ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

ปรับสินค้า ประกันภัย ใหม่ รับ ศก.ซบ

“กรมธรรม์มาตรฐาน” มีรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง เบี้ย ประกันภัย เหมือนกันหมด จับตาแจ้งเกิดสารพัดกรมธรรม์มาตรฐาน

ปรับสินค้า ประกันภัย ใหม่ รับ ศก.ซบ

มิถุนายน

23

ภาวะเศรษฐกิจที่บีบรัดให้ธุรกิจ ประกันชีวิต ต้อง “ปรับตัว” ปรับพอร์ตการรับ ประกันภัย จากขายสินค้าออมสั้นจำนวนมาก มาเป็นขายสินค้าคุ้มครองให้มากขึ้น เพื่อให้สอดรับกับภาวะ “ดอกเบี้ย” ที่ยังไม่ได้เชิดหัวขึ้นมากนัก ขณะเดียวกันก็ผลักดัน “สินค้าใหม่ๆ” ที่เป็นที่ต้องการของเทรนด์ตลาดยุคนี้ อย่างสินค้า “คุ้มครองสุขภาพ” ทั้งคุ้มครองโรคร้ายแรง และคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล ออกมาขายอย่างมาก

กระนั้นในห้วงเวลานี้ ยังเป็นโอกาสดีที่จะผลักดันให้มี “กรมธรรม์มาตรฐาน” ออกมาขาย ซึ่งส่วนหนึ่งเพื่อสนองนโยบายของผู้กำกับดูแล ที่ต้องการให้มีกรมธรรม์มาตรฐานออกมาขายมากขึ้น อีกส่วนหนึ่งก็ถือโอกาส “ระดมสมอง” คิดค้นสินค้าใหม่ๆ ร่วมกัน ในโมงยามที่มี “ปัจจัยกระทบ” หลายๆ อย่างต่อธุรกิจ ล้วนแต่เป็น “ตัวแปร” ชั้นดีที่ถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการคิดค้นกรมธรรม์มาตรฐาน ให้สอดรับกับสภาวการณ์ของตลาดเช่นกัน

“กรมธรรม์มาตรฐาน” ที่ว่าคือ กรมธรรม์กลางที่มีรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง และอัตราเบี้ย ประกันภัย เหมือนกันหมด ทำให้สำนักงาน คปภ.อนุมัติได้ง่าย ซึ่งบางแบบอาจจะไม่ต้องขอความเห็นชอบจากสํานักงาน คปภ.อีก เพียงแต่ต้องขออนุญาตนำมาขายเท่านั้นก็มี ถือเป็นหนึ่งในนโยบายส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของ บริษัทประกันภัย ผ่านการขยายแบบ ข้อความ กรมธรรม์ ประกันภัย และอัตราเบี้ย ประกันภัย แบบอัตโนมัติ หรือ “File & Use” เพื่อให้ บริษัทประกันภัย พัฒนาแบบ ประกันภัย ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น และทันต่อสภาวะตลาด

ตัวอย่างกรมธรรม์มาตราฐาน อาทิ กรมธรรม์เพื่อรายย่อยต่างๆ, กรมธรรม์คุ้มครองสินเชื่อเพื่อประชาชน, กรมธรรม์บำนาญมาตรฐาน เป็นต้น

กลับมาที่ กรมธรรม์มาตรฐาน ที่สมาคมประกันชีวิตไทยกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการคิดค้นในขณะนี้ ที่เป็นประเด็น “จุดพลุ” มานานแล้ว เช่น “กรมธรรม์ ยูนิต ลิงค์ มาตรฐาน” ซึ่งถือว่าสอดรับกับภาวะดอกเบี้ยในยุคนี้ ที่ต้องมี “สินค้าทางเลือก” ให้กับลูกค้าเพิ่มผลตอบแทนด้วยตัวเอง และยังเป็นการ “ช่วยเหลือ” บริษัทประกันชีวิตสมาชิก โดยเฉพาะบรรดา “ค่ายเล็ก” ที่อาจเสียเปรียบในเรื่องของ “โนว์ฮาว” ในการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ที่ต้องใช้ “ต้นทุนสูง” หากมีกรมธรรม์อัตโนมัติก็จะช่วยในเรื่องของต้นทุน และ “โอกาส” ในการทำตลาดได้เหมือน “ค่ายใหญ่-ค่ายกลาง” ซึ่งเท่าที่ประเมินสถานการณ์ น่าจะจัดทำเสร็จในปีนี้ แต่จะทันใช้ปีนี้หรือไม่ยังบอกไม่ได้ ขึ้นอยู่กับจะมีการ “ปรับแก้” กันกี่ยก

นอกจาก “กรมธรรม์ ยูนิต ลิงค์ มาตรฐาน” ล่าสุดแว่วว่า ทาง “สมาคมประกันชีวิตไทย” กำลังอยู่ระหว่างจัดทำ “กรมธรรม์ประกันกลุ่มมาตรฐาน” ขึ้น ซึ่งจะว่าไปก็สอดรับกับ “เทรนด์ตลาดรักสุขภาพ” ในช่วงนี้ เพราะส่วนใหญ่ ประกันกลุ่ม จะเน้นเรื่องของความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล และอีกด้านก็เปิดโอกาสให้ทุกค่ายได้เข้าไปช่วงชิงตลาดนี้มากขึ้น เพราะตลาด ประกันกลุ่ม เป็นอีกตลาดที่ขึ้นชื่อว่า “แข่งขันสูง” เรียกว่าเป็นตลาดที่ “ไม่แกร่งจริงอยู่ไม่ได้” ที่ผ่านมาเห็นผลชัดมาแล้วว่า หากเล่นตุกติก “ตัดเบี้ย” ต้องวอดวายไปทำตามๆ กัน ด้วยเหตุนี้ปัจจุบันเบี้ย ประกันกลุ่ม จริงๆ ถึงอยู่ในมือแค่ไม่กี่บริษัทเท่านั้น ยกเว้น ประกันชีวิต คุ้มครองสินเชื่อ (MRTA) ที่ดันจัดอยู่ในหมวดเดียวกัน ที่เบี้ยยังพอกระจายไปทั่วถึง

นับว่าน่าสนใจไม่น้อยที่จะมี “กรมธรรม์ประกันกลุ่มมาตรฐาน” ออกสู่ตลาด ซึ่งรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง และอัตราเบี้ยจะเป็นอย่างไร คณะทำงานกำลัง “ขะมักเขม้น” หารือกันอยู่

ขณะเดียวกันก็น่าจับตา กับการที่จะมีกรมธรรม์มาตรฐานออกสู่ตลาดหลากหลายแบบ ที่จะกระตุ้นการแข่งขันในตลาดมากขึ้น เพราะเชื่อว่า “ค่ายใหญ่-ค่ายกลาง” คงไม่อยู่เฉย ยิ่งมีกรมธรรม์มาตรฐานออกมาให้เห็น ก็ยิ่งเปิดโอกาสให้ “ต่อยอด” พัฒนาสินค้ามาใหม่ๆ ที่ล้ำไปจากกรมธรรม์มาตรฐานได้ เพิ่มทางเลือกให้ลูกค้า และเพิ่ม “ความได้เปรียบ” ในการแข่งขัน ถือว่านอกจากจะมีสินค้าอะไรใหม่ๆ ที่เป็น “มาตรฐาน” ผ่านการ “รับรอง” จากสำนักงาน คปภ.แล้ว ยังสร้างความคึกคักให้กับตลาด ประกันชีวิต ให้มีช่องทางทำตลาดใหม่ๆ อีกด้วย

ตอนนี้ได้แต่ภาวนา กรมธรรม์มาตรฐานต่างๆ “สำเร็จเสร็จสิ้น” ออกมาโดยไว เพราะที่ผ่านมาเท่าที่เห็น “กระบวนการ” การจัดทำกรมธรรม์ใหม่ๆ กว่าจะแล้วเสร็จกินเวลานาน จนบางครั้ง “ตลาดวาย” เสียก่อนจะได้ขายจริงไปอย่างน่าเสียดาย ยังไงก็ขอให้อย่าให้ “เสียของ” ออกมาขายได้ทันเวลา

ที่มา : สยามอินชัวร์ นิวส์