ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

ประกันภัยน้ำท่วมลำเค็ญขึ้นเบี้ย ลดทุน เพิ่มดีดัค เงื่อนไขใหม่รีอินชัวเรอส์

การประกันภัยเข้มข้นมากขึ้น ปรับเบี้ยประกันภัยเพิ่มขึ้น เพื่อให้สอดรับกับความเสี่ยง แต่ก็ขึ้นอยู่กับพื้นที่โดยพื้นที่ เสี่ยงสูงอาจจะถูกปรับเงื่อนไข

ประกันภัยน้ำท่วมลำเค็ญขึ้นเบี้ย ลดทุน เพิ่มดีดัค เงื่อนไขใหม่ปีหน้าบริษัทรีอินชัวเรอส์

กันยายน
22

โดย สยามธุรกิจ วันที่ 17 กันยายน 2554 เวลา 00:00 น.

นายกสมาคมประกันวินาศภัยกล่าวถึง วิกฤตการณ์น้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่ของประเทศไทยในขณะนี้ว่า ระยะหลังประเทศไทยเกิดน้ำท่วมถี่ขึ้นและหนักมากขึ้น ในแง่ของประกันภัยมองได้ทั้งแง่บวกแง่ลบ แง่ลบคือภัยน้ำท่วมมีโอกาสเกิดมากขึ้น สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนในการดูแลภัยธรรมชาติเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เบี้ยประกันภัยแพงขึ้น แต่ในแง่บวกเป็นการสร้างจิตสำนึกกระตุ้นผู้บริโภค ตื่นตัวเห็นถึงความสำคัญของประกันภัยมากขึ้น ในฐานะเป็นเครื่องมือลดความเสี่ยง

ทั้งนี้ความเสี่ยงจากภัยน้ำท่วมที่มีมากขึ้น อาจจะทำให้บริษัทประกันภัยปรับเงื่อนไขในการประกันภัยเข้มข้นมากขึ้น ปรับเบี้ยประกันภัยเพิ่มขึ้น เพื่อให้สอดรับกับความเสี่ยง แต่ก็ขึ้นอยู่กับพื้นที่โดยพื้นที่เสี่ยงสูง อาจจะถูกปรับเงื่อนไข หรือเบี้ยประกันภัยมากกว่าพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่ำ หรือบางพื้นที่ไม่ได้รับผลกระทบเลย ขณะที่ผลกระทบจากบริษัทรับประกันภัยต่อ (รีอินชัวเรอส์) ในต่างประเทศ ที่ประสบปัญหาขาดทุนจากมหันตภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วโลก ในช่วงครึ่งปีแรกนี้จะปรับการรับประกันภัยลูกค้าในประเทศไทย ที่ซื้อประกันภัยทรัพย์สินคุ้มครองภัยธรรมชาติ ทั้งเงื่อนไขและเบี้ยประกันนั้น ไม่ใช่รีอินชัวเรอส์ทุกบริษัทขาดทุน ยังมีบางบริษัทไม่ขาดทุน

ด้านกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน) ให้ความเห็นว่า ทางรีอินชัวเรอส์รายใหญ่ๆ ส่งสัญญาณถึงภัยน้ำท่วมในประเทศไทย ท่วมบ่อยเกินไป แม้ที่ผ่านมาจะเริ่มพูดกันมาหลายครั้ง แต่ครั้งนี้น่าจะเอาจริง ซึ่งในการต่อสัญญาประกันภัยทรัพย์สิน (Industrial All Risk : IAR) ปลายปีนี้ เป็นไปได้ที่รีอินชัวเรอส์อาจจะลดการจำกัดวงเงินความรับผิดสูงสุดต่อ 1 ภัย (Sub Limit) เพื่อจำกัดความคุ้มครองน้ำท่วมในประเทศไทยจากเดิมไม่มี

สำหรับแอกซ่าประกันภัย บริษัทเริ่มเทกแอ็กชั่นประกันภัยธรรมชาติ ด้วยการปรับการรับประกันภัยตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งใช้มาจนถึงวันนี้ ทั้งลดการจำกัดวงเงินความรับผิดสูงสุดต่อ 1 ภัย (Sub Limit) ลงเหลือไม่เกิน 10% ของทุนประกันจากเดิมไม่ได้จำกัด กำหนดให้ลูกค้าร่วมรับผิดชอบค่าเสียหายส่วนแรก (Deductible) 10% ของความเสียหาย เป็นต้น รวมถึงปรับเบี้ยประกันภัยเพิ่มขึ้น ชนเพดานเบี้ยขั้นสูงสุด ที่คปภ.กำหนดให้ใช้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ที่บริษัทออกเป็น 3 ระดับคือระดับ 1 น้ำท่วมไม่เกิน 1 เมตร ระดับ 2 ไม่เกิน 2 เมตร และระดับ 3 ไม่เคยท่วมเลย เพื่อสะดวกในการรับประกันภัย

สอดคล้องกับมุมมองของกรรมการผู้จัดการบริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) ที่ให้ความเห็นว่า เท่าที่รู้รีอินชัวเรอส์เฝ้าจับตาดูประเทศไทยอยู่ เป็นเขตภัยน้ำท่วมเหมือนญี่ปุ่น หรือไต้หวันที่ถูกจัดเป็นเขตแผ่นดินไหว ซึ่งเท่าที่ดูน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยขณะนี้ ยังไม่ส่งผลกระทบกับรีอินชัวเรอส์มากเท่ากับปีที่ผ่านมา ที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ที่โคราชรวมไปถึงภาคใต้และภาคกลาง โดยครั้งนี้ทรัพย์สินขนาดใหญ่ประเภทอุตสาหกรรม โรงงาน โรงแรม ไม่ได้รับความเสียหายมาก ที่เสียหายส่วนใหญ่เป็นไร่นา

ในส่วนของบริษัท เฝ้าระวังเป็นพิเศษในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก อย่างสิงห์บุรี อ่างทอง เพราะลูกค้าเคลมทุกปี หรือในพื้นที่มีความเสียหายมากอย่างเชียงใหม่ หาดใหญ่ สมุย ให้คำแนะนำลูกค้าปรับปรุงวิธีป้องกันความเสี่ยง เช่น โรงแรมมีมาตรการป้องกันน้ำท่วมถึงระดับไหน เป็นต้น ทำให้เบี้ยประกันภัยไม่เพิ่มขึ้นมาก เพราะส่วนหนึ่งลูกค้ามีการลงทุนระบบป้องกันความเสี่ยง ซึ่งการทำประกันภัยทรัพย์สินคุ้มครองภัยธรรมชาติในวันนี้ ผู้ประกอบการต้องมีมาตรการป้องกันความเสี่ยง เพราะไม่ใช่บริษัทประกันภัยทุกบริษัทจะรับประกันภัยเหมือนในอดีต การรับประกันภัยในวันนี้ 1. ดูระบบป้องกันความเสี่ยง, 2. โซนอันตราย

“หลายบริษัทกังวลเรื่องน้ำท่วม ไม่รู้รีอินชัวเรอส์ที่ต่างประเทศจะใส่เงื่อนไขอะไรเพิ่มเติมเข้ามาหรือไม่ เช่น อาจจะกำหนดความรับผิดชอบสูงสุงต่อเหตุการณ์ สำหรับภัยธรรมชาติ (Event Limit) จากเดิมไม่กำหนด หรือกำหนดซับลิมิต แนวโน้มพวกนี้จะมีมากขึ้น แต่ขึ้นอยู่ภับสภาพรีอินชัวเรอส์ทั้งหมดเขาจะเคร่งครัดแค่ไหน”

ที่มา : สยามธุรกิจ