ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

คาดปีนี้เบี้ยภัยพิบัติทะลัก 2 หมื่นล้านดันประกันภัยโต 16%

ธุรกิจประกันภัยยังคงขยายตัวได้ต่อไปทั้งอุตสาหกรรม มีเบี้ยประกันภัยรับรวมประมาณ 534,080 ล้านบาท เติบโตประมาณ 14% เบี้ยประกันภัยต่อจีดีพี

คาดปีนี้เบี้ยภัยพิบัติทะลัก 2 หมื่นล้านดันประกันภัยโต 16%

มีนาคม
21

โดย สยามธุรกิจ วันที่ 14 มีนาคม 2555 เวลา 00:00 น.

แบ่งเป็นเบี้ยประกันชีวิต 328,894 ล้านบาท เติบโต 11.03% และเบี้ยประกันวินาศภัย 139,792 ล้านบาท เติบโต 11.77% โดยประกันวินาศภัยเป็นการเติบโตเป็นตัวเลข 2 หลักเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันหลังจาก 4 ปีก่อนหน้านั้นเติบโตเป็นตัวเลขหลักเดียว เบี้ยรวมปีนี้ 5.3 แสนล้านโต14%ไม่รวมเบี้ยใหม่ภัยพิบัติร่วม 2 หมื่นล้าน

สำหรับในปี 2555 นี้ ธุรกิจประกันภัยยังคงขยายตัวได้ต่อไปทั้งอุตสาหกรรม น่าจะมีเบี้ยประกันภัยรับรวมประมาณ 534,080 ล้านบาท เติบโตประมาณ 14% เบี้ยประกันภัยต่อจีดีพีขยับเพิ่มเป็น 4.65% แบ่งเป็นเบี้ยประกันชีวิตประมาณ 377,505 ล้านบาท เติบโตประมาณ 15 % และเบี้ยประกันวินาศภัยประมาณ 156,575 ล้านบาท เติบโตประมาณ 12% หากรวมเบี้ยประกันภัยพิบัติคาดว่าปีนี้จะมีเข้ามาประมาณ 15,000-20,000 ล้านบาทจะทำให้เบี้ยประกันวินาศภัย เพิ่มเป็นประมาณ 170,000 ล้านบาท เติบโตถึง 20% และทำให้เบี้ยทั้งระบบเติบโตเพิ่มเป็น 16% เบี้ยต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

“ในธุรกิจประกันชีวิตการขายผ่านช่องทางธนาคารหรือแบงก์แอสชัวรันส์เพิ่มขึ้น อย่างปีก่อนสัดส่วนขยับเพิ่มเป็นเกือบ 30% ขณะที่เบี้ยผ่านตัวแทนอยู่ที่ 60% เชื่อว่าในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า นี้เปอร์เซ็นต์การขายผ่านแบงก์จะเพิ่มชัดเจนมากขึ้น ส่วนประกันวินาศภัยเบี้ย 60% มาจากประกันภัยรถยนต์ อีก 31% เป็นเบี้ยประกันภัยเบ็ดเตล็ดรวมประกันความเสี่ยงภัยทุกชนิด (Industrial All Risk : IAR) และประกันธุรกิจหยุดชะงัก (Business Interruption : BI) แต่ตัวที่เติบโตสูงมากคือ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (พีเอ) และประกันภัยสุขภาพ เนื่องจากคนให้ความสนใจมาก”

น้ำท่วมดันกองทุนวินาศภัยพุ่ง 1,000% เหตุนับสินไหมเรียกคืน ‘รี’ ด้านฐานะการเงินยังคงแข็งแกร่ง อัตราส่วนเงินกองทุนต่อเงินกองทุนตามกฎหมาย (CAR Ratio) คำนวณตามเกณฑ์การดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง (Risk-Based Capital : RBC) ธุรกิจประกันชีวิตมี CAR Ratio เฉลี่ย 300% เทียบกับคำนวณตามเกณฑ์เดิมอยู่ที่ 800% ขณะที่ประกันวินาศภัย CAR Ratio สูงถึง 1,000% เทียบกับคำนวณตามเกณฑ์เดิมอยู่ที่ 700% “ตัวเลข 1,000% ของประกันวินาศภัย เป็นการเพิ่มขึ้นผิดปกติมากมาจากสินไหมทดแทนน้ำท่วม เพราะเกณฑ์ใหม่ประเมินทรัพย์สินและหนี้สินนับสินไหมทดแทน เรียกคืนจากการประกันภัยต่อเป็นทรัพย์สิน ทำให้เงินกองทุนเพิ่มขึ้นจากเดิมไม่นับเป็นทรัพย์สิน”

ส่วนการลงทุน ธุรกิจประกันชีวิตมีสินทรัพย์รวม 1.48 ล้านล้านบาท เป็นสินทรัพย์ลงทุน 1.41 ล้านล้านบาทหรือประมาณ 95% ในจำนวนนี้ 85% ลงทุนในสินทรัพย์มีความเสี่ยงต่ำอาทิ พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้เอกชน เงินฝาก เป็นต้น ขณะที่ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง อาทิ หุ้น เงินให้กู้ยืม เป็นต้น แค่ 15% ขณะที่ประกันวินาศภัยมีสินทรัพย์รวม 6.6 แสนล้านบาท (รวมสินไหมทดแทนเรียกคืน จากการประกันภัยต่อจากน้ำท่วม) เป็นสินทรัพย์ ลงทุนประมาณ 1.67 แสนล้านบาท ซึ่ง 2 ใน 3 เป็นการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ ส่วนที่เหลือลงทุนในหุ้น

ยอดสินไหมวินาศภัยเกือบแสนล้าน ลอส เรโช 154%/IAR 4,664% จากข้อมูลของคปภ. พบว่า ปีที่ผ่านมาประกันวินาศภัยที่มีอัตราเติบโตสูงสุด คือประกันภัยเบ็ดเตล็ดเติบโตถึง 15.54 หรือมีเบี้ยประกันภัย 44,197.54 ล้านบาท เทียบกับประกันภัยรถยนต์ที่เติบโต 11.27% หรือมีเบี้ยประกันภัย 82,991.16 ล้านบาท ซึ่งในประกันภัยเบ็ดเตล็ดตัวที่ขยายตัวสูงคือ ประกันพีเอเติบโต 24.48% หรือมีเบี้ยประกันภัย 15,910.6 ล้านบาท และประกันสุขภาพเติบโต 20.88% หรือมีเบี้ยประกันภัย 5,079.22 ล้านบาท

อย่างไรก็ดี ความเสียหายจากน้ำท่วม ทำให้ธุรกิจประกันวินาศภัยมีค่าสินไหมทดแทนถึง 98,671.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40,965.62 ล้านบาท หรือ 70.99% อัตราสินไหมทดแทน (Loss Ratio) 154.48% เป็นสินไหมประกันIAR มากที่สุดถึง 36,591.54 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 31,886.62 ล้านบาทหรือ 677.73% Loss Ratio 4,664.45%

ที่มา : สยามธุรกิจ