ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

ไทยรับประกันภัยต่อ รับสภาพ 2 ปีขาดทุน 5,500 ล้าน

ไทยรับประกันภัยต่อ คาดว่าปีนี้จะขาดทุนอีกปี จากค่าสินไหมทดแทนประกันภัยน้ำท่วม

ไทยรับประกันภัยต่อ รับสภาพ 2 ปีขาดทุน 5,500 ล้าน

เมษายน
15

โดย สยามธุรกิจ วันที่ 31 มีนาคม 2555 เวลา 00:00 น.

บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน) หรือไทยรี ค่ายรับประกันต่อหนึ่งเดียวของประเทศ โดยพลันเมื่อได้รับบทบาทใหม่ “ผู้จัดการกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ” กองทุนวงเงิน 50,000 ล้านบาทของรัฐบาล ขณะที่วิกฤติอุทกภัยที่ผ่านมาส่งผลกระทบอย่างหนักต่อบริษัทเช่นกัน ฐานะการเงินซวนเซ จนต้องหาผู้ร่วมทุนรายใหม่จากต่างประเทศ คือ “บริษัท แฟร์แฟกซ์ ไฟแนนเชียล โฮล ดิ้งส์ จำกัด : Fairfax Financial Holdings Limited” ยักษ์การเงินประกันภัยจากแคนาดาเข้ามากอบกู้ฐานะเพิ่มทุนให้ ปิดดีลซื้อขายพร้อมทั้งจ่ายเงินกันไปเรียบร้อยแล้ว

“จริงๆ มีคนต้องการซื้อหุ้นเราเยอะมาก แต่เราขายให้แฟร์แฟกซ์ได้เงินมา 2,226 ล้านบาท รวมกับที่ขายให้ผู้ถือหุ้นเดิมอีก 4,700 กว่าล้านบาท เท่ากับการเพิ่มทุนครั้งนี้ได้เงินใหม่มา 6,975 ล้านบาทรวมกับทุนเก่าที่มีอยู่ 2,691 ล้านบาท เงินใหม่ที่ได้เรานำไปเพิ่มทุนจากเดิมเรามีทุนจดทะเบียน 1,187 ล้านบาท เพิ่มอีก 2,325 ล้านบาท รวมเป็น 3,512 ล้านบาท รวมๆ แล้วตอนนี้ชาวต่างชาติถือหุ้นอยู่ 49% มากสุดคือ แฟร์แฟกซ์ราว 23-24% รองลงมาคือ โอเวอร์ลุคจากสหรัฐฯ 13-14% กองทุนอเบอร์ดีน 10 กว่า% ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน) หรือไทยรี กล่าว

การได้แฟร์แฟกซ์เข้ามาเป็นประสบการณ์ใหม่ทำให้บริษัทแข็งแกร่งมากขึ้น ตำแหน่งในตลาดหลักทรัพย์ฯ ดีขึ้น อยู่ในกลุ่ม SET 100 มูลค่าตลาดรวมขณะนี้ประมาณ 13,000-14,000 ล้านบาทจากเดิมประมาณ 7,000 ล้านบาทเพิ่มขึ้นเท่าตัว ซึ่งในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาผลตอบแทนจากการลงทุน (ROE) เกิน 20% มาตลอด หากปีที่ผ่านมาไม่เจอน้ำท่วมอยู่ที่ 23% ทำให้ผู้ถือหุ้นพร้อมที่จะเพิ่มทุนให้กับบริษัทเมื่อมีความจำเป็นต้องใช้เงิน หลังจากนี้จะรักษา ROE ให้อยู่ระดับนี้

สำหรับปีที่ผ่านมาบริษัทขาดทุน 1,400 ล้านบาท คาดว่าปีนี้จะขาดทุนอีกปีจำนวน 4,100 ล้านบาทรวมเป็น 5,500 ล้านบาท จากค่าสินไหมทดแทนน้ำท่วมประมาณ 12,000 ล้านบาท ที่บันทึกลงในบัญชีงวดประจำปีที่ผ่านมาจำนวน 6,300 ล้านบาท เหลืออีก 5,000 ล้านบาทจะบันทึกลงบัญชีปีนี้ โดยบริษัทต้องจ่ายเอง (Net Loss) ประมาณ 2,000 ล้านบาท คาดว่าปีหน้าจะล้างขาดทุนสะสมได้หมดและเริ่มมีกำไร

ปี 2555 นี้ กล่าวว่า ในส่วนของไทยรีประกันวินาศภัย ตั้งเป้าหมายเบี้ยรับสุทธิประมาณ 6,300 ล้านบาท เติบโตเกือบ 10% เทียบกับปีก่อนไม่เกี่ยวกับน้ำท่วม เติบโตถึง 45% มุ่งสร้างรายได้ใหม่ๆ จากแบบประกันภัยรายบุคคลที่ดีไซน์ออกมากว่า 20 ชนิดเพื่อให้บริษัทประกันวินาศภัยขาย อาทิ ประกันภัยสินเชื่อซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่มาก มีเบี้ยเข้ามาเกือบหมื่นล้านบาท, ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (พีเอ), ประกันภัยสุขภาพ เป็นต้น โดยบริษัทออกแบบสินค้ามา 6-7 ปีแล้ว ยอดขายเพิ่มขึ้นตลอดมีสัดส่วนถึง 65% ของเบี้ยทั้งหมด จากเดิมเบี้ยอัคคีภัยบวกประกันภัยความเสี่ยงภัยทุกชนิด (IAR) มีสัดส่วนถึง 55% ปีที่ผ่านมาเหลือประมาณ 10% เศษ คิดเป็นเบี้ยประมาณ 300 ล้านบาท

“ประกันภัยสินเชื่อที่เราให้ประกันวินาศภัยขายคุ้มครอง 9 ปี เบี้ยทยอยเข้ามาจะขยายลูกค้าสินเชื่อกลุ่มใหม่ไปเรื่อยๆ เช่น ซิงเกอร์ที่ขายสินค้าเงินผ่อน สินค้าที่เราดีไซน์เน้นกรมธรรม์เล็กๆ เบี้ยไม่แพง เข้าใจง่ายๆ ริสก์ชาร์จต่ำใช้เงินกองทุนไม่มาก การออกสินค้าให้บริษัทต่างๆขาย เราจะมีเงื่อนไขให้ส่งประกันภัยต่อให้เราอย่างน้อย 50% ขณะที่ Loss Ratio สินค้าใหม่ไม่สูงเฉลี่ย 40%”

นอกจากนี้ ยังมีรายได้จากบริษัทลูกต่างๆ มีกำไรทุกบริษัท โดยเฉพาะบริษัท EMCS เคลมสินไหมปรกันภัยรถยนต์ออนไลน์ ที่เปิดมา 10 กว่าปี หรือบริษัทที่ทำ Call Center จะเริ่มมีกำไรในปีนี้ หากบริษัทใดขาดทุนเลิกกิจการอย่าง บริษัทเอาต์ซอร์สที่เพิ่งปิดไป เพราะตลาดตามไม่ทัน ในปีที่ผ่านมามีรายได้จากบริษัทลูก 150 กว่าล้านบาท ซึ่งในปีนี้จะมีรายได้ใหม่จากค่าบริหารกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติอีก 60 ล้านบาท

สำหรับไทยรีประกันชีวิต ในปีที่ผ่านมามีกำไรก่อนหักภาษี 320 ล้านบาท ช่วยรองรับการขาดทุนจากประกันวินาศภัย โดยปีนี้ตั้งเป้าหมายเบี้ยรับสุทธิ 1,100 ล้านบาท เติบโตประมาณ 25% กำไรก่อนหักภาษีประมาณ 400 ล้านบาท โดยประกันชีวิตมีกำไรสูงและมีความแน่นอน ไม่เบี่ยงเบนมากเหมือนประกันวินาศภัย เนื่องจากปีหนึ่งคนเสียชีวิตไม่มากไม่เหมือนวินาศภัย ที่มีความเสี่ยงเรื่องภัยธรรมชาติ ที่สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน

การเพิ่มรายได้ให้กับประกันชีวิตใช้กลยุทธ์เดียวกับประกันวินาศภัย คือดีไซน์สินค้าให้บริษัทประกันชีวิตนำไปขาย พร้อมกับเข้าไปร่วมลงทุนด้วย เช่น สินค้าประเภทนี้ขายผ่านทีวีใช้เงินลงทุนสูง จะเข้าไปลงทุนด้วย

“เรามองไทยรีเป็นองค์กรบริการให้กับธุรกิจประกันภัยทั้งระบบในทุกด้าน ถ้าต้องการบริการใดให้นึกถึงไทยรี ช่องทางใหม่ที่เรากำลังมองอยู่คือ มือถือทุกอย่างในชีวิต พึ่งมือถือหมดจะพัฒนาไปถึงขั้นซื้อขายกรมธรรม์ผ่านมือถือแต่ต้น คือกรอกใบคำขอจนถึงพิมพ์กรมธรรม์หากทำได้ จะลดต้นทุนได้มาก กำลังดูระบบ ดูซอฟต์แวร์ที่เข้ามารองรับอยู่ จะเอาต์ซอร์สให้กับสมาชิก คาดว่าน่าจะเริ่มขายได้ปีหน้า”

ที่มา : สยามธุรกิจ