ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

นับหนึ่งใหม่ ประกันภัย ทัวร์ต่างชาติ รัฐพลิกลิ้นคุ้มครอง "เจ็บป่วย"

ให้บริษัท ประกันภัย รับ ประกันภัย ต้องนับหนึ่งใหม่ หรือ สธ.จะรับ ประกันภัย เอง ตั้งเป็นกองทุน เก็บเบี้ย ประกันภัย เข้ากองทุน หาคนมาบริหาร

นับหนึ่งใหม่ ประกันภัย ทัวร์ต่างชาติ รัฐพลิกลิ้นคุ้มครอง "เจ็บป่วย"

มิถุนายน
29

แผนปลุกปั้น "โครงการ ประกันภัย นักท่องเที่ยวต่างชาติ" ของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สนอง นโยบายรัฐยกไทยเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพ (Medical Hub) ให้นักท่องเที่ยวต่างชาติทุกราย ที่ขอรับการตรวจวีซ่าเข้าไทย จะต้องซื้อ ประกันภัย หวังลดภาระด้านค่ารักษาของรัฐส่อเค้าลากยาว เมื่อเจ้าของโครงการยังไม่ฟันธง จะให้นักท่องเที่ยวทำ ประกันภัย แบบใดกันแน่

สธ.ไม่เอาพีเอนักท่องเที่ยว อยากได้ ประกันภัย สุขภาพคลุมเจ็บป่วย

ข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) เปิดว่า จนถึงขณะนี้โครงการ ประกันภัย นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ยังไม่สามารถเริ่มดำเนินการได้ เพราะกระทรวงสาธารณสุขยังไม่ตัดสินใจ จะให้นักท่องเที่ยวทำ ประกันภัย ประเภทใด หลังจากคปภ. สมาคมประกันชีวิตไทย และสมาคมประกันวินาศภัยไทย นำเสนอรูปแบบเป็นการ ประกันภัย อุบัติเหตุ (ประกันภัย พีเอ) พ่วงค่ารักษาพยาบาล โดยจะคุ้มครองกรณีประสบอุบัติเหตุ สูญเสียอวัยวะสองส่วน อาทิ แขน ขา สาย ตาหรือทุพพลภาพภาวรสิ้นเชิง จำนวนเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท หากสูญเสียอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง จะคุ้มครอง 600,000 บาท หากต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล จ่ายตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง ครั้งละไม่เกิน 300,000 บาท เบี้ย ประกันภัย 1,200 บาทต่อคน โดยนักท่องเที่ยวที่จะทำ ประกันภัย จะต้องพำนักในประเทศไทยเกิน 30 วัน และต้องขอการอนุมัติเข้าเมือง หรือวีซ่าอย่างถูกกฎหมาย

"ทางเราเสนอไปแล้ว อยู่ที่ สธ.จะตัด สินอย่างไร ปัญหาในตอนนี้คือ สธ.อยากได้ ประกันภัย สุขภาพ ที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วย มากกว่า ประกันภัย อุบัติเหตุ ที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล ที่คุยกันไว้ในตอนแรกตามโจทย์ที่ สธ.ให้มา ที่อยากให้โครงการเกิดเร็ว ซึ่ง ประกันภัย พีเอก็ตอบโจทย์ได้ แต่พอมาเป็น ประกันภัย สุขภาพ คุ้มครองการเจ็บป่วย การบริหารเคลมจะยุ่งยากกว่าพีเอเยอะ เช่น ถ้านักท่องเที่ยวเคยเจ็บป่วยด้วยโรคบางโรคอยู่แล้ว แถลงว่าไม่ได้เป็น พอเข้ามาไทยมาเคลมโรคนี้ จะพิสูจน์อย่างไร หากบริษัทไม่จ่ายจะมีปัญหาตามมา และเบี้ย ประกันภัย คงจะแพงกว่านี้"

อีกจุดที่ทาง สธ.ต้องตัดสินใจคือ จะให้บริษัท ประกันภัย เป็นคนรับ ประกันภัย หรือทาง สธ.จะรับ ประกันภัย เอง ในลักษณะตั้งเป็นกองทุนขึ้นมา เก็บเบี้ย ประกันภัย เข้ากองทุน แล้วหาคนมาบริหารเหมือนกองทุนส่งเสริมการ ประกันภัย พิบัติ เพราะถ้าหากให้บริษัท ประกันภัย รับภายใต้โจทย์นี้ ต้องกลับไปตั้งต้นนับหนึ่งกันใหม่

วินาศภัยมึน รื้อใหม่ไม่ต่ำกว่า 3 เดือน หวั่น ประกันภัย สุขภาพเบี้ยแพงขายยาก

สมาคมประกันวินาศภัยไทย ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ทาง สธ.มองว่า ประกันภัย อุบัติเหตุไม่ตอบโจทย์ของ สธ. ที่อยากได้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยมากกว่า ซึ่งในมุมของธุรกิจประกันวินาศภัยมองว่า ค่ารักษาพยาบาลชาวต่างชาติ รวมการส่งตัวกลับไปรักษาตัวต่อที่ต่างประเทศ ถ้าจะให้วงเงินเพียงพอ อยู่ระหว่าง 300,000-500,000 บาทต่อครั้ง ซึ่งปัจจัยในการพิจารณาความเสี่ยง ที่มีผลต่อการรับ ประกันภัย มี 2-3 ประเด็น คือ

  1. ถ้าเป็น ประกันภัย ภาคบังคับ กำหนดให้ชาวต่างชาติทุกคนที่ขอวีซ่าเข้าประเทศไทย ต้องทำ ประกันภัย ในเรื่องความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยมีมากน้อยแค่ไหน และไม่สามารถใช้อัตราเบี้ย ประกันภัย ปกติได้ เพราะการรับ ประกันภัย สุขภาพ ปกติต้องมีการพิจารณาก่อน อาทิ สอบถามประวัติการเจ็บป่วย ถ้าคนเสี่ยงสูง อาจจะไม่รับทำ ประกันภัย แต่ชาวต่างชาติต้องรับ ประกันภัย ทุกคนมีมิติความเสี่ยงต่างกัน
  2. ในเชิงสถิตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาประเทศไทยปีละเท่าไหร่ การเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลมีค่ารักษาเท่าไหร่
  3. ค่ารักษาพยาบาลอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ เพราะสมาคมโรงพยาบาล อยู่ระหว่างปรับเพิ่มค่ารักษาพยาบาล จะมีผลกระทบในเชิงต้นทุนค่าสินไหมทดแทน

"จากโจทย์ใหม่ของ สธ. เท่ากับต้องกลับไปตั้งต้นกันใหม่ และยังมีเรื่องวิธีการขายด้วย คาดว่าน่าจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 เดือนถึงจะออกมาได้"

ประกันชีวิตไม่เกี่ยง ขยายคุ้มครอง รุก สธ.เคาะ "ส่วนบวกเพิ่ม" คิดค่าเบี้ย ประกันภัย

ข่าวจากสมาคมประกันชีวิตไทย ให้ความเห็นว่า การเปลี่ยนมาเป็น ประกันภัย สุขภาพ โดยเพิ่มค่ารักษาพยาบาลเจ็บป่วยไม่เป็นปัญหา เบี้ย ประกันภัย เพิ่มจากเดิมไม่มาก เพราะนักคณิตศาสตร์ ประกันภัย คำนวณเบี้ย ประกันภัย ตามต้นทุนจริงออกมาเป็นเบี้ย ประกันภัย สุทธิ (Net Premium) ซึ่งในส่วนของประกันชีวิต คือ เบี้ย ประกันภัย ที่คำนวณขึ้นมาโดยอาศัยอัตรามรณะ และดอกเบี้ย ไม่รวมส่วนบวกเพิ่ม (Loading) เช่น กำไร และค่าใช้จ่ายต่างๆ เป็นอัตราเบี้ย ประกันภัย ที่เป็นธรรม เอาแค่บริษัท ประกันภัย พออยู่ได้เท่านั้น

แต่ปัญหา คือ ส่วนบวกเพิ่ม ทางกระทรวงสาธารณสุขยังไม่ได้บอกมาว่า จะมีค่าอะไรบ้าง เช่น หากจะให้ ตม.ขายให้ ก็ต้องบวกค่าใช้จ่ายให้กับ ตม. เป็นเท่าใด หรือกระทรวงสาธารณสุขเอง จะคิดค่าใช้จ่ายเท่าใด หน่วยงานไหนจะคิดค่าใช้จ่ายเท่าใด ก็ต้องบอกมาให้หมด เพื่อกำหนดออกมาเป็นอัตราเบี้ย ประกันภัย ที่จะขายจริง

"กระทรวงสาธารณสุขต้องบอกมาว่า จะคิดค่าใช้จ่าย หรือค่าบริการ ที่จะให้หน่วยงานต่างๆ เท่าใด จะได้บวกเพิ่มไป เพื่อคำนวณออกมาเป็นเบี้ย ประกันภัย รวมเพื่อเสนอขาย ซึ่งตอนนี้ปัญหาไม่ได้อยู่ที่แบบ ประกันภัย หรือเบี้ยแพง แต่อยู่ที่วิธีการขายจะทำยังไง จะบังคับให้นักท่องเที่ยวซื้อได้ยังไง เรื่องนี้ยังไม่มีข้อสรุป มีคนเสนอบวกไปในค่าตั๋วเครื่องบินเลย แต่สายการบินที่มาไทย ไม่ได้มีสายการบินเดียว การบังคับให้บวกเพิ่มเข้าไปในค่าตั๋วคงยาก หรือจะให้ ตม.ขายให้ แล้วใครจะเป็นผู้เก็บค่าเบี้ย ประกันภัย ให้ ใครจะรับผิดชอบจุดนี้มากกว่าที่เป็นปัญหา"

ที่มา : สยามธุรกิจ