ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประชาสัมพันธ์-สื่อสารองค์กร

ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ - พ.ร.บ.

ความคุ้มครองกรมธรรม์ ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ ความคุ้มครองเฉพาะความเสียหายของบุคคล ที่ได้รับอันตรายจาก รถยนต์ ทุกคัน

ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ - พ.ร.บ.

ธันวาคม
4

การ ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ หรือที่รู้จักกันในชื่อของการ ประกันภัย พ.ร.บ. นั้น เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งกำหนดให้เจ้าของ รถยนต์ และผู้ใช้ รถยนต์ ทุกคนต้องทำ ประกันภัยรถยนต์ ที่ใช้ หากฝ่าฝืนมีโทษปรับทางอาญา คำว่าการ ประกันภัยรถยนต์ "ภาคบังคับ" นี้ มิได้มีความมุ่งหมายบังคับเฉพาะผู้เป็นเจ้าของ รถยนต์ หรือผู้ใช้ รถยนต์ ที่ต้องทำ ประกันภัยรถยนต์ ที่ใช้เท่านั้น แต่ยังบังคับให้ทุกบริษัทประกันวินาศภัย ที่ได้รับอนุมัติให้รับ ประกันภัยรถยนต์ ได้ ต้องรับ ประกันภัยรถยนต์ ตามพระราชบัญญัตินี้เช่นเดียวกัน หากฝ่าฝืนปฏิเสธการรับ ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับนี้ ก็มีโทษปรับในทางอาญาเช่นเดียวกัน

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากว่า 10 ปีของการใช้บังคับ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 อัตราเบี้ย ประกันภัย และความคุ้มครองตามกรมธรรม์ ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับได้เปลี่ยนแปลงหลายครั้ง สำหรับความคุ้มครองของกรมธรรม์ ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับนี้ ให้ความคุ้มครองเฉพาะความเสียหายของบุคคล ที่ได้รับอันตรายจาก รถยนต์ ทุกคัน โดยเรียกบุคคลที่ได้รับอันตรายจาก รถยนต์ ว่า "ผู้ประสบภัย" ความคุ้มครองของการ ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับนี้ กล่าวได้ว่าให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยทุกราย แม้ว่าผู้ประสบภัยนั้น จะได้รับอันตรายจาก รถยนต์ ที่ไม่ได้ทำ ประกันภัย ไว้ก็ตาม เพราะพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ กำหนดให้จัดตั้งกองทุนคุ้มครองผู้ประสบภัย เพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ประสบภัย ที่ได้รับอันตรายจาก รถยนต์ ที่ไม่มี ประกันภัย หรือจาก รถยนต์ ที่มี ประกันภัย แต่บริษัทที่รับ ประกันภัย ปฏิเสธการชดใช้

ในส่วนของความคุ้มครองตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจาก รถยนต์ หรือกรมธรรม์ ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับนั้น ให้ความคุ้มครองสำหรับผู้ประสบภัยเป็นสองส่วนคือ

  1. คุ้มครองกรณีผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บ เป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจำเป็น เป็นจำนวนเงินไม่เกิน 50,000 บาท และหากผู้ประสบภัยที่ได้รับบาดเจ็บนั้น ต้องพักรักษาตัวในสถานพยาบาล โดยลงทะเบียนเป็นคนไข้ใน ก็จะได้รับค่าชดเชยอีกวันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน
  2. คุ้มครองกรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิต โดยทายาทของผู้ประสบภัย จะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินจำนวน 200,000 บาท

ทั้งนี้ในการเกิดเหตุแต่ละครั้ง หาก รถยนต์ ที่เป็นต้นเหตุเป็นรถนั่งไม่เกิน 7 คน ความคุ้มครองสูงสุดครั้งละไม่เกิน 5,000,000 บาท แต่ถ้า รถยนต์ คันต้นเหตุเป็น รถยนต์ นั่งเกิน 7 คน ความคุ้มครองสูงสุดครั้งละไม่เกิน 10,000,000 บาท

นอกจากนี้ เพื่อให้ความคุ้มครองของการ ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับนี้ยังประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้ประสบภัยทุกๆ ราย กรมธรรม์ ประกันภัย นี้ยังกำหนดค่าสินไหมทดแทนเป็นกรณีพิเศษ ที่เรียกว่า "ค่าเสียหายเบื้องต้น" เอาไว้ โดยกำหนดให้บริษัทที่รับ ประกันภัย จะต้องชดใช้ "ค่าเสียหายเบื้องต้น" ให้แก่ผู้ประสบภัยภายใน 7 วัน นับแต่ได้รับการร้องขอ โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความรับผิด ตามหลักการประกันภัยค้ำจุน ที่เป็นหลักของการ ประกันภัยรถยนต์ ตามปกติ ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดให้บริษัทที่รับ ประกันภัย จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ ให้กับบุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหาย เมื่อผู้เอา ประกันภัย เป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดในเหตุนั้นเท่านั้น แต่สำหรับค่าเสียหายเบื้องต้นตามกรมธรรม์ ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ เป็นกรณียกเว้นจากหลักการ ประกันภัย ค้ำจุนดังกล่าว

สำหรับค่าเสียหายเบื้องต้น ได้ถูกกำหนดไว้ดังนี้

  1. ค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ ประกันภัย ได้รับบาดเจ็บ เป็นเงินจำนวนไม่เกิน 15,000 บาท
  2. ค่าปลงศพ กรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิต เป็นเงินจำนวน 35,000 บาท
    หากผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บ แล้วเสียชีวิตในเวลาต่อมา ค่าเสียหายเบื้องต้นก็จะเป็นเงินจำนวนไม่เกิน 50,000 บาท

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ค่าเสียหายเบื้องต้นในส่วนของผู้ประสบภัยที่ได้รับบาดเจ็บจาก รถยนต์ ซึ่งเป็นค่ารักษาพยาบาลโดยเร่งด่วนนั้นได้เกิดประโยชน์สูงสุด และสามารถให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยได้มากยิ่งๆ ขึ้น ทางภาคธุรกิจ และหน่วยงานที่กำกับดูแลธุรกิจ ประกันภัย คือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย ได้ตกลงที่จะปรับความคุ้มครองสำหรับค่าเสียหายเบื้องต้น ในส่วนของค่ารักษาพยาบาล จากได้รับ 15,000 บาท เป็นไม่เกิน 30,000 บาท อันจะมีผลให้ผู้ประสบภัยที่ได้รับอันตรายจาก รถยนต์ จะสามารถได้รับการบรรเทา เยียวยาจากสถานพยาบาลได้มากขึ้นจากเดิมอีกเป็นเท่าตัว และทำให้กรณีผู้ประสบภัยที่ได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิต จะได้รับความคุ้มครองจากค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันสูงสุดไม่เกิน 65,000 บาท

สำหรับความคุ้มครองในส่วนอื่นๆ ยังคงเดิม ตามที่ปรากฏมาในข้างต้น สำหรับการประกาศใช้ความคุ้มครองที่เพิ่มขึ้น สำหรับค่ารักษาพยาบาลในส่วนของค่าเสียหายเบื้องต้น ก็คาดว่าน่าจะอยู่ในช่วงปลายปี 2556

ที่มา : สยามธุรกิจ