ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

เคราะห์ซ้ำ ‘เบี้ยน้ำท่วม’ พุ่งหนักสุดทะลุ 400% รัฐเร่งคลอด 3 มาตรการพยุงราคา

ความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งต่อบริษัทประกันภัยภายในประเทศและบริษัทรับประกันภัยต่อต่างประเทศ ไม่ถึงขั้นปิดประตูรับประกันภัยต่อภัยน้ำท่วมในไทย

เคราะห์ซ้ำ ‘เบียน้ำท่วม’ พุ่งหนักสุดทะลุ 400% รัฐเร่งคลอด 3 มาตรการพยุงราคา

ธันวาคม
6

โดย สยามธุรกิจ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 เวลา 00:00 น.

เตือนให้ประชาชนทำใจเบี้ยประกันภัยพุ่ง เลขาฯ คปภ. ยอม รับเบี้ยประกันภัยน้ำท่วมแพงหูฉี่ เหตุค่าเสียหายเยอะ บริษัทรับประกันต่อยักษ์ใหญ่ของโลกนำโดย “ลอยด์ส” ประเมินไทย “พื้นที่เสี่ยง” ภัยธรรมชาติจากอดีตไม่เสี่ยง ต้องโค้ดเบี้ยใหม่ ชี้เบี้ยน้ำท่วมในไทยต่ำสุดในเอเชียอัตรา 0.01-0.10% ของทุนประกันภัย

ประกันภัยรถยนต์ น้ำท่วม บริษัทใช้เรตต่ำสุด ย้ำหากรัฐสปีด 3 มาตรการ “เร่งน้ำลด-จ่ายสินไหมเร็ว-Flood Model” เป็นรูปธรรมไม่เกินเมษาเบี้ยลดลงแน่ วงการประสานเสียงเบี้ยขึ้นแน่ มากน้อยตามความเสี่ยงหนักสุดอาจพุ่งถึง 400% ส.นายหน้าเผยค่ายประกันภัยต่อสัญญาน้ำท่วมให้ลูกค้าแล้ว แต่ลดความคุ้มครองบีบรับค่าเสียหายส่วนแรก 5,000-20,000 บาท

เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบ ธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า เหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นทำให้เบี้ยประกันภัยน้ำท่วมในประเทศไทยแพงขึ้นจากเดิมมาก เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นสร้างความเสียหาย ทั้งต่อบริษัทประกันภัยภายในประเทศและบริษัทรับประกันภัยต่อ (รีอินชัวเรอส์) ในต่างประเทศ อย่าง ลอยด์ส ซึ่งเป็นตลาดประกัน ภัยที่มีขนาดใหญ่สุดของโลก บริษัท สวิส รี บริษัท มิวนิค รี ที่เพิ่งเดินทางไปพบมา แม้ไม่ถึงขั้นปิดประตูรับประกันภัยต่อภัยน้ำท่วมในไทย แต่มองไทยมีความเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติโดยเฉพาะน้ำท่วม ต้องวิเคราะห์ความเสี่ยงภัยใหม่ เพราะผู้รับประกันภัยต่อไม่ได้เจอน้ำท่วมแค่ในไทยเท่านั้น ปีนี้เจอทั้งน้ำท่วมใหญ่ในจีนและเวียดนาม มุมมองต่อภัยน้ำท่วมในเอเชียเปลี่ยนไปมองเป็นภัยที่เกิดบ่อยขึ้น ดังนั้นราคาเบี้ยประกันภัยต้องว่ากันใหม่ส่วนเบี้ยจะแพงขึ้นเท่าไหร่บอกไม่ได้

“เรื่องเบี้ยน้ำท่วมเราก็ติดตามอยู่ ตราบใดยังไม่เลยขั้นสูงก็ไม่เป็นไร แต่เราไม่อยากให้ข้อมูลหรือชี้นำใดๆ ให้เป็นกลไกเชิงพาณิชย์ เพื่อให้เกิดการแข่งขันในตลาดทั้งบริษัทประกันภัยและบริษัทรับประกันภัยต่อ สาเหตุที่เบี้ยน้ำท่วมในบ้านเราต่ำมากในอดีต เพราะการแข่งขันในตลาด อีกทั้งเป็นภัยที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในระดับที่กว้างขวางและรุนแรงมากแบบนี้ กอปรกับมาตรการจัดการ ความเสี่ยงที่มีอยู่เดิมทำงานไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร”

อย่างไรก็ดี เลขาธิการคปภ.กล่าวว่า ระหว่างนี้ภาครัฐต้องเร่งกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงน้ำมีอยู่ 3 ข้อคือ 1.เร่งน้ำลดให้เร็วที่สุดหากน้ำไม่ลดหรือเน่าเสียจะยิ่งมีผลกระทบมาก 2.ประเมินความเสียหาย เร่งกระชับกระบวนการชำระค่าสินไหมทดแทน ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่จะส่งให้รีอินชัวเรอส์รับรู้ และ 3.จัดทำ Flood Model เป็นโครงสร้างความเสี่ยงภัยน้ำท่วม ความเสียหายเป็นอย่าง ไร ความน่าจะเป็นที่จะเกิดภัยน้ำท่วมในแต่ละพื้นที่มีมากน้อยแค่นั้น ความเสียหายเท่าไหร่เป็นข้อมูลประกอบให้กับรีอินชัวเรอส์ควรจะรับประกันภัยเท่าไหร่ เบี้ยควรจะเป็นเท่าไหร่ ซึ่งมาตรการนี้เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับรีอินชัวเรอส์คาดว่าน่าจะเห็นเป็นรูปธรรม ภายในไตรมาสหนึ่งและน่าจะทำให้ราคาเบี้ยประกันภัยน้ำท่วมลดลงภายในเดือนเมษายนนี้

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานกลยุทธ์และนวัตกรรมสายงานพัฒนาธุรกิจ บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด กล่าวว่า จากเหตุน้ำท่วมครั้งนี้เบี้ยประกันภัยต่อที่โค้ดราคากันจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ระดับ 20% ขึ้นไป บางตัวเพิ่มสูงถึง 400% เพราะขีดความสามารถในการรับประกันภัยหายาก อีกทั้งไทยติดประเทศท็อปเสี่ยงภัยน้ำท่วมในรอบ 5 ปีจากเดิมไม่ติด ซึ่งในประเทศไทยมีบริษัทประกันภัยต่อเข้ามาทำตลาดประมาณ 400 รายและมี 4-5 รายที่กุมส่วนแบ่งตลาด (มาร์เก็ตแชร์) สูงสุด เช่น มิวนิค รี, สวิส รี, CCR และ Asian Capital Re (ACR) ซึ่งอาจจะเปลี่ยนมุมมองต่อตลาดไทย

นายกสมาคม นายหน้าประกันภัยไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ลูกค้าประกันภัยทรัพย์สินได้รับการต่อสัญญาประกันต่อหมดทุกราย แล้วแต่มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขจากเดิมที่ภัยน้ำท่วมจะได้รับความคุ้มครองในสัดส่วนที่สูง เช่น ทุนประกันภัยเท่าไรก็คุ้มครองเท่าทุน แต่ตอนนี้มีจำกัดวงเงินความรับผิดสูงสุดต่อภัยหรือซับ ลิมิต (Sub Limit) และในลูกค้าบางรายส่วนใหญ่เป็นบ้าน-ที่อยู่อาศัย ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายส่วนแรก (Deductible) ด้วยตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท ขึ้นอยู่กับบริษัทประกันภัยซึ่งแต่ละแห่งคิดไม่เท่ากัน

ที่มา : สยามธุรกิจ