ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

เคลมประกันภัยรถยนต์ พ.ร.บ. พุ่งพรวด ‘อี-เคลม’ ดึงคนแห่ใช้สิทธิ์ เบิกเงินคล่อง

“เจ็บจากรถ หมดกังวล มีคนจ่าย” คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถทุกคน ไม่ว่าจะมีประกันภัยรถยนต์หรือไม่ ไม่ต้องสำรองจ่ายเงินไปก่อน

เคลมประกันภัยรถยนต์ พ.ร.บ. พุ่งพรวด ‘อี-เคลม’ ดึงคนแห่ใช้สิทธิ์ เบิกเงินคล่อง

สิงหาคม
22

เปิดตัวอย่างเป็นทางการ “โครงการจ่ายค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินจากกองทุน ทดแทนผู้ประสบภัย” ภายใต้แนวคิด “เจ็บจากรถ หมดกังวล มีคนจ่าย” ผู้ประสบภัยจากรถทุกคนไม่ว่ารถคันนั้นจะมีประกันภัย พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถหรือไม่ สามารถใช้สิทธิ์เบิกค่าเสียหายเบื้องต้นจากองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ผ่านระบบสินไหมอัตโนมัติหรือ E-claim (อี-เคลม) ได้ทันที

เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบ ธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวว่า โครงการนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่างสำนักงานคปภ. ในฐานะผู้บริหารกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย สมาคมประกันวินาศภัย และบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด โดยให้โรงพยาบาลที่รักษาผู้ประสบภัยจากรถ สามารถวางบิลเบิกค่ารักษาพยาบาลผ่านระบบอี-เคลม โดยที่ผู้ประสบภัยจากรถไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ไม่ต้องสำรองจ่ายเงินไปก่อน และมอบหมายให้บริษัทกลางฯ เข้ามารวบรวมเอกสารต่างๆ รวมถึงจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่โรงพยาบาลแทนกองทุนฯ ไปก่อน แล้วค่อยมาตั้งเบิกจากกองทุนฯ ทีหลังซึ่งได้เริ่ม ดำเนินการกับโรงพยาบาลทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา

ในการเบิกค่าเสียหายจากกองทุน หากเอกสารครบถ้วนกองทุนฯ จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับโรงพยาบาลภายใน 7 วัน และหากเอกสารไม่ครบถ้วน บริษัทกลางฯ จะสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับโรงพยาบาลภายใน 7 วันเช่นกัน ทั้งนี้การเบิกค่าเสียหายจากกองทุนฯ เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้น ในส่วนค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 15,000 บาท หากรวมสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร หรือเสียชีวิต ไม่เกิน 50,000 บาท ซึ่งปัจจุบันกองทุนฯ มีเม็ดเงินประมาณ 2,000 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมามีผู้มาใช้สิทธิ์เบิกค่าเสียหายเบื้องต้น จากกองทุนฯประมาณ 5,000 ราย ค่าสินไหมประมาณ 60-70 ล้านบาท คาดว่าตัวเลขจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากการใช้สิทธิ์เบิกจ่ายสะดวกขึ้น

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ปีนี้จะเป็นปีแรกที่มีการผลิตรถยนต์มากกว่า 2 ล้านคัน อาจจะถึง 2.3 ล้านคัน เฉพาะขายในประเทศมากกว่า 1 ล้านคัน ยิ่งจำนวนรถยนต์เพิ่มขึ้นอุบัติเหตุเกิดมากขึ้น ขณะเดียวกันยังมีรถจำนวนหนึ่งที่ไม่ทำประกันภัยรถยนต์ ผลร้ายตกอยู่กับผู้ประสบภัย ดังนั้นในโอกาสที่ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจะครบ 20 ปีในปีนี้ อยากจะขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ให้ช่วยกันผลักดันรถที่ไม่มีประกันภัยรถยต์ ให้ทำประกันภัยรถยนต์ทุกคัน เพื่อให้ผู้ประสบภัยได้รับการดูแล

อย่างไรก็ดีในวันเปิดโครงการได้จัดเสวนาหัวข้อ “เจ็บจากรถ หมดกังวล มีคนจ่าย” รองเลขาธิการคปภ. กล่าวว่า กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย คือสิ่งการันตีผู้ประสบภัยจากรถทุกคน ทั้งกรณีชนแล้วหนี หรือรถคันชนไม่มีประกันภัยรถยนต์ ไม่มีเงินจ่าย กองทุนฯ จะเข้ามาจ่ายแทนให้ ทำให้ระบบประกันภัยดูแลประชาชนครบวงจร ไม่ว่ารถจะมีหรือไม่มีประกันภัยรถยนต์ โดยดูแลประชาชนทุกคนในราชอาณาจักรไทย ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนต่างด้าว หากประสบภัยจากรถได้รับการดูแล

ด้านรองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาต ิ(สพฉ.) กล่าวว่า จากสถิติประมาณ 40-60% ของผู้ป่วยฉุกเฉินเกิดจากอุบัติเหตุจากรถ โดยผู้ประสบภัยจากรถมีแนวโน้มลดลงก็จริง เนื่องจากโครงการรณรงค์ลดอุบัติเหตุต่างๆ แต่มีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งการทำงานของหน่วยแพทย์ฉุกเฉินทั้งรับผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ และรักษาพยาบาลเบื้องต้นทันที ทำให้ผู้ประสบภัย 80-90% รอดชีวิต รวมไปถึงประสานงานกับโรงพยาบาลใกล้เคียง

สอดคล้องกับมุมมองของโรงพยาบาล การลดขั้นตอนในเรื่องเอกสาร อย่างบันทึกประจำวันของตำรวจ รวมถึงนำระบบอี-เคลมมาใช้ ทำให้การเบิกค่ารักษาพยาบาลสะดวกมากขึ้น เพราะปัญหาจากการเบิกจ่ายล่าช้า

ส่วนเลขาธิการสมาคมโรงพยาบาลเอกชนให้ความเห็นว่า เมื่อมีระบบอี-เคลมทำให้สามารถเคลียร์ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้อัตโนมัติ ช่วยลดหนี้เสียจากการรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยของโรงพยาบาล เมื่อระบบการเคลมสะดวกมากขึ้น คาดว่าจะทำให้เจ้าของรถหันมาทำประกันภัยรถยนต์มากขึ้น ทำให้บริษัทประกันภัยขายได้มากขึ้น แต่ความคุ้มครองภายใต้ประกันภัยรถยนต์ พ.ร.บ. วงเงินจำกัด ไม่พอค่ารักษาพยาบาลในอนาคตที่จะสูงขึ้น จากนวัตกรรมทางการแพทย์ต่างๆ อย่างค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นแค่ 15,000 บาท อยากจะให้ขยายวงเงินเพิ่มขึ้น

กรรมการผู้จัดการบริษัทกลางฯ ให้มุมมองว่า ระบบอี-เคลมเริ่มพัฒนาขึ้นเมื่อ 4 ปีก่อน ในตอนนั้นมีโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนเซ็นสัญญาเข้าร่วมโครงการ 800 กว่าแห่ง ณ สิ้นเดือนที่ผ่านมาเพิ่มเป็น 1,541 แห่งเกือบครบทั้งประเทศ กำลังขยายไปสู่สถานีอนามัย เพื่อขยายการให้บริการครอบคลุมมากขึ้น

ด้านนายกสมาคมประกันวินาศภัยกล่าวว่า หลังจากนำระบบอี-เคลมมาใช้ในการเบิกค่าเสียหายจากกองทุนฯ จะทำให้ยอดการเบิกค่าเสียหายเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น 10 เท่า เนื่องจากการใช้สิทธิ์สะดวกมากขึ้น จากในอดีตตัดขัดในเรื่องของเอกชน ทำให้การเบิกจ่ายล่าช้า จะกระทบต่อฐานะการเงินของบริษัทกลางฯ หรือไม่ ไม่น่าจะมีปัญหา

ที่มา : สยามธุรกิจ