ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

บอร์ดคปภ. ห่วง3ค่ายประกันโคม่า

ข่าวประกันภัยรถยนต์ ค้นหาประกันภัยรถยนต์ราคาถูก ประกันภัยรถเก๋ง TodayInsure

บอร์ดคปภ. ห่วง3ค่ายประกันโคม่า

กันยนยน
25

โดย ฐานเศรษฐกิจ วันพุธที่ 22 กันยายน 2553

ณรงค์ชัย อัครเศรณี กล่าวย้ำห่วงประกันซุกปัญหา พบสัดส่วน 6% ใน 95 บริษัท กองทุนต่ำกว่าเกณฑ์RBC 120% และอีก 3 บริษัทยังโคม่า ยันกฎเหล็กเข้มรุดเข้าควบคุม หากไม่จ่ายสินไหมและมีโอกาสสั่งปิดได้ แต่เอื้อหาทางออกผนึกเอกชน ล่าสุด ชูแผนพัฒนาประกันภัยฉบับ 2 สร้างเสถียรภาพความแข็งแกร่งตามมาตรฐานสากล ด้าน คปภ. พุ่งเป้าเพิ่มมาตรฐานให้บริการและการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ ผู้เอาประกัน สร้างความเชื่อมั่นระยะยาว นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐศาสตร์ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)และประธานอนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่2 (พ.ศ.2553-2557) กล่าวว่า ภายในปี 2554 นี้ จะเริ่มปรับใช้แนวทางการกำกับดูแลเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง RBC แบบค่อยเป็นค่อยไป หลังจากการดำเนินการทดสอบคู่ขนาน(Parallel Test) และกำลังปรับปรุงค่าพารามิเตอร์ให้เหมาะสมกับธุรกิจประกันภัยไทยสิ้นปีนี้ ดังนั้น เมื่อถึงปี 2557 บริษัทประกันทุกบริษัท ทั้งประกันชีวิตและประกันวินาศภัย ต้องมีความพร้อมอย่างครบถ้วน และมีอัตราส่วนการดำรงเงินกองทุนตามกฎหมายไม่ต่ำกว่า 120% ให้เป็นไปตามแนวทางการกำกับความมั่นคงของบริษัทประกันภัย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบประกันภัยให้มากขึ้น

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันทางคณะกรรมการ ยังมีความเป็นห่วงอย่างมากเนื่องจากพบว่า มีสัดส่วนบริษัทประกันประมาณ 6% จากทั้งหมด 95 บริษัท ( ประมาณ 5-6 บริษัท ) ยังมีเงินกองทุนต่ำกว่า 120% และมีอีก 3 บริษัทต่ำกว่า 100% ถูกหยุดรับประกันภัยชั่วคราวและต้องเร่งแก้ไขฐานะทางการเงิน ได้แก่ 1. บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด (บจก. ) 2. บจก. เอ.พี.เอฟ อินเตอร์เนชั่นแนล อันชัวรันส์ 3. บจก. ลิเบอร์ตี้ประกันภัย

ทั้งนี้ หากบริษัทใดไม่มีสภาพคล่องทางการเงิน ไม่สามารถจ่ายสินไหมให้กับผู้เอาประกันภัยที่เดือดร้อนได้ ทางคณะกรรมการถึงจะเข้าไปควบคุม ดังนั้นบริษัทประกันภัยทุกแห่ง ต้องปรับตัวพร้อมรับความท้าทายในอนาคต เพราะระบบประกันภัยไทยถือเป็นกลไกสำคัญในการสร้างหลักประกันความมั่นคงของสังคมทุกระดับ ตามแนวทางแผนพัฒนาพัฒนาการประกันภัยฉบับที่ 2 (ปี 2553 -2557) ที่มุ่งเน้น 4 มาตรการ คือ 1. สร้างความเชื่อมั่น การให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของระบบการประกันภัย 2. เสริมสร้างความมั่นคง เพิ่มประสิทธิภาพของระบบประกันภัยให้มีความพร้อมต่อการแข่งขันในระดับสากล 3. เพิ่มมาตรฐานการให้บริการและการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านการประกันภัย 4. ปรับกฎหมายให้มีความทันสมัย พัฒนาบุคลากรประกันภัย ปรับปรุงระบบภาษีเพื่อการพัฒนาประกันภัย

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ