ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

เออีซีบีบประกันภัยเล็กควบ เครือแบงก์บุกตปท.

ธุรกิจประกันภัย ภายใต้การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ประกันภัยไทยจะอยู่รอดหรือไม่

เออีซีบีบประกันภัยเล็กควบ เครือแบงก์บุกตปท.

มิถุนายน
8

กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน) ในฐานะบริษัทประกันภัยไทย ที่มีบริษัทต่างชาติถือหุ้นใหญ่ มองว่าหากเรามองถึงธุรกิจประกันภัยในไทยขณะนี้ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่พร้อมรับมือกับการเปิดเสรี AEC ประกอบด้วย บริษัทประกันภัยไทยที่มีขนาดใหญ่และมีธนาคารพาณิชย์เป็นบริษัทแม่ และบริษัทประกันภัยข้ามชาติ กลุ่มที่สองคือกลุ่มที่ไม่พร้อมแข่งขัน คือ กลุ่มบริษัทประกันภัยที่มีขนาดกลางและเล็ก ซึ่งเป็นบริษัทประกันท้องถิ่น

"บริษัทประกันภัยไทยที่มีขนาดใหญ่มีไซส์ 20,000 ล้านบาท พร้อมสู้รบปรบมือกับต่างชาติอยู่แล้วด้วยขนาด ยกตัวอย่างเช่น กรุงเทพประกันภัย ซึ่งมีความพร้อมเต็มที่กับการเปิดเสรี AEC บริษัทประกันภัยที่มีแบงก์เป็นบริษัทแม่ก็ไม่มีปัญหาเช่นกัน ส่วนบริษัทประกันภัยข้ามชาติ ก็พร้อมสู้เต็มที่"

ตอนนี้เราก็เริ่มเห็นบริษัทประกันภัยไทย ที่มีบริษัทแม่เป็นแบงก์รุกต่างประเทศบ้างแล้ว อย่างเช่น กรุงเทพประกันภัยที่เข้าไปรุกในลาว และไทยพาณิชย์ประกันภัย ก็เข้าไปรุกธุรกิจในกัมพูชา ในส่วนของแอกซ่าประกันภัย เรามีความพร้อมรับมือ AEC เพราะเรามีเครือข่ายสาขาครอบคลุม และไม่แย่งลูกค้ากัน

มาถึงภาพของการปรับตัวของธุรกิจประกันในไทยกันบ้าง ธุรกิจประกันภัยไทยต้องสร้างทีมผู้บริหารที่มีความแข็งแกร่ง พร้อมสู้รบปรบมือกับประกันภัยท้องถิ่น และบริษัทประกันภัยข้ามชาติ ซึ่งในจุดนี้เชื่อว่าบริษัทประกันภัยข้ามชาติ ที่เข้ามาทำธุรกิจในไทยมีความพร้อมรองรับการแข่งขันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรบุคคล เทคโนโลยี รวมทั้งกำลังเงิน

"ผมไม่แน่ใจว่าภายใน 3 ปีข้างหน้า บริษัทประกันภัยในไทยมีความพร้อมหรือเปล่า เพราะระยะเวลามันสั้นมาก บริษัทประกันภัยขนาดใหญ่มีความพร้อมแล้ว แต่บริษัทเล็กต้องยอมรับว่ายังไม่มีความพร้อม ขณะที่บริษัทประกันภัยที่ครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุด 10 อันดับแรก มีการแขยายตัวเร็วมาก ใครที่มีขนาดใหญ่ก็ใหญ่ได้เรื่อยๆ"

ภาพรวมธุรกิจประกันภัยหลังเปิดเสรี AEC คงไม่ต่างอะไรมากนักกับธุรกิจประกันภัยในประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะในที่สุดแล้วจะเหลือบริษัทประกันภัยไม่กี่เจ้า ยกตัวอย่างเช่น ในยุโรป บริษัทประกันภัยขนาดเล็กก็จะถูกกลืน ส่วนของไทยที่ขนะนี้มี 64 บริษัท เชื่อว่าท้ายที่สุดแล้วก็จะมีการล้มหายตายจากหรือควบกิจการ

"มีการคาดการณ์ว่าในที่สุดแล้วบริษัทประกันภัยในไทยจะหายไปครึ่งหนึ่ง แต่ในมุมมองผมเรื่องนี้คาดการณ์ยาก เพราะบางแห่งก็อาจควบกิจการกับต่างชาติ ซึ่งตัวเขาก็ยังอยู่ ยกตัวอย่างเช่น การควบกิจการระหว่างบริษัทเมืองไทยประกันภัย บริษัทภัทรประกันภัย บริษัทนวกิจประกันภัย และบริษัทสากลประกันภัย ซึ่งเป็นการรวมกับ 4 บริษัท เหลือเพียง 1 บริษัท เพื่อรับมือการแข่งขัน"

ส่วนบริษัทแอกซ่าประกันภัยจะปรับตัวอย่างไรนั้น เห็นว่า "จริงๆแล้วไม่มี AEC เราก็มีเป้าหมายอย่างชัดเจนว่า ต้องติด 1 ใน 10 เพราะถือเป็นนโยบายของแอกซ่าในทุกประเทศ ซึ่งทำสำเร็จแล้วในมาเลยเซียจากอันดับ 11 ขึ้นเป็นอันดับ 6 ส่วนในอินโดนีเซียถือว่ายังมีขนาดเล็กว่าประเทศไทย"

"แอกซ่าประกันภัยในไทย ก็ยึดเป้าหมายเดียวกันคือ ต้องติดอันดับ 1 ใน 10 ซึ่งอาจเป็นไปได้ทั้งโตได้ด้วยตัวเอง หรือการเข้าซื้อกิจการ (เทคโอเวอร์) บริษัทประกันภัยอื่นเพื่อเพิ่มขนาดกิจการ เพียงแต่ว่าเรายังมองหาจังหวะเวลาและโอกาสที่เหมาะสม"

แม้เรายังไม่ได้ซื้อกิจการ (เทคโอเวอร์) ใคร ตัวเราก็ตั้งเป้าขยาตัวแบบก้าวกระโดด เพื่อให้ได้เบี้ยประกันภัยที่พอเหมาะกับขนาดธุรกิจ ซึ่งเรามองว่าบริษัทประกันภัยต้องมีเบี้ยประมาณ 3 พันล้านบาทขึ้นไปจึงจะอยู่ได้

"ณ เวลานี้ ผมพูดถึงไซส์ 3 พันล้านบาท แต่ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้าอาจเป็น 5 พันล้านบาท เพราะเราได้ทุ่มงบประมาณในการขยายเครือข่ายสาขาเพิ่มขึ้น ซึ่งหมายถึงต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ไซส์ก็ต้องเพิ่ม เพื่อให้คุ้มกับต้นทุน"

ส่วนเป้าหมายของแอกซ่าประกันภัยหลังเปิด AEC ในปี 2558 มองว่า ส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เก็ตแชร์) ต้องติดอันดับ 1 ใน 10 แต่ก็ต้องดูถึงการแข่งขันของตลาดด้วย เพราะต้องยอมรับว่าปัจจุบันตลาดประกันภัยในไทยมีการแข่งขันด้านราคาสูงมาก

แล้วผู้บริโภคจะได้อะไรจากการเปิดเสรี AEC ตอนนี้ผมว่าผู้บริโภคได้แล้ว เพราะมีการแข่งขันการให้บริการ และการแข่งขันด้านราคา แต่ผู้บริโภคต้องระมัดระวังเช่นเดียวกัน เพราะถ้าเจอบริษัทประกันภัยดีๆ ก็ถือว่าโชคดีไป แต่ถ้าโชคร้ายก็ถือว่าไม่ดี ยกตัวอย่างเช่นหลายปีก่อน มีการแข่งขันราคาสูงมาก จนในที่สุดก็ต้องปิดกิจการไป อย่าง พาณิชย์ประกันภัย รัตนโกสินทร์ประกันภัย เพราะเขาแข่งเรื่องของราคา จนในที่สุดการเคลมประกันภัยก็มีปัญหา สุดท้ายก็ตกที่ผู้บริโภค

มาถึงการปรับตัวของหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย อย่างสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เขามองว่า คปภ.มีการปรับตัวมาพอสมควร หลังจัดตั้งเป็นองค์กรอิสระ เริ่มตั้งสมัยเลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) คนแรก ที่มีการเขย่าธุรกิจประกันภัยให้มีการปรับตัว เริ่มตั้งแต่การใช้กฎการกันสำรอง RBC ซึ่งทำให้บริษัทประกันภัยเริ่มเข้าที่ มีเงินกองทุนเพียงพอในการทำธุรกิจ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ซื้อประกันภัย แต่ก็ถือว่าโชคร้ายที่เลื่อนออกไป แต่เชื่อว่าสิ้นปี 2555 น่าจะเริ่มได้

"สุขภาพบริษัทประกันภัยดี ก็ดีกับผู้บริโภคในอนาคต ถ้าบริษัทไหนล้มก็เชื่อว่าน่าจะล้มไม่แรง ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่ดี ที่สำคัญหน่วยงานรัฐในแง่ของธรรมาภิบาลก็ถือว่าดีขึ้น"

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ