ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

เงื่อนไขกรมธรรม์ ประกันภัยรถยนต์

ค่าสินไหมทดแทน ประกันภัยรถยนต์ ข้อพิพาทเรื่องเงื่อนไขกรมธรรม์ ประกันภัยรถยนต์ เข้าใจที่ต่างกันของผู้ปฏิบัติงานทำให้เกิดปัญหา

เงื่อนไขกรมธรรม์ ประกันภัยรถยนต์

สิงหาคม
20

เงื่อนไขของกรมธรรม์ ประกันภัยรถยนต์ วันนี้ ยังมีข้อถกเถียงกันถึงความหมาย ที่จะนำมาใช้ในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท ประกันภัย และรวมไปถึงการพิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ของบริษัทที่รับ ประกันภัยรถยนต์ ด้วย ข้อพิพาทที่ถูกนำมาร้องเรียนกับสำนักงาน คปภ. เป็นเรื่องที่เงื่อนไข กรมธรรม์ ประกันภัยรถยนต์ สร้างความเข้าใจที่ต่างกัน ของผู้ปฏิบัติงานทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้ ลองหยิบยกเอาเงื่อนไขของกรมธรรม์ ประกันภัยรถยนต์ ที่ห้ามมิให้ผู้เอา ประกันภัย นำ รถยนต์ คันเอา ประกันภัย ไปใช้ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในตารางขณะเกิดอุบัติเหตุ โดยความหมายของเงื่อนไขของกรมธรรม์ข้อนี้ คือ ห้ามผู้เอา ประกันภัย นำ รถยนต์ คันเอา ประกันภัย ไปใช้นอกเหนือจากข้อตกลงที่แจ้งไว้ตอนทำ ประกันภัย ซึ่งถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้น จากการใช้ต่างไปจากที่ได้ตกลงกันแล้ว จะมีผลดังนี้

กรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พ.ร.บ.)

เงื่อนไข ข้อ 14. กรณี รถยนต์ ทำ ประกันภัย ลักษณะการใช้ส่วนบุคคล ในเวลาที่เกิดอุบัติเหตุ นำ รถยนต์ ไปใช้รับจ้าง หรือให้เช่า ทำให้การเสี่ยงภัยเพิ่มขึ้น ผู้เอา ประกันภัย ต้องชดใช้ค่าเสียหายคืนให้บริษัท ตามจำนวนที่บริษัทได้จ่ายไป แต่ไม่เกิน 2,000.- บาท

กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ

เงื่อนไข หมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก

ข้อ 2. ผู้เอาประกัน ประกันภัย จะต้องรับผิดชอบเองต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง ดังนี้ 2,000 บาทแรกของความเสียหายต่อทรัพย์สิน ในกรณีที่ใช้รถยนต์ในเวลาเกิดอุบัติเหตุ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในตารางเงื่อนไข
หมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อรถยนต์

ข้อ 1.2 การ ประกันภัย นี้ไม่คุ้มครองการใช้รถยนต์ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในตารางในขณะเกิดอุบัติเหตุ

ผลแห่งเงื่อนไขของกรมธรรม์ ประกันภัยรถยนต์ ทั้งภาคบังคับและภาคสมัครใจที่ได้กำหนดไว้ เกี่ยวกับการที่ผู้เอา ประกันภัย นำ รถยนต์ คันที่ได้ทำ ประกันภัยรถยนต์ ไว้ ไปใช้แตกต่างจากข้อตกลงตอนทำ ประกันภัย และเกิดอุบัติเหตุ กรมธรรม์จะมีความคุ้มครอง ในส่วนความรับผิดต่อบุคคลภายนอก โดยผู้เอา ประกันภัย จะต้องรับผิดชอบในค่าเสียหายส่วนแรกเอง 2,000 บาท แต่ในส่วนความเสียหายของ รถยนต์ คันที่เอา ประกันภัย กรมธรรม์ไม่มีความคุ้มครองใดๆ

ประเด็นปัญหาของเรื่องนี้ อยู่ที่การใช้ รถยนต์ คันเอา ประกันภัย ในขณะเกิดเหตุ นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในตารางมีความหมายเพียงใด ตามคู่มือตีความกรมธรรม์ ประกันภัยรถยนต์ ให้ความหมายของการใช้ รถยนต์ นอกเหนือจากในตารางว่า ต้องเป็นการใช้ รถยนต์ ในลักษณะการใช้ รถยนต์ ที่ถูกกำหนดไว้ ในพิกัดอัตราเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ เท่านั้น โดยต้องนำไปใช้ในลักษณะการใช้ รถยนต์ ที่มีความเสี่ยงภัยสูงกว่าที่ได้ตกลงกันไว้ ในขณะทำ ประกันภัย เช่น นำ รถยนต์ ที่มีลักษณะการใช้ส่วนบุคคล ไปใช้รับจ้างหรือให้เช่า เพราะโอกาสเกิดอุบัติเหตุ สำหรับ รถยนต์ ที่ใช้รับจ้างหรือให้เช่ามีสูงกว่า รถยนต์ ที่ใช้ในลักษณะส่วนบุคคล

แต่โดยข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ประเภทของ รถยนต์ ที่ถูกกำหนดไว้ในพิกัดอัตราเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ ก็เป็นอีกข้อกำหนดหนึ่ง ที่กำหนดถึงลักษณะการใช้ รถยนต์ ตามประเภทของ รถยนต์ นั้นๆ ด้วย เช่น รถยนต์ บรรทุกถูกกำหนดให้ใช้เพื่อการบรรทุก และขนส่งสินค้า ส่วน รถยนต์ ลากจูง ถูกกำหนดให้ใช้ในการลากจูง และต้องไม่มีกระบะสำหรับการบรรทุก

แต่ในปัจจุบัน ได้มีการดัดแปลง รถยนต์ บรรทุกขนาดใหญ่ ให้มีอุปกรณ์สำหรับใช้ในการลากจูง รถพ่วงที่ถูกกำหนดให้ใช้บรรทุกโดยไม่มีเครื่องยนต์ เมื่อมีการนำ รถยนต์ บรรทุกมาใช้ในการลากจูง ในลักษณะของ รถยนต์ ลากจูง ความเสี่ยงในการใช้ รถยนต์ ย่อมมีมากขึ้น และน่าจะถือเป็นการใช้ รถยนต์ ในความหมายที่แตกต่างไปจากข้อกำหนด ซึ่งทั้งในหน้าตารางกรมธรรม์ก็กำหนดไว้ และพิกัดอัตราเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ ก็กำหนดความแตกต่าง ทั้งความหมาย และส่วนของการคำนวณเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ ไว้ด้วย ซึ่ง รถยนต์ ลากจูงถูกกำหนดให้เป็น รถยนต์ ที่มีความเสี่ยงกว่า รถยนต์ บรรทุก ดังนั้นเมื่อนำ รถยนต์ บรรทุกมาใช้เป็น รถยนต์ ลากจูงแล้ว ก็น่าจะอยู่ในความหมายแห่งเงื่อนไขกรมธรรม์ ประกันภัย ในข้อนี้ คือการใช้ รถยนต์ ในเวลาเกิดอุบัติเหตุ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในตารางเช่นเดียวกัน

ปัญหานี้ยังคงไม่ยุติลงง่ายๆ เพราะปัญหาจากการเกิดอุบัติเหตุในลักษณะเช่นนี้ ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทางออกของเรื่องนี้ คงจะต้องไปยุติลงที่การปรับปรุงพิกัดอัตราเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ ให้มีความหมายชัดเจนของประเภท รถยนต์ และลักษณะการใช้รถยนต์ รวมไปถึงเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ ที่ถูกกำหนดตามความเสี่ยงของ รถยนต์ ทั้งประเภท และลักษณะการใช้ นอกจากนั้นเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ ประกันภัยรถยนต์ ก็คงจะต้องปรับปรุงให้เหมาะสม

ที่มา : สยามธุรกิจ