ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

รณรงค์ความปลอดภัยบนถนน ประเดี๋ยวประด๋าว..ไม่ได้แล้ว

ประชาชนไม่ได้มองการรณรงค์เป็นเรื่องสำคัญ “เป็นภาวะการสื่อสารที่ผู้รับไม่สนอง” ประยุกต์วิธีการให้ตรงกับสภาพความเป็นจริง

รณรงค์ความปลอดภัยบนถนน ประเดี๋ยวประด๋าว..ไม่ได้แล้ว

มกราคม

24

สำหรับภาพที่คุ้นหูคุ้นตาในช่วงใกล้ วันหยุดพักผ่อนยาวๆ ช่วงระหว่างวันหยุด และหลังวันหยุด ก็คือการรณรงค์ป้องกันการเกิด อุบัติเหตุบนท้องถนน ทั้งการเปิดไฟใส่หมวก เมาไม่ขับ ง่วงไม่โทร รักษ์วินัยจราจร แต่ผลที่ออกมาก็ตอกย้ำถึงการสูญเสีย..ซ้ำซาก

และจากสถิติของบ้านเราที่เผยแพร่ออกมา เราๆ ท่านๆ อาจจะทราบถึงเรื่องการจัดอันดับว่า “ไทยเป็นประเทศที่มีคนเสียชีวิต จากอุบัติเหตุบนท้องถนน มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก” ซึ่งอาจมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รับรู้รับทราบ พยายามหาทางลดอันดับสถิตินี้ลง

ประเทศไทยต้องพิจารณา ทบทวนข้อมูลสถิติที่เกิดขึ้นที่แท้จริง วิเคราะห์ถึงผลกระทบที่ทำให้เกิดขึ้น ว่าเป็นความสูญเสียในระดับไหน เมื่อเปรียบเทียบกับอารยะประเทศ จากข้อมูลของ องค์การอนามัยโลก จัดทำข้อมูลออกมาเผยแพร่ในแต่ละปี โดยไม่ปล่อยให้มีการรณรงค์กันอย่างไร้ทิศทาง ต้องมองไปที่ความคุ้มค่าของค่าใช้จ่ายในการรณรงค์เทียบกับ เทียบกับจำนวนตัวเลขผู้เสียชีวิตที่ไม่เคยลดลงมีแต่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี

รวมถึงหน่วยงานที่จะเข้ามารับผิดชอบ เป็นหน่วยงานหลักในการแก้ปัญหา เพราะเนื่องจากทุกวันนี้ประชาชนไม่ได้มองเรื่องการรณรงค์เป็นเรื่องสำคัญ “เป็นภาวะการสื่อสารที่ผู้รับไม่สนอง” เพราะถูกยัดเยียดข้อมูลซ้ำซากต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายๆ ปี “ใส่หมวกกันน็อค 100% เมาไม่ขับ ไม่โทรในขณะขับรถ รักษ์วินัยจราจร ฯลฯ” กลับกลายเป็นข้อมูลเพื่อความสนุก วันนี้ตายกี่ศพ ปีใหม่ตายกี่ราย จังหวัดไหนมากที่สุด

แต่ว่าในขณะนี้เริ่มเห็นรูปแบบในการรณรงค์ เริ่มฉีกแนวความซ้ำซาก ตั้งอยู่บนพื้นฐานความจริงในเหตุที่เกิดขึ้น ซึ่งเกิดได้ทั้งจากคน รถ และถนน รวมไปถึงประยุกต์วิธีการรณรงค์ให้ตรงกับสภาพความเป็นจริงในแต่ละพื้นที่ อาทิ มีการพูดถึงเรื่องความจำกัดความเร็วของรถในเขตเมือง แก้ไขปัญหาในจุดเสี่ยงแต่ละพื้นที่ ด้วยการสอบสวนสาเหตุเชิงลึกของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น แล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหา การดึงคนในชุมชนของเจ้าของพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วม

เครดิต: สยามอินชัวร์ นิวส์

ที่มา : ทูเดย์อินชัวร์