ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

ให้ผู้ว่าฯ ชี้ขาดจ่าย ‘ประกันภัยภัยพิบัต’ จัดเกณฑ์ใหม่ ลดขั้นตอนรัฐ

ปรับเงื่อนไขของการประกาศเป็นเขตภัยพิบัต ยึดตามประกาศของจังหวัดแทน กรมธรรม์ให้ความคุ้มครอง ไม่ต้องรอรัฐบาลประกาศ

ให้ผู้ว่าฯ ชี้ขาดจ่าย ‘ประกันภัยภัยพิบัต’ จัดเกณฑ์ใหม่ ลดขั้นตอนรัฐ

กันยายน
12

บอร์ดกองทุนภัยพิบัติเตรียมรื้อเงื่อนไข จ่ายเงินประกันเกษตรกรนาล่ม จากเดิมล็อกให้จ่ายเมื่อรัฐบาลประกาศเป็นเขตภัยพิบัติเท่านั้น เปลี่ยนใหม่แค่จังหวัดประกาศเป็นภัยพิบัติจ่ายได้ทันที หวั่นเกษตรกรสับสนนาล่มแล้วเรียกเคลมจากกองทุนบริษัทประกันภัยไม่ได้ ชี้ถ้าปลดล็อกกองทุนจ่ายเยอะขึ้นแน่ เหตุจังหวัดประกาศภัยพิบัติง่ายกว่ารัฐเยอะ

ด้าน ”ทิพย” ชี้แม้ปีนี้น้ำท่วมไม่น่ากลัวเท่าปีก่อน แต่มีโอกาสจ่ายค่าเสียหายเยอะ เหตุชาวนาในพื้นที่น้ำท่วมกลัว แห่ซื้อประกันภัยคุ้มครองเพียบ ส่วนภัยแล้งในภาคอีสานไม่น่าห่วง ชาวนาทำประกันภัยน้อย

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โลกกำลังเผชิญกับภัยพิบัติธรรมชาติที่รุนแรงต่อเนื่อง ทั้งน้ำท่วมใหญ่และภัยแล้ง ขณะที่ประเทศเองก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงในเรื่องเหล่านี้ได้ ซึ่งธนาคารโลกประเมินว่าเป็นภัยธรรมชาติที่ก่อความเสียหายใหญ่ที่สุดอันดับ 4 ในโลก และเกิดความเสียหายทางทรัพย์สินเป็นจำนวนมหาศาล

ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 นครราชสีมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เปิดเผยว่า มีพื้นที่ประสบภัยแล้งประมาณร้อยละ 52 และพื้นที่เพาะปลูกข้าวเกิดความเสียหายร้อยละ 22 กว่า 3.3 ล้านไร่ พื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิขนาดใหญ่ในกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 4 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา สุรินทร์ บุรีรัมย์ และชัยภูมิ ขณะนี้ข้าวขาดน้ำและหยุดการเจริญเติบโต โดยเฉพาะที่ จ.สุรินทร์ ขณะที่ จ.นครราชสีมา และบุรีรัมย์ เป็นพื้นที่เฝ้าระวังความเสียหาย ขณะเดียวกันได้ทำหนังสือขอความช่วยเหลือ ไปยังศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กองบิน 1 จ.นครราชสีมา เพื่อบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

ขณะที่พื้นที่ภาคเหนือเริ่มประสบปัญหาน้ำท่วมแล้ว โดยที่จังหวัดสุโขทัยได้เกิดเหตุน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่ 5 หมู่บ้านของ ต.แม่สิน อ.ศรีสัชนาลัย ประกอบด้วยหมู่ 2 บ้านแม่เทินใต้ หมู่ 5 หมู่ 8 บ้านแม่เทินเหนือ หมู่ 10 บ้านแม่ฮู้ และหมู่ 13 บ้านหาดแค ส่งผลให้ราษฎรจำนวน 160 หลังคาเรือนได้รับความเดือดร้อน รวมทั้งมีสวนส้ม สวนมะนาว ไร่ข้าวโพด และนาข้าวในพื้นที่เสียหายอีกหลายพันไร่

ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัยพร้อมหน่วยงานเกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่มอบถุงยังชีพช่วยเหลือราษฎรแล้ว และประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบภัย พร้อมเตือนให้เฝ้าระวัง 24 ชั่วโมง

ข่าวจากคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ (บอร์ดกองทุน) เปิดเผยว่า บอร์ดกองทุนฯ หารือกันถึงโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการเพาะปลูก 2555 จะปรับเงื่อนไขของการประกาศเป็นเขตภัยพิบัติ โดยจะเปลี่ยนคำจำกัดความของคำว่า ”ภัยพิบัติ” ทั้งน้ำท่วม แผ่นดินไหว และลมพายุ จากเดิมที่กำหนดว่าภัยธรรมชาติที่เข้าลักษณะความรุนแรงถึงขั้นเป็นภัยพิบัติ ทางคณะรัฐมนตรีต้องประกาศเป็นเขตภัยพิบัติ กรมธรรม์ประกันภัยถึงจะคุ้มครอง จะเปลี่ยนเป็นยึดตามประกาศของจังหวัดแทน ถ้าจังหวัดประกาศเป็นภัยพิบัติ กรมธรรม์ให้ความคุ้มครองทันทีไม่ต้องรอรัฐบาลประกาศ

“สาเหตุที่ให้ยึดตามประกาศจังหวัด เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความสับสนเมื่อจังหวัดประกาศเป็นภัยพิบัติ ทางจังหวัดจะจ่ายเงินชดเชยให้กับผู้เสียหายอย่างนาข้าวถูกน้ำท่วม หากเกษตรกรทำประกันภัยนาข้าวไว้แล้ว เรียกเงินจากกองทุนฯ หรือบริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการไม่ได้จะเกิดปัญหาตามมา เพราะผู้เอาประกันภัยจำนวนหนึ่ง ไม่เข้าใจเงื่อนไขว่าต้องเข้าตามเกณฑ์ คือ ให้รัฐบาลประกาศเป็นภัยพิบัติก่อน พอมีความเสียหายเขาคิดว่าต้องได้เงินประกันภัย ดังนั้นหากเปลี่ยนเงื่อนไขยึดตามประกาศจังหวัด จะสะดวกต่อผู้เอาประกันภัย เมื่อจังหวัดจ่าย ประกันภัยจ่าย”

อย่างไรก็ดีเรื่องนี้ยังเป็นแค่แนวคิดในระดับบอร์ดกองทุนฯ ยังไม่ได้ประกาศเป็นเงื่อนไขออกมา หากประกาศออกมาในแง่ของกองทุนและบริษัทประกันภัยที่เข้าร่วม รัฐบาลจะมีความเสี่ยงจ่ายค่าเสียหายมากกว่าเดิม เพราะการประกาศเป็นภัยพิบัติทำได้ง่ายขึ้น จังหวัดประกาศง่ายกว่ารัฐบาล ซึ่งหลักเกณฑ์นี้จะใช้กับประกันภัยข้าวเท่านั้น ส่วนประกันภัยทรัพย์สินภายใต้กองทุนฯ นี้ การชดใช้สินไหมทดแทนยึดเกณฑ์เดิมรัฐบาลประกาศเป็นเขตภัยพิบัติ

สำหรับโครงการประกันภัยข้าวนาปี เริ่มรับประกันภัยนาข้าวทั่วประเทศได้ประมาณเดือนเศษ โดยมีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นผู้ขายกรมธรรม์ประกันภัยให้กับกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ที่เป็นผู้รับประกันภัย โดยกองทุนฯ รับประกันภัยอยู่ 99.75%

อัตราเบี้ยประกันภัย 129.47 บาทต่อไร่ โดยเกษตรกรจ่ายเบี้ย 60 บาทต่อไร่ รัฐบาลสมทบให้ 69.47 บาทต่อไร่ หากเป็นลูกค้าธ.ก.ส.จ่ายเบี้ยแค่ 50 บาทต่อไร่ ธ.ก.ส.ช่วยจ่าย 10 บาทต่อไร่ รัฐบาลจัดสรรงบประมาณให้ 555.76 ล้านบาท เป้าหมายนาข้าวที่จะทำประกันภัย 8 ล้านไร่ หากนาข้าวได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ภัยแล้ง ลมพายุ อากาศหนาว ลูกเห็บและไฟไหม้ จะได้รับความคุ้มครองในวงเงิน 1,111 บาทต่อไร่ หากเสียหายจากศัตรูพืชและโรคระบาดคุ้มครอง 555 บาทต่อไร่

กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย กล่าวว่า ยึดตามหลักปฏิบัติของกองทุนฯ เนื่องจากกองทุนเป็นผู้รับความเสี่ยงมากที่สุด ส่วนปัญหาภัยแล้งในหลายพื้นที่ในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่สร้างความเสียหายให้กับนาข้าวนั้น ปัญหาเรื่องภัยแล้งเป็นประเด็นที่ไม่ได้กังวลมากนัก แม้นาข้าวในหลายพื้นที่จะเริ่มได้รับผลกระทบก็ตามเพราะเพิ่งจะเกิด ขณะที่รัฐบาลพยายามเร่งแก้ไขปัญหาอยู่ อีกทั้งนาข้าวในภาคอีสานมีปริมาณการทำประกันภัยน้อย

อย่างไรก็ดีปัญหาภัยแล้งไม่น่าเป็นห่วงเท่าน้ำท่วม เนื่องจากชาวนาส่วนใหญ่ทั้งที่ทำประกันภัยแล้ว และที่กำลังจะทำอยู่ในเขตน้ำท่วมเมื่อปีที่ผ่านมา คนที่อยู่ในพื้นที่ไกลจากน้ำท่วมยังไม่ค่อยมาทำประกัน ดังนั้นความเสี่ยงของประกันภัยจะกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมเป็นหลัก แม้สถาณการณ์น้ำท่วมในปีนี้ไม่น่าห่วงเท่าปีก่อน แต่มีความแตกต่างตรงที่เหตุการณ์น้ำท่วมปีที่ผ่านมา ทำให้ชาวนาจำนวนมากที่ไม่ได้ทำประกันภัย มองเห็นถึงความเสี่ยงและหันมาทำประกันภัยมากขึ้น มีชาวนาเข้ามาสู่ระบบประกันภัยมากขึ้น โดยเฉพาะชาวนาในพื้นที่เสี่ยง ดังนั้นหากเกิดน้ำท่วมถึงจะไม่หนักเท่าปีก่อน แต่จำนวนเกษตรกรที่ทำประกันภัยมีมากขึ้น ความเสียหายมากตามไปด้วย

ด้านบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ให้ความเห็นว่า ในกรมธรรม์ประกันภัยข้าวจะมีข้อกำหนดเรื่องระยะเวลารอคอย 7 วัน อย่างภัยแล้งถ้าจังหวัดออกประกาศเป็นเขตภัยแล้งแล้ว เกษตรกรมาซื้อประกันภัยถ้าในช่วง 7 วันแรกหลังทำประกันภัยมีความเสียหายเกิดขึ้น กรมธรรม์ไม่คุ้มครองจะคืนเงินให้กับเกษตรกร ถ้ายังไม่ประกาศแล้วมาซื้อประกันภัยเลย 7 วันแล้ว มีการประกาศกรมธรรม์จะคุ้มครอง

“จากสถิติทั้งภัยแล้งและน้ำท่วมคือ 2 สาเหตุหลักที่ทำให้นาข้าวในบ้านเราเสียหาย ซึ่งตอนที่คำนวณค่าเบี้ยครั้งแรกได้เอา 2 สาเหตุนี้ เข้าไปคำนวณอยู่แล้วถ้ารวมน้ำท่วมปีก่อนเข้ามาควรเบี้ยจะปรับขึ้น แต่เนื่องจากรัฐบาลอยากได้ค่าเบี้ย 120 บาทเท่าปีก่อน (ไม่รวมภาษี) โดนเอากองทุนฯ มารับ”

ผู้จัดการทั่วไป บริษัท สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า โครงการประกันภัยข้าวจากภัยแล้งที่ใช้ดัชนีน้ำฝนวัดความแห้งแล้ง นาข้าวของเกษตรกรที่ร่วมกับเจบิคและธ.ก.ส.ส.ในปีนี้ ยอมรับว่าสถานการณ์ภัยแล้งขยายวงกว้างกว่าทุกปี ในหลายพื้นที่ทำให้บริษัทต้องขาดทุน เนื่องจากเกษตรกรที่ซื้อประกันภัยน้อยมากเพียง 100 ราย ขณะที่มีเคลมแล้ว 400,000 บาท ซึ่งบริษัทได้จ่ายสินไหมไปแล้ว 90% อย่างไรก็ดีบริษัทจะยังคงดำเนินโครงการนี้ต่อไปแม้จะขาดทุน โดยจะต้องมาวิเคราะห์ดูว่าเป็นอย่างไร และควรจะแก้ไขอย่างไร

ที่มา : สยามธุรกิจ