดประกันภัยต่อลดเบี้ย 10%

ตุลาคม
8

สมาคมประกันวินาศภัยได้พาบริษัทประกันภัยลงพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมนวนคร เพื่อรับฟังแนวทางการเตรียมความพร้อมและป้องกันภัยน้ำท่วม โดยผู้จัดการฝ่ายขายบริษัท นวนคร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทางบริษัทฯ ให้บริษัทอิตาเลี่ยนไทย ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้สร้างแนวกันน้ำ โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างแนวกันน้ำ 2 ใน 3 ส่วนของงบประมาณ

แนวกันน้ำดังกล่าวได้เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คาดว่าต้นเดือนตุลาคมนี้จะแล้วเสร็จ โดยสร้างเป็นกำแพงคอนกรีตสูง 5.50 เมตรจากพื้นดิน และส่วนที่ปักลงใต้พื้นดินอีกนับ 10 เมตร ส่วนความหนาของคอนกรีตคือ 1 เมตร มีความยาวทั้งหมด 20.49 กิโลเมตร เพื่อปิดกั้นพื้นที่ของนิคมฯ ทั้งหมด 6,500 ไร่ อีกทั้งยังมีการสร้างคันดินเสริมเข้าไปอีกชั้นหนึ่ง โดยจะให้มีการปลูกหญ้าแฝกเพื่อเป็นการรักษาหน้าดินไม่ให้ไหลตัว โดยบริษัทฯ ได้ขอความร่วมมือไปยังโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ มาร่วมกันปลูกหญ้าแฝกหลังจากที่การก่อสร้างแล้วเสร็จ

นอกจากนี้ ยังได้มีการติดตั้งเครื่องระบายน้ำและระบบระบายน้ำภายในพื้นที่นิคมฯ กรณีน้ำที่ท่วมจากภายในพื้นที่ โดยมีงบประมาณเฉพาะส่วนนี้ประมาณ 400 ล้านบาท ขณะเดียวกันได้สร้างทางยกระดับจากในนิคมออกสู่ด้านนอก กรณีที่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมขึ้นมา เพื่อไม่ให้ระบบโลจิสติกหยุดชะงักเหมือนที่ผ่านมา ซึ่งนอกเหนือจากแนวกำแพงกั้นน้ำแล้ว ในแต่ละโรงงานเองได้มีการสร้างกำแพงล้อมรอบโรงงานของตัวเองไว้อีกชั้นหนึ่งด้วย

กล่าวว่า ความคงทนและความสามารถรองรับมวลน้ำนั้น คาดว่าจะใช้งานได้เป็น 50 ปี โดยทางนิคมฯ ยังได้เตรียมพื้นที่สำหรับรองรับน้ำไว้ 300 ไร่อีกด้วย ซึ่งจากแนวทางการรับมือน้ำท่วมดังกล่าว ทำให้ผู้ประกอบการมีความมั่นใจและสบายใจมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีพนักงานที่ทำงานในนิคมอุตสาหกรรมกว่า 120,000 คน และจากน้ำท่วมปีที่ผ่านมา มีโรงงานในกลุ่ม SME ย้ายฐานการผลิตออกไปประมาณ 12% แต่ก็มีกลุ่มโรงงานขนาดใหญ่จากนิคมฯ อื่นย้ายเข้ามาหลายแห่งเช่นกัน

ด้านประธานคณะกรรมการประกันภัยทรัพย์สิน สมาคมประกันวินาศภัย กล่าวว่า การมารับฟังแผนการป้องกันน้ำของกลุ่มนิคมฯ ต่างๆ เพื่อให้บริษัทประกันภัยนำข้อมูลไปใช้ประกอบการซื้อประกันภัยต่อสำหรับปี 2556 ที่จะเรี่มประมาณปลายเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งจากแผนการและแนวทางการป้องกันการเกิดน้ำท่วมของนิคมฯ ต่างๆ ที่ได้เข้าไปดูมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นนวนคร,บางกระดี,โรจนะและบ้านหว้า (ไฮเทค) ทำให้บริษัทประกันภัยต่อรายใหญ่ของโลกอย่าง มิวนิครี และสวิส รี มีความมั่นใจเรื่องความปลอดภัย และหากเกิดความเสียหายจากน้ำท่วม คาดว่าจะไม่สูงเท่ากับปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตามคาดว่า สถานการณ์การรับประกันภัยต่อปีนี้น่าจะดีขึ้น แต่ก็ต้องลุ้นกันว่า หากน้ำไม่ท่วมในเดือนตุลาคมนี้ จะส่งผลให้เบี้ยประกันภัยต่อลดลงมาก น่าจะลดลงมากถึง 10% แต่อย่างไรก็ดียังมีความกังวลเรื่องฝนที่ตกหนักลงมาอย่างต่อเนื่อง อาจจะทำให้เกิดมีน้ำท่วมในบางพื้นที่ในกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิคมอุตสหกรรมกบิณบุรีย์และนิคมอุตสาหรรม 304 ซึ่งอยู่ในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี แต่หากเกิดน้ำท่วมจริงความเสียหายก็ไม่สูงเท่ากับ 7 นิคมฯ ที่โดนเมื่อปีผ่านมา เพราะเป็นโรงงานขนาดกลางและ SME แต่ละแห่งมีมูลค่าหลักพันล้านบาทเท่านั้น

เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ในฐานะกรรมการกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติกล่าวว่า กองทุนฯ พยายามทำทุกวิธีเพื่อให้เบี้ยประกันภัยธรรมชาติและภัยพิบัติถูกลง เช่น คงเงื่อนไขการจ่ายสินไหมทดแทนของกองทุนฯ ที่จะจ่ายต่อเมื่อคณะรัฐมนตรีประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติ เพราะเป็นเงื่อนไขสากล เนื่องจากองทุนฯ ต้องซื้อประกันภัยต่อกับผู้รับประกันภัยต่อ (รีอินชัวเรอส์) ต่างประเทศ หากเงื่อนไขไม่ได้มาตรฐานจะซื้อประกันภัยต่อยาก ไม่สามารถต่องรองราคาเบี้ยประกันภัยให้ถูกลงได้

ซึ่งในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคมที่จะถึงนี้ จะเป็นช่วงต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัยของผู้ประกอบการ ทั้งเอสเอ็มอีและโรงงานต่างๆ สำหรับความคุ้มครองในปีหน้า จะมีการทำประกันภัยภัยพิบัติกันมากในช่วงนี้ โดยกองทุนฯ ประเมินถึงสิ้นปี จะมีบ้านอยู่อาศัย เอสเอ็มอี และอุตสาหกรรม ทำประกันภัยกับกองทุนฯ คิดเป็นวงเงินความคุ้มครอง 86,000 ล้านบาท

เราอยู่ในกระบวนการซื้อประกันภัยต่อ เราจะทำทุกวิธีเพื่อให้ได้เบี้ยประกันภัยต่อที่ถูกที่สุด เช่น พาผู้รับประกันภัยต่อไปดูมาตรการบริหารจัดการน้ำของนิคมฯ การทำฟรัดเวย์ของรัฐบาล อย่าง 3 บริษัทขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นที่ผมเพิ่งไปพบมา คือมิตซุย สุมิโตโม ,โตเกียว มารีน,สมโพธิ์ เจแปน เขาแสดงความมั่นใจที่จะรับประกันภัยต่อลูกค้าในไทย

เมื่อเร็วๆนี้ กองทุนฯ เพิ่งปรับเงื่อนไขใหม่ ให้ลูกค้าจ่ายเบี้ยประกันภัยพิบัติถูกลงจากเดิมไม่ต่ำกว่า 20% ไม่ว่าจะซื้อทุนประกันภัยเท่าไหร่ก็ได้ จากเดิมกำหนดต้องซื้อประกันภัยทุนขั้นต่ำ หรือซับ ลิมิต 30% ขณะที่บริษัทที่ขายเบี้ยประกันภัยในอัตราต่ำระดับนี้ ไม่ต้องส่งเบี้ยประกันภัยเข้ากองทุนฯ เช่นกัน ให้บริษัทขายได้อย่างเสรี ทำให้สามารถแข่งขันได้มากขึ้น โดยราคาเบี้ยประกันภัยสูงสุดใตลาด ไม่เกินเพดานของกองทุนฯ คือ บ้านอยู่อาศัย 0.5% เอสเอ็มอี 1% และอุตสาหกรรม 1.25%

ที่มา : สยามธุรกิจ