ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

Balancing Sugar & Salt “หวานและเค็ม” ให้พอดี

น้ำตาลและเกลือเป็นส่วนผสมที่มีอยู่ในอาหาร ขนม เครื่องดื่ม มีประโยชน์ หากกินในปริมาณที่เหมาะสม

Balancing Sugar & Salt “หวานและเค็ม” ให้พอดี

เมษายน

5

น้ำตาลและเกลือเป็นส่วนผสมที่มีอยู่ในอาหาร ขนม รวมทั้งเครื่องดื่มแก้วโปรด โดย น้ำตาล เป็นสารที่ให้ความหวาน และให้พลังงานแก่ร่างกาย ส่วนโซเดียมใน เกลือ ก็ช่วยรักษาสมดุลของระบบของเหลวในร่างกาย จึงกล่าวได้ว่า น้ำตาล และ เกลือ มีประโยชน์ หากกินในปริมาณที่เหมาะสม

แต่ในปัจจุบันพบว่า คนไทยกินน้ำตาลและเกลือมากเกินไป สาเหตุส่วนหนึ่งเพราะไม่รู้ว่า ในอาหารมีปริมาณน้ำตาลและเกลือมากน้อยแค่ไหน แต่หลักๆ เป็นเพราะความชอบอาหารรสจัด ทั้งหวาน เค็ม เผ็ดเปรี้ยว เมื่อกินบ่อยๆ ก็เกิดความเคยชิน และติดรสชาติเหล่านี้

น้ำตาลและเกลือ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิด โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน เมื่อเป็นเช่นนี้จึงอยากให้เราทำความเข้าใจ เพื่อที่จะ จัดสรร ความหวาน และ ความเค็ม ให้พอดี

SUGAR “น้ำตาล”

เป็นสารอาหารจำพวก คาร์โบไฮเดรต ที่มีรสหวาน สามารถจัดประเภทจากแหล่งที่มิที่มาออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

น้ำตาลที่ได้จากธรรมชาติ เช่น น้ำตาลทราย น้ำตาลกรวด น้ำตาลมะพร้าว น้ำผึ้ง น้ำเชื่อม เป็นต้น

น้ำตาลเทียม เป็นสารที่ให้ความหวานที่สังเคราะห์ขึ้น ซึ่งสามารถให้ความหวานได้มากกว่าน้ำตาล แต่ให้พลังงาน หรือแคลอรี่ต่ำ ได้แก่ ซัคคารินหรือ ขันฑสกร แอสปาร์แทม เป็นต้น

“คนไทยขึ้นชื่อเรื่อง ติดหวาน การกินน้ำตาลอยู่ใน ระดับสูงมาก คือ 20 ช้อนชาต่อวัน” (องค์การอนามัยโลก แนะนำว่า ให้กินน้ำตาลน้อยกว่าร้อยละ 10 ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน และเพื่อสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น ควรกินน้ำตาลต่ำกว่าร้อยละ 5 หรือเทียบเท่า 6 ช้อนชาต่อวัน)

เพื่อสุขภาพที่ดีควรจำกัดการกินน้ำตาลดังนี้

SALT ความแตกต่างระหว่าง เกลือ และ โซเดียม

ในทางวิทยาศาสตร์ เกลือ คือสารประกอบทางเคมีที่เรียกว่า โซเดียมคลอไรด์ คำว่าเกลือและโซเดียมจึงมักใช้แทนกันและทำให้หลายคนคิดว่า เกลือกับโซเดียม คือสารเดียวกัน แต่ความจริงไม่ใช่ เพราะ เกลือ คือสารประกอบที่มีโซเดียม ร้อยละ 40 และคลอไรด์ ร้อยละ 60 โดยน้ำหนัก ดังนั้นเมื่อพูดถึง เกลือ 1 กรัม จึงหมายถึงโซเดียม 0.4 กรัม

โซเดียมมีอยู่ในอาหารแทบทุกประเภท

อาหารธรรมชาติ เนื้อสัตว์ต่างๆ ผลไม้ทุกชนิด ผัก ธัญพืช และถั่วเมล็ดแห้ง มีปริมาณโซเดียมที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยไม่จำเป็นต้องปรุงเพิ่มเลย
อาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส อาหารกระป๋องทุกชนิด อาหารหมักดอง อาหารเค็ม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป ขนมกรุบกรอบ เนื้อเค็ม ไข่เค็ม ปลาเค็ม ปลาร้า ผลไม้ดอง ซุปก้อน ผงชูรส เครื่องปรุงรส เป็นต้น
ขนมที่มีการเติมผงฟู เค้ก คุกกี้ แพนเค้ก ขนมปัง และแป้งสำเร็จรูป ซึ่งผงฟูที่ใช้ในการทำขนมเหล่านี้ จะมี โซเดียม เป็นส่วนประกอบ
เครื่องดื่มเกลือแร่ และน้ำผลไม้ มีการเติมสารประกอบของ โซเดียม ลงไปด้วย เพราะมีจุดประสงค์จะให้เป็นเครื่องดื่มสำหรับนักกีฬา หรือผู้ที่สูญเสียเหงื่อมาก ส่วนน้ำผลไม้บรรจุกล่อง ขวด หรือกระป๋อง ก็มักจะมีการเติมสารกันบูด (โซเดียมเบนโซเอต) ลงไป ทำให้น้ำผลไม้เหล่านี้มีโซเดียมสูง

กินเค็มให้ “เหมาะสม” จากการสำรวจการบริโภค เกลือแกง ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2552 พบว่า คนไทยได้รับ โซเดียม จากการกินอาหารมากถึง 4,351.69 มิลลิกรัมต่อวัน มากกว่าที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ คือ ไม่ควรเกิน 1 ช้อนชาต่อวัน หรือคิดเป็นปริมาณ โซเดียม 2,000 มิลลิกรัม

“สำหรับ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันสูง ควรลดเหลือเพียง 3/4 ช้อนชาต่อวัน หรือไม่เกิน 1,500 มิลลิกรัม”

เครดิต: SOOK (สุข) January 2018

ที่มา : ทูเดย์อินชัวร์