ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

รื้อ ประกันภัยรถยนต์ พรบ. เพิ่มคุ้มครองทรัพย์สิน

แก้กฎหมาย ประกันภัย พ.ร.บ. ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ ทั้งตัวคนและทรัพย์สิน ส.ประกันวินาศภัย เสนอช่วงแรก รถยนต์ ก่อน กลัวทำเคลมไม่ทัน

รื้อ ประกันภัยรถยนต์ พรบ. เพิ่มคุ้มครองทรัพย์สิน

กรกฎาคม

3

จับตาการแก้กฎหมาย ประกันภัย พ.ร.บ. เพิ่มความคุ้มครองทรัพย์สิน ที่เสนอเรื่องโดย สนช. เนื่องจาก พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 คุ้มครองเฉพาะชีวิตร่างกายของประชาชนที่ประสบภัยจากรถ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ เมื่อมีอุบัติเหตุทางรถเกิดขึ้น จะเกิดความเสียหายทั้งคนและทรัพย์สิน ซึ่งก็คือตัว รถยนต์ ซึ่งไม่มี ประกันภัย ทางสนช. มองว่าเป็นภัยที่ผู้ใช้รถต้องทำ ประกันภัยทรัพย์สิน โดยหลักประกันคือ ประกันภัยภาคบังคับทั้งตัวคนและทรัพย์สินด้วย

นายชนะพล มหาวงษ์ รองเลขาธิการด้านกฎหมายคดีและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ สนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า สนักงาน คปภ.ได้รับหนังสือจากกระทรวงการคลัง ให้แสดงความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฉบับใหม่ (ประกันภัยภาคบังคับ) ที่อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นผู้เสนอร่างไว้ก่อนหน้านี้ โดยเสนอให้แก้ไข การประกันภัย พ.ร.บ. จะเพิ่มความคุ้มครองทรัพย์สินบุคคลภายนอกด้วย จากเดิมคุ้มครองความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตและร่างกาย ซึ่งคาดว่า สนักงาน คปภ.จะเสนอความเห็นกลับไปยังกระทรวงการคลัง โดยขั้นตอนต่อจาก นั้น กระทรวงการคลังก็จะส่งเรื่องกลับไปที่ สนช. เพื่อนำไปพิจารณาและดำเนินการต่อในสภาต่อไป

นายอานนท์ วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย ให้ความเห็นว่า การจะกำหนดให้ ประกันภัย พ.ร.บ.คุ้มครองทรัพย์สินบุคคลภายนอกด้วย เป็นเรื่องที่ดี แต่จะขอเสนอให้เริ่มจาก ประกันภัยรถยนต์ ก่อน เพราะปัจจุบันมี รถยนต์ ทำ ประกันภัยภาคสมัครใจ ที่มีความคุ้มครองทรัพย์สินบุคคลภายนอก อยู่กว่า 60% ของจำนวนรถยนต์ทั้งหมดในระบบแล้ว เท่ากับมี รถยนต์ เหลืออยู่อีกแค่ 30% เศษเท่านั้นที่ทำเฉพาะ ประกันภัยภาคบังคับ ไม่ได้คุ้มครองทรัพย์สินบุคคลภายนอก

ส่วนการ ประกันภัย พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ หากเพิ่มคุ้มครองทรัพย์สินในทันที เกรงว่า บริษัทประกันภัย จะไม่สามารถให้บริการด้านการเคลมได้ทัน เนื่องจาก รถจักรยานยนต์ ที่ทำ ประกันภัย พ.ร.บ.มีจำนวน 20 ล้านคัน มีสถิติเกิดอุบัติเหตุเฉียวชนรถคันอื่นเยอะ เมื่อเกิดเหตุต้องส่งพนักงานสำรวจอุบัติเหตุ (Surveyor) ออกไปทำเคลมทันที ต้องมีคนออกไปเซอร์วิส ต้องวิ่งออกไปดู ไปถ่ายรูป ไปติราคา จะยุ่ง กลัวจะไม่ทัน กลัวภาพจะไม่ดี ซึ่งในปัจจุบัน ประกันภัย พ.ร.บ.เคลมโดยโรงพยาบาลเป็นส่วนใหญ่ ไม่ต้องวิ่งออกไปเซอร์วิสโดยทันทีทันใด

ถามว่า ถ้าเพิ่มความคุ้มครองทรัพย์สิน ต้องบวกเบี้ยประกันภัยเพิ่มขึ้นหรือไม่ นายอานนท์ กล่าวว่า ถ้าตามหลักการก็ต้องบวกเบี้ย ประกันภัย เพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องไปถึง ประกันภัยภาคสมัครใจ ประเภท 3 แต่จริงๆ แล้ว การ ประกันภัย พ.ร.บ.ไม่กล้าให้มีความคุ้มครองสูงมาก เพราะเป็นความคุ้มครองพื้นฐาน โดยเมื่อมีการเพิ่มความคุ้มครอง บริษัทประกันภัย อาจจะต้องปรับสินค้า อาจจะมี ประกันภัย พ.ร.บ. รวมทรัพย์สิน เหมือน ประกันภัย ประเภท 3 ที่ถูกลดความคุ้มครองลงมา

เครดิต: สยามอินชัวร์ นิวส์

ที่มา : ทูเดย์อินชัวร์