ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

ลุ้น 3 ปีเบี้ย ประกันภัย ผ่านโบรกเกอร์พุ่ง 40%

ชี้ 2-3 ปีเบี้ยผ่านโบรกเกอร์สูงถึง 40% เตรียมหารือขาย ประกันภัย รับผิดทางวิชาชีพ รองรับตัวแทนเออร์เรอร์ เดินหน้าบุกเออีซี ประเดิม สปป.ลาว

ลุ้น 3 ปีเบี้ย ประกันภัย ผ่านโบรกเกอร์พุ่ง 40%

กันยายน
18

นายกสมาคมนายหน้า ประกันภัย ไทย เปิดเผยถึงแผนสร้างศักยภาพด้านการแข่งขัน และการเพิ่มตลาดของธุรกิจนายหน้า ประกันภัย ไทย (โบรกเกอร์) โดยคาดการอนาคต 2-3 ปีข้างหน้า จะเพิ่มเบี้ย ประกันภัย เป็นสัดส่วน 35-40% จากที่ผ่านมาภาพรวมของตลาดประกันวินาศภัย มีเบี้ยจากช่องทางโบรกเกอร์ทั้งระบบอยู่ที่ 30% ทั้งนี้แนวโน้มอนาคตการแข่งขันในตลาด ประกันภัย รุนแรง และเชื่อว่าจะส่งผลดีให้อัตราผลตอบแทน (คอมมิชชัน) เพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะ ประกันภัยรถยนต์ และ ประกันภัย อุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) รวมทั้ง ประกันภัย เบ็ดเตล็ดอยู่ที่ 18% และ ประกันภัยรถยนต์ 18% เป็นต้น

สำหรับแผนการเพิ่มศักยภาพให้กับสมาชิกในสมาคมฯ นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจากับบริษัท ประกันภัย ในต่างประเทศ 2-3 ราย คือ ชาร์ป ประกันภัย ฯ, เอส อินชัวร์รันส์ (สหรัฐฯ) และเอไอจีฯ เพื่อขาย ประกันภัย นายหน้าให้กับสมาชิกที่เป็นโบรกเกอร์

"แนวคิดดังกล่าวเคยมีการรื้อฟื้นตามนโยบาย ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) มาก่อนหน้านี้ รายละเอียดของกรมธรรม์น่าจะทราบความชัดเจนภายในเดือนตุลาคมนี้ สาระสำคัญจะเน้นการป้องกันความผิดพลาดของนายหน้า (error) เช่น การลืมนำส่งเบี้ย ประกันภัย กับทางบริษัท ประกันภัย เป็นต้น หรืออัตราทุน ประกันภัย อาจเริ่มต้นที่ 1 ล้านบาท แต่จะไม่คุ้มครองกรณีที่ตัวแทนนายหน้าจงใจกระทำผิด หรือจงใจทุจริต ซึ่งเชื่อว่าหากได้ข้อสรุป จะช่วยให้การทำงานของตัวแทนนายหน้ามีความเป็นมืออาชีพ และมีมาตรฐานเหมือนต่างประเทศ"

นอกจากนี้ สมาคมนายหน้า ประกันภัย ไทยยังอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อม เพื่อนำบริษัทสมาชิกที่ต้องการขยายธุรกิจในประเทศเพื่อนบ้าน โดยเน้นไปที่การจับคู่ธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งประเทศที่น่าจะมีโอกาสมากที่สุดคือ สปป.ลาว กัมพูชา และเมียนมาร์ คาดว่าจะเริ่มในปี 2557 และจากการหารือกับหลายบริษัทที่สนใจเข้าไปขยายกิจการ ส่วนใหญ่มองไปในทิศทางเดียวกัน โดยเฉพาะบริษัทนายหน้าที่พร้อมเข้าไปลงทุน อาจใช้รูปแบบการร่วมทุน หรือ Joint venture กับบริษัทในประเทศนั้นๆ ซึ่งตามกฎหมายแล้วเปิดช่องให้ต่างชาติสามารถเข้าไปถือหุ้นในระดับ 40% ส่วนรูปแบบ ประกันภัย ที่มีโอกาสเติบโตคือ ประกันภัยรถยนต์ เป็นต้น

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ