ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

ประกันภัย ขนส่งข้ามแดนปัญหาเยอะ ชงเออีซีสาง

ปัญหาด้านข้อกฎหมาย ประกันภัยรถยนต์ มีความคุ้มครองต่างกัน บางประเทศคุ้มครองทรัพย์สิน บางประเทศคุ้มครองแค่ชีวิต

ประกันภัย ขนส่งข้ามแดนปัญหาเยอะ ชงเออีซีสาง

ตุลาคม
12

เออีซี หรือการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนปลายปี 2558 จะเอื้อเศรษฐกิจ 10 ชาติขยายตัวอย่างรวดเร็ว การขนส่งสินค้าทั้งทางทะเลและทางบก การท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นมหาศาล หนุน ประกันภัย ทางทะเลและขนส่ง รวมถึง ประกันภัยรถยนต์ ข้ามแดนโตตาม

อย่างไรก็ดี ทั้ง ประกันภัยรถยนต์ ข้ามแดนและ ประกันภัย ทางทะเลและลอจิสติกส์ ในอาเซียนยังมีปัญหาในการดำเนินงาน ซึ่งผู้แทนสมาคมประกันวินาศภัยไทย สะท้อนผ่านเวทีเสวนาครบเครื่องเรื่อง ประกันภัย หัวข้อ "การ ประกันภัย ทางทะเลและลอจิสติกส์" ในงานแสดงสินค้าลอจิสติกส์ 2556 หรืองาน TILOG 2013 ณ ไบเทค บางนา เมื่อเร็วๆ นี้

ประกันภัยรถยนต์ พ.ร.บ.ข้ามแดนไม่เวิร์ก / แต่ละชาติคุ้มครองไม่เท่ากัน

รองประธานคณะกรรมการ ประกันภัย ยานยนต์ กล่าวว่า อาเซียนมีรถยนต์ทั้งหมดประมาณ 26 ล้านคัน ประมาณ 85% อยู่ในไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยทั้ง 10 ชาติลงนามความร่วมมือ ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับผ่านแดน สำหรับรถยนต์ที่จะวิ่งเข้าไปในแต่ละประเทศ แต่เริ่มนำร่องได้แค่ 4 ประเทศ คือ ไทย, ลาว, เวียดนาม และกัมพูชา ตั้งแต่ 2552 ผ่านมาเกือบ 4 ปีที่ผ่านมา ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ

ทั้งจากปัญหาด้านข้อกฎหมายการ ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ มีความคุ้มครองต่างกัน บางประเทศคุ้มครองทรัพย์สินบุคคลภายนอกด้วย บางประเทศคุ้มครองแค่ชีวิตและความบาดเจ็บต่อร่างกาย ขณะที่พม่าและกัมพูชา ไม่มี ประกันภัยรถยนต์ พ.ร.บ.

โดยบรูไน มาเลเซียและ สิงคโปร์ คุ้มครองชีวิตและร่างกายแบบไม่จำกัดวงเงิน ทำให้ความคุ้มครองสูงมาก ขณะที่ไทยจำกัดวงเงินคุ้มครอง ส่วนเวียดนามและลาว คุ้มครองทรัพย์สินบุคคลภายนอกด้วย ทำให้เกิดปัญหาในการผลักดันโครงการ

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นขาดการประชาสัมพันธ์จากภาครัฐ ทำให้ประชาชน หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่เอง ไม่รู้จักบลูการ์ด หรือเอกสารแสดงการทำ ประกันภัยรถยนต์ ผ่านแดน ขณะที่รัฐจำกัดจำนวนรถขนส่งสินค้าวิ่งข้ามประเทศ

"แต่ละปีมีรถยนต์จากไทยไปลาวเป็นหมื่นคัน แต่ทำประกันภัยผ่านบลูการ์ดแค่ 342 คัน มีเบี้ยแค่แสนกว่าบาท ฝั่งลาวยิ่งกว่า มีรถยนต์เข้ามาไทยเป็นหมื่นคัน แต่ทำประกันภัยผ่านบลูการ์ดแค่ 23 คัน เบี้ยแค่ 20,000 กว่าบาท โดยไทยมีบริษัท ประกันภัย เข้าร่วม 19 บริษัท แต่ทำจริงแค่ 2 บริษัท คือ วิริยะ และอาคเนย์ ขณะที่แนวโน้มรถยนต์จากไทยจะวิ่งไปประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น"

ประกันภัย มารีนมี 2 มาตรฐาน / ชี้เทรนด์บริษัทไทยต้องควบรวม

ส่วน ประกันภัย ทางทะเลและลอจิสติกส์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการ ประกันภัย ทางทะเลและลอจิสติกส์ กล่าวว่า ปัญหาที่พบคือ ประกันภัย สินค้ามีเงื่อนไขมาตรฐานที่บริษัท ประกันภัย ใช้อยู่ 2 ชุด คือ ฉบับปี 1982 และ 2009 ทำให้เกิดปัญหาเวลาซื้อ ประกันภัย ลูกค้าไม่รู้จะซื้อแบบไหน ขณะที่บริษัท ประกันภัย ไม่รู้จะขายชุดไหน ซึ่งปัจจุบันมีบริษัท ประกันภัย 63 บริษัทขาย ประกันภัย สินค้ามีไม่เกิน 5 บริษัทใช้ของใหม่ ขณะที่อีก 50 กว่าบริษัทยังใช้ 1982 เป็นหลัก ซึ่งทั้ง 2 ชุดมีเงื่อนไขต่างกัน โดยชุดใหม่ตัดข้อยกเว้นที่เคยมีอยู่ในชุดเก่าออกไปมาก

ปี 2546 ประกันภัย ทางทะเลและขนส่ง มีเบี้ย 3,126 ล้านบาท สัดส่วนแค่ 4.41% ของประกันวินาศภัยทั้งระบบ ที่มีเบี้ยรวม 70,769 ล้านบาท ขณะที่ปี 2555 เบี้ย ประกันภัย ทางทะเลและขนส่งเพิ่มเป็น 5,189 ล้านบาท ส่วนแบ่ง 2.89% ของประกันวินาศภัยทั้งระบบ ที่มีเบี้ยรวม 179,459 ล้านบาท

ด้านที่ปรึกษาคณะกรรมการ ประกันภัย ทางทะเลและลอจิสติกส์ เออีซีจะทำให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจมหาศาล ไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์การขนส่งของเออีซี ทั้งทางบกและทางทะเล เพราะมีท่าเรือสำคัญๆ หลายแห่ง ถนนเชื่อมต่อหลายประเทศ เชื่อว่าอีก 2 ปีข้างหน้าการขนสินค้าทางทะเล ทางบก การท่องเที่ยวในอาเซียนจะมีมากขึ้น เกิดการเชื่อมโยงของตลาดด้วยจำนวนประชากร เออีซี ที่มีประมาณ 600 ล้านคนหรือ 10 เท่าของไทย

เศรษฐกิจอาเซียนมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก โดย ณ สิ้นปี 2555 มีมูลค่า 2,200 ล้านเหรีญสหรัฐ สัดส่วน 3% ของจีดีพีโลก ขณะที่ธุรกิจ ประกันภัย มีเบี้ยรับรวม 76,242 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนแบ่ง 1.66% ของตลาดโลก โดยประเทศที่มีธุรกิจ ประกันภัย ใหญ่สุดในอาเซียน คือ สิงคโปร์มีส่วนแบ่ง 28.96% รองลงมาคือ ไทย 24.08% และมาเลเซีย 19.45% แต่หากเทียบสัดส่วนในตลาดโลกทั้ง 3 ประเทศ มีสัดส่วนไม่ถึง 1% ยังมีศักยภาพที่จะเติบโตอีกมาก

"บริษัทประกันวินาศภัยไทยมีแนวโน้มจะควบรวมกิจการกันมากขึ้น เพื่อรองรับเออีซี เป็นทิศทางเดียวกับต่างประเทศ อย่างญี่ปุ่นบริษัทของเขาก็ควบรวมกันเยอะ ของเราก็เช่นกัน ตอนนี้เรามี 62 บริษัท ขณะที่บริษัทใหญ่ 10 แห่ง มีส่วนแบ่งทางตลาดสูงถึง 70% ของระบบจาก 10 ปีก่อน มีส่วนแบ่งแค่ 30% เชื่อว่าอีก 10 ปีข้างหน้า ส่วนแบ่งจะเพิ่ม 80-90%"

ที่มา : สยามธุรกิจ