ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประชาสัมพันธ์-สื่อสารองค์กร

ก้าวทันประกันภัย / ประกันภัย ความคุ้มครอง คน ทรัพย์สิน เหตุ น้ำท่วม

น้ำท่วม ผลกระทบต่อตัวเรา ความเสียหาย ด้านร่างกาย ทรัพย์สินของเราเสียหาย การ ประกันภัย จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น

ก้าวทันประกันภัย / ประกันภัย ความคุ้มครอง คน ทรัพย์สิน เหตุ น้ำท่วม

พฤศจิกายน

7

จากเหตุการณ์ น้ำท่วม ที่เกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อตัวเราโดยตรง ซึ่งทำให้เราได้รับความเสียหายทั้งด้านร่างกาย เช่น การได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต หรือเป็นความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจ เช่น ทรัพย์สินของเราเสียหาย ได้แก่ บ้าน เฟอร์นิเจอร์ เครื่องจักร รถยนต์ ซึ่งการ ประกันภัย จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งต่อเราและครอบครัว

เรื่องนี้ทาง คปภ.ก็พยามออกข่าวว่าการ ประกันภัย อะไรบ้าง ที่ บริษัทประกันภัย จะให้ความคุ้มครองเมื่อเกิดเหตุน้ำท่วม และเพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ กล่าวถึงการ ประกันภัย นั้นมีอยู่สองส่วน คือ การประกันชีวิต และ การประกันวินาศภัย ลองพิจารณาดูความคุ้มครองจะเป็นอย่างไร

1. การประกันชีวิต ซึ่งเป็นการคุ้มครองกรณีที่ ผู้เอาประกันชีวิต สำหรับกรมธรรม์หลัก ไม่ว่าจะเป็นแบบตลอดชีพ แบบเฉพาะกาล แบบสะสมทรัพย์ และแบบมีเงินได้ประจำ จากกรณีนี้กรมธรรม์ย่อมให้ความคุ้มครองแน่นอน เพราะเป็นการ ประกันภัย ที่อาศัย ความมรณะ ของผู้เอา ประกันภัย เป็นตัวกำหนดถึงความคุ้มครอง เมื่อผู้เอา ประกันภัย เสียชีวิตลงตามสัญญา เช่นนี้จึงมีผลสมบูรณ์ว่าต้องได้รับความคุ้มครอง

ส่วนความคุ้มครองตามเอกสารแนบท้ายสัญญา ประกันชีวิต หลัก คือ การประกันสุขภาพ การประกันอุบัติเหตุ นั้น ต้องตรวจสอบในสัญญาให้ชัดเจนอีกครั้ง ว่าได้มีการซื้อความคุ้มครองภัย น้ำท่วม เอาไว้หรือไม่ หากมีการซื้อความคุ้มครองเอาไว้ด้วย จะได้รับความคุ้มครองในส่วนนี้อีกจำนวนหนึ่ง เนื่องจากภัยธรรมชาติ หรือมหันตภัย หรือภัยอันใหญ่หลวงนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นภัยที่ยกเว้นความคุ้มครองเอาไว้ แต่หาก ผู้เอาประกันภัย ประสงค์จะซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมและ บริษัทประกันภัย ก็ตกลงที่จะรับและให้ความคุ้มครอง ก็ถือว่าบริษัทต้องให้ความคุ้มครองตามสัญญานั่นเอง

2. การประกันวินาศภัย เป็นการ ประกันภัย ความเสียหายอันเนื่องจากภัยที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน ไม่ได้มีการคาดหมายไว้ล่วงหน้า อันเนื่องจากปัจจัยภายนอก มี 4 แบบหลักคือ การประกันภัยรถยนต์ การประกันอัคคีภัย การประกันภัยขนส่งและภัยทะเล การประกันภัยเบ็ดเตล็ด
   2.1 การประกันภัย ขนส่งและภัยทางทะเล เป็นการคุ้มครองความเสียหายของทรัพย์ที่เกิดขึ้น ในระหว่างการขนส่ง หากกรมธรรม์ไม่ได้ระบุเป็นข้อยกเว้นความคุ้มครองเอาไว้ ก็จะได้รับความคุ้มครอง ต้องอ่านดูในตัวสัญญาให้ชัดเจนอีกครั้ง
   2.2 การประกันภัย เบ็ดเตล็ด ซึ่งเป็นการ ประกันภัย ความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นตามสัญญา ซึ่งจะมีมากมายหลายชนิด คงไม่สามารถบอกกล่าวได้ทั้งหมด ถ้าจะหยิบยกในครั้งนี้คือ การ ประกันภัย เบ็ดเตล็ด ที่ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินที่เสียหายจากภัยทุกชนิด (All Risk) หรือที่เรียกว่า “ประกันสรรพภัย” ส่วนใหญ่จะเป็นโรงงานต่างๆ ที่มีการทำ ประกันภัย คุ้มครองเกี่ยวกับตัวอาคารโรงงาน ตลอดจนทรัพย์สิน หากผู้เอา ประกันภัย รายใดได้มีการเอา ประกันภัย ในลักษณะนี้ ก็จะได้รับความคุ้มครอง ส่วนจะให้ความคุ้มครองแค่ไหนเพียงใด ต้องดูจากตัวสัญญา
   2.3 การ ประกันอัคคีภัย เป็นการ ประกันภัย ที่ให้ความคุ้มครองต่ออาคาร ที่เป็นสิ่งปลูกสร้าง และทรัพย์สินที่อยู่ในบ้าน หากมีการซื้อความคุ้มครองเพิ่มในส่วนของทรัพย์สินด้วย และสำหรับความเสียหายที่เกิดจากภัยน้ำท่วมนั้น ในกรมธรรม์นั้นจะยกเว้นความคุ้มครองเอาไว้ หมายความว่า หากเป็นการทำ ประกันอัคคีภัย ตามกรมธรรม์มาตรฐานทั่วไปแล้ว ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองแต่อย่างใด แต่หากผู้เอา ประกันภัย หรือเจ้าของบ้านรายใด ได้มีการซื้อความคุ้มครองไปจาก น้ำท่วม เอาไว้ ก็จะได้รับความคุ้มครอง ส่วนจะคุ้มครองแค่ไหน เพียงใด ขึ้นอยู่กับสัญญาที่ทำไว้
   2.4 การ ประกันภัยรถยนต์ เป็นการ ประกันภัย ที่ให้ความคุ้มครองต่อทรัพย์สิน และชีวิต ร่างกาย ของบุคคล อันเนื่องจากการใช้รถ โดยแบ่งออกเป็น 2 ภาคด้วยกัน

    2.4.1 การ ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ หรือ การประกันภัยรถตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นการ ประกันภัย ที่ให้ความคุ้มครอง เฉพาะการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต อันเนื่องจากการใช้รถ ในกรณี น้ำท่วม นี้ หากอยู่ในระหว่างที่มีการใช้รถ เช่น ขับขี่รถไป ในระหว่างทางที่มี น้ำท่วม และได้ขับรถเข้าไปเพื่อจะผ่านทางนั้น ปรากฏว่ารถถูกแรงน้ำพัด ทำให้จมน้ำเสียชีวิต เช่นนี้กรมธรรม์ พ.ร.บ.ก็จะให้ความคุ้มครองจำนวน 35,000 บาท หรือหากได้รับบาดเจ็บ ก็จะได้รับความคุ้มครองจำนวนเงิน ตามใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน 30,000 บาท

    2.4.2 การ ประกันภัยรถยนต์ ภาคสมัครใจ ซึ่งเป็นการ ประกันภัย ที่ให้ความคุ้มครองต่อทรัพย์สิน หรือตัว รถยนต์ ที่เสียหาย และการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต ในส่วนที่เกินจาก ประกันภัยรถตาม พ.ร.บ.ให้ความคุ้มครองแล้ว แต่ต้องดูว่าเป็นการ ประกันภัยรถยนต์ ประเภทใด เนื่องจาก การ ประกันภัยรถยนต์ ภาคสมัครใจนั้น ยังมีการแบ่งย่อยออกเป็น 3 ประเภท 2 แบบ คือ การ ประกันภัยรถยนต์ ประเภท1 / การ ประกันภัยรถยนต์ ประเภท2 / การ ประกันภัยรถยนต์ ประเภท3 / และการ ประกันภัยรถยนต์ แบบคุ้มครองเฉพาะทรัพย์สินบุคคลภายนอก จำนวน 100,000 บาท (ประเภท4) การ ประกันภัยรถยนต์ แบบคุ้มครองเฉพาะภัย เช่นประเภท 2 พลัส หรือ 3 พลัส แล้วแต่ว่าจะมีการเอา ประกันภัย แบบไหน

สำหรับกรณี น้ำท่วม นั้นเป็นการ ประกันภัยรถยนต์ เฉพาะการ ประกันภัยรถยนต์ ประเภทหนึ่ง และการ ประกันภัยรถยนต์ แบบคุ้มครองเฉพาะภัย ที่คุ้มครองเพิ่มเติมความเสียหายจาก น้ำท่วม เท่านั้น ที่จะให้ความคุ้มครอง โดยกรมธรรม์จะให้ความครองตามความเสียหายที่แท้จริง ไม่เกินวงเงินที่เอา ประกันภัย ตัวรถไว้ หรือที่กำหนดจำนวนวงเงินความคุ้มครองเฉพาะกรณี น้ำท่วม เอาไว้ โดยขั้นตอนต่างๆ ที่จะมีการดำเนินการเมื่อรถประกันที่ถูก น้ำท่วม มีดังนี้

เจ้าของรถ
- แจ้งเหตุให้ บริษัทประกันภัย ทราบว่า รถประกันถูก น้ำท่วม
- รอให้ บริษัทประกันภัย สำรวจตรวจสอบความเสียหายของรถ
- รอการจัดซ่อมคืนสภาพ หรือรอรับเงินทุนที่เอา ประกันภัย ไว้ตามความเสียหายจริง

บริษัทประกันภัย
- บริษัทประกันภัย ได้รับแจ้งเหตุแล้ว
- บริษัทจะจัดส่งเจ้าหน้าที่ หรือรถยก ให้มาทำการลาก หรือยกรถเข้าไปที่อู่
- อู่ซ่อมรถ ทำการตรวจสอบรายการความเสียหายของตัวรถ พร้อมราคาประเมิน
- เจ้าหน้าที่ของ บริษัทประกันภัย จะทำการตรวจสอบ และประเมินราคาร่วมกับอู่
- เมื่อได้ราคาประเมินความเสียหาย ทั้งค่าแรง และค่าอะไหล่แล้ว บริษัทก็จะพิจารณาว่ารถนั้น สามารถจัดซ่อมให้คืนสภาพการใช้งานได้หรือไม่
- หากความเสียหายที่ประเมินมาแล้วนั้น มีความเสียหายไม่ถึง 70% ของราคารถในขณะที่เกิดเหตุ ทางบริษัทก็จะให้อู่ทำการจัดซ่อมให้คืนสภาพการใช้งานต่อไป โดยในการจัดซ่อมนั้น อาจมีความเสียหายบางส่วนที่ ผู้เอาประกันภัย เอง อาจต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อชิ้นส่วนในบางรายการ อาจเป็นวัสดุสิ้นเปลือง หรือชิ้นส่วนที่เสื่อมสภาพจากการใช้งานบ้าง
- ไปหาบริษัทประเมินราคาความเสียหายแล้ว พบว่ารถนั้นได้รับความเสียหายเกินกว่า 70% ของราคารถในช่วงเวลาที่เกิดเหตุแล้ว ทาง บริษัทประกันภัย ก็จะทำการจ่ายคืนเต็มทุนที่เจ้าของได้เอา ประกันภัย ไว้

เครดิต: เส้นทางนักขาย

ที่มา : ทูเดย์อินชัวร์