ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

คนนั่งแคปหรือท้ายกระบะ ประกันภัย ยันคุ้มครองทุกราย

ไม่มีผลต่อ ประกันภัยรถยนต์ ทั้งความคุ้มครองและเบี้ย ประกันภัย ยึดตามประเภทรถ พ.ร.บ.ขนส่งทางบก ครอบคลุมผู้ประสบภัยจากรถทุกคน

คนนั่งแคปหรือท้ายกระบะ ประกันภัย ยันคุ้มครองทุกราย

เมษายน
27

ผลพวงจากการใช้ มาตรา 44 เกี่ยวกับการจราจร เพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยเฉพาะในช่วงสงกรานต์ ที่สั่งห้ามนั่งท้ายกระบะรถ และห้ามนั่งแคป รถกระบะ หากฝ่าฝืนจะจับปรับทันที ซึ่งในตอนแรกรัฐบาลจะเริ่มบังคับใช้กฎหมายในวันที่ 5 เมษายนที่ผ่านมา แต่เพราะเกิดกระแสคัดค้านและต่อต้านอย่างหนักจากประชาชน ที่ขยายผลลุกลามเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์ก กระทั่งรัฐบาลต้องยอมถอย สั่งเลื่อนเวลา “จับ-ปรับ” ออกไปเป็นหลังสงกรานต์

อย่างไรก็ดี จากประเด็นนี้มีการตั้งคำถามมาถึงธุรกิจ ประกันภัย ถึงความคุ้มครอง ประกันภัยรถยนต์ เกี่ยวกับผู้ที่นั่งท้าย รถกระบะ ยังคงได้รับความคุ้มครองหรือไม่ รวมไปถึงกรณีที่บริษัท ประกันภัย คิดเบี้ย ประกันภัย รถกระบะ เท่ากับคุ้มครองผู้โดยสาร 10-12 คน ทั้งที่กฏหมายให้นั่งโดยสารไม่เกิน 2 คนไม่เป็นธรรม จะต้องมีการปรับอัตราเบี้ย ประกันภัย หรือเงื่อนไขความคุ้มครองในกรมธรรม์ ประกันภัยรถยนต์ ให้สอดรับกันหรือไม่

คปภ.ชี้ห้ามนั่งแคป/กระบะหลัง ไม่ทำให้เบี้ยลด แต่อนาคตไม่แน่

เกี่ยวกับเรื่องนี้ รองเลขาธิการ ด้านกฎหมาย คดีและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวว่า มาตรา 44 ข้างต้น ไม่มีผลต่อกรมธรรม์ ประกันภัยรถยนต์ ทั้งความคุ้มครองและอัตราเบี้ย ประกันภัย เนื่องจากการคิดเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ ยึดตามประเภทรถตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก อาทิ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล จะหมายถึงผู้ขับขี่ 1 คน และผู้โดยสาร 1 คน ซึ่งการคิดเบี้ย ประกันภัย จะคิดเป็นรายบุคคลตามนี้ ไม่ได้คิดเป็นรถสาธารณะที่ใช้บรรทุกผู้โดยสารจำนวนมาก แต่แม้คิดเบี้ยเป็นรายบุคคล แต่ความคุ้มครองครอบคลุมผู้ประสบภัยจากรถทุกคน ไม่ว่าจะนั่งอยู่ในแคปหรือนั่งท้ายกระบะหลังก็ตาม ขณะที่ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (พีเอ) ที่แนบท้ายอยู่ในกรมธรรม์ รถยนต์ ก็ไม่มีผลเช่นกัน เพราะคิดเบี้ย ประกันภัย ตามจำนวนผู้โดยสารในรถอยู่แล้ว

ปัจจุบันความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต ร่างกายของบุคคลภายนอก หากเป็น ประกันภัยรถยนต์ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 วงเงินสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท/ครั้ง หากเป็น ประกันภัยรถยนต์ ภาคสมัครใจ สูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อครั้ง

อย่างไรก็ดี รองเลขาธิการ คปภ.กล่าวว่า หากในอนาคตมีสถิติชัดเจนว่าการห้ามนั่งแคป หรือนั่งกระบะท้าย ทำให้ความเสียหายในส่วนของความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกลดลง หรือบริษัท ประกันภัย มีกำไรมากขึ้น อาจจะต้องปรับเบี้ย ประกันภัย ลดลงเพื่อให้สอดรับกัน

ส.วินาศภัยย้ำ ถ้า Loss ต่ำ ลดเบี้ยแน่ ชี้ 80% ของเคลม คือ “ซ่อมรถ”

ด้านสมาคมประกันวินาศภัยไทย โดยเลขาธิการสมาคมฯ ให้ความเห็นว่า ความคุ้มครองและเบี้ย ประกันภัย คงไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งปัจจุบันการคิดเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ คิดตามโครงสร้าง รถยนต์ เช่น ยี่ห้อรถ รุ่นรถ ประเภทการใช้รถเป็น รถยนต์ ส่วนบุคคล รถใช้เพื่อการพาณิชย์ เป็นต้น ไม่ได้แยกประเภทว่า รถกระบะ ประเภทนี้ใช้ขนคน หรือใช้ขนสินค้าหรือสิ่งของ โดยสถิติที่มีอยู่มีแค่แยกความเสียหายตามยี่ห้อรถ อาทิ โตโยต้า อีซูซุ มีอัตราสินไหมทดแทน (Loss Ratio) เท่านั้น เท่านี้ เป็นต้น อีกทั้งไม่ได้มีสถิติรถกลุ่มนี้ที่เกิดอุบัติเหตุและมีคนนั่งท้ายกระบะหลัง หรือในแคป มีผู้เสียชีวิตมากน้อยเท่าไหร่

“ในอนาคตหากความเสียหาย ในส่วนของความรับผิดต่อบุคคลภายนอกลดลง อาจจะมาจากการห้ามนั่งท้าย รถกระบะ อย่างที่ว่า เบี้ยอาจจะลดลงได้ ซึ่งเป็นหลักปกติ ถ้า Loss ดี บริษัท ประกันภัย แข่งขันกันลดเบี้ย ประกันภัย อยู่แล้ว จริงๆ แล้วโครงสร้างความเสียหายเกี่ยวกับตัวรถนั้น 80% เป็นค่าซ่อมรถคันเอา ประกันภัย ที่เหลือเป็นความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ส่วนใหญ่เป็นทรัพย์สิน ความเสียหายที่เกี่ยวกับชีวิตและร่างกายไม่เท่าไหร่ ซึ่งการคิดเบี้ย ประกันภาย ในส่วนของบุคคลที่ 3 ใช้หลักถัวเฉลี่ยกันอยู่แล้ว”

ม.44 ประกันแบกความเสี่ยงลดลง ผลพวง “ใช้รถผิดประเภท”

ประธานชมรมพิจารณารับประกันภัยยานยนต์ สมาคมประกันวินาศภัยไทย ตอกย้ำว่า การที่กฎหมายห้ามไม่ให้นั่งแคป นั่งกระบะ ไม่ได้มีผลต่อกรมธรรม์ ประกันภัยรถยนต์ เพราะการคิดคำนวณเบี้ยพิกัดอัตราเบี้ยยึดตามโครงสร้างของรถ ไม่ได้คิดตามการนำรถไปใช้ เช่น รถปิคอัพ จดทะเบียน 320 ก็คิดเบี้ยตามประเภทรถเช่นเดียวกัน รถบรรทุกซึ่งตามการใช้งานจริงก็คือการบรรทุกของ ค่าเบี้ย ประกันภัย ก็คิดตามประเภทรถ แต่การใช้รถก็มีการนำไปบรรทุกคนด้วย เป็นการนำรถไปใช้ผิดประเภทของเจ้าของรถเอง ซึ่งที่ผ่านมาบริษัท ประกันภัย ไม่ได้มองในเรื่องนี้ แม้บางครั้งการเกิดอุบัติเหตุจะมีคนนั่งท้ายกระบะ หรือบรรทุกคนมาแล้วเกิดอุบัติเหตุก็ตาม

ส่วนประกันพีเอที่มีอยู่ด้วย เป็นความคุ้มครองที่ให้กับบุคคลภายนอกและผู้โดยสารในรถอยู่แล้ว จึงไม่มีผลต้องปรับความคุ้มครองแต่อย่างใด

“เมื่อกฎหมายออกมาก็ถือว่า ทำให้การใช้รถถูกประเภทมากขึ้น เป็นผลดีต่อธุรกิจ ประกันภัย แบกรับความเสี่ยงลดลง เพราะที่ผ่านมาถือว่าต้องแบกรับความเสี่ยงที่ไม่ปกติ จากการใช้รถผิดประเภทดังกล่าว เป็นการกลับสู่การแบกรับความเสี่ยงที่เป็นจริงก็ที่ควรจะเป็น”

สำหรับความคืบหน้าที่กรมการขนส่งทางบกจะกำหนดให้รถสาธารณะต้องจัดให้ ประกันภัย เพิ่มเติมจาก ประกันภัย รถตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการเพิ่มความปลอดภัยใน รถสาธารณะ ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อคุ้มครองผู้โดยสารและบุคคลภายนอกที่ประสบภัย อันเนื่องมาจากการใช้บริการ รถโดยสารสาธารณะ ให้ได้รับการชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม และเป็นธรรมมากยิ่งขึ้นนั้น

ส้มหล่น มาตรา 44 บีบรถสาธารณะ 2 แสนคันทำประกันภัย

ขณะนี้ทางสำนักงาน คปภ.และสมาคมฯ อยู่ระหว่างหารือกัน เพื่อจัดทำแพ็กเกจที่เป็นมาตรฐาน สำหรับความคุ้มครองขั้นต่ำที่รถสาธารณะต้องมี ตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด โดยเบี้ย ประกันภัย ต้องไม่สูงมาก เนื่องจากเป็น ประกันภัย ที่กฎหมายกำหนดให้ทำ และต้องซื้อง่าย ขายคล่องด้วย ซึ่งน่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้

“ปัญหาของรถกลุ่มนี้ไม่ได้อยู่ที่ความคุ้มครอง แต่อยู่ที่ Loss Ratio สูงมาก อย่าง รถเมล์ สูงกว่ารถปกติ 10 เท่า ส่วน Loss Ratio รถแท็กซี่ น่าจะสูงกว่าซัก 2-3 เท่า”

ประธานคณะกรรมการกฎหมายและกฏระเบียบ สมาคมฯ กล่าวว่า รถสาธารณะในระบบมีอยู่ประมาณ 245,000 คัน ปัจจุบันทำ ประกันภัย ภาคสมัครใจประมาณ 40,000 กว่าคัน เท่ากับจะมีลูกค้าที่ถูกกฎหมายบังคับให้ทำ ประกันภัย เพิ่มขึ้นมาอีก 200,000 คันโดยอัตโนมัติ เป็นเรื่องที่ธุรกิจ ประกันภัย ต้องเตรียมพร้อมเช่นกัน

ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางบกได้ออกประกาศ กำหนดประเภทรถและวงเงินที่ต้องจัดทำ ประกันภัย เพิ่มเติมจากกฎหมายว่าด้วยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2560 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2560 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2560 เป็นต้นไป โดยกำหนดประเภทรถที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง หรือเจ้าของรถต้องจัดทำ ประกันภัย เพิ่มเติมจาก ประกันภัย พ.ร.บ.ได้แก่ 1.ประเภทรถโดยสารประจำทางในเส้นทางหมวด 2 ทุกเส้นทาง ทุกมาตรฐานรถ และหมวด 3 ยกเว้นรถโดยสารสาธารณะ 3 (รถโดยสารลักษณะ 2 แถว) ความเสียหายต่อชีวิตหรือร่างกาย ในวงเงินไม่ต่ำกว่า 500,000 บาท สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายต่อคนในแต่ละครั้ง ความเสียหายต่อทรัพย์สิน ในวงเงินไม่ต่ำกว่า 500,000 บาท สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายในแต่ละครั้ง

2.ประเภท รถโดยสาร ไม่ประจำทาง ความเสียหายต่อชีวิตร่างกาย ในวงเงินไม่ต่ำกว่า 300,000 บาท สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายต่อคนในแต่ละครั้ง ความเสียหายต่อทรัพย์สิน ในวงเงินไม่ต่ำกว่า 300,000 บาท สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายในแต่ละครั้ง 3.ประเภทรถรับจ้าง (รถแท็กซี่) ความเสียหายต่อชีวิตหรือร่างกาย ในวงเงินไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายต่อคนในแต่ละครั้ง ความเสียหายต่อทรัพย์สินในวงเงินไม่ต่ำกว่า 200,000 บาท สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายในแต่ละครั้ง

4.ประเภทรถรับจ้าง (รถสามล้อ) ความเสียหายต่อชีวิตหรือร่างกาย ในวงเงินไม่ต่ำกว่า 25,000 บาท สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายต่อคนในแต่ละครั้ง ความเสียหายต่อทรัพย์สิน ในวงเงินไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายในแต่ละครั้ง โดยสัญญา ประกันภัย และกรมธรรม์ ประกันภัย ต้องมีระยะเวลาความคุ้มครองอย่างน้อยตลอดอายุภาษีรถ ซึ่งในการยื่นขอจดทะเบียนรถและยื่นขอชำระภาษีประจำปี ต้องแสดงหลักฐานการจัดให้มี ประกันภัย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 พร้อมกับหลักฐานการจัดให้มี ประกันภัย เพิ่มเติมต่อนายทะเบียนด้วย

ที่มา : สยามอินชัวร์ นิวส์