ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

กองทุน ประกันภัย พิบัติ หั่นเบี้ยอุ้มรายย่อย

แนวคิดกดเบี้ย ประกันภัย ภาคครัวเรือนลงให้ลึก เพราะไม่มีอำนาจต่อรอง กลุ่มเอสเอ็มอี ภาคอุตสาหกรรม ไม่ลึกเท่า มีอำนาจในการต่อรอง

กองทุน ประกันภัย พิบัติ หั่นเบี้ยอุ้มรายย่อย

มิถุนายน
1

เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) ในฐานะกรรมการกองทุนส่งเสริมการ ประกันภัย พิบัติ เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะอนุกรรมการของกองทุนฯ กำลังศึกษาแนวโน้มในการผลักดัน ให้เบี้ย ประกันภัย ภาคครัวเรือนลดลง เพื่อส่งเสริมให้ทุกครัวเรือนได้รับประโยชน์ และไม่เกิดความเดือดร้อนในการซื้อ ประกันภัย

"เรามีแนวคิดที่จะกดเบี้ย ประกันภัย ของภาคครัวเรือนลง และกดให้ลึกเลย เพราะว่าภาคครัวเรือนนั้นเสียงเบา ไม่มีอำนาจในการต่อรอง ส่วนเบี้ย ประกันภัย ของกลุ่มเอสเอ็มอี กับภาคอุตสาหกรรม ก็จะกดลงเช่นกัน แต่ไม่ลึกเท่าภาคครัวเรือน เพราะมีอำนาจในการต่อรองกับบริษัท ประกันภัย และรีอินชัวเรอร์อยู่แล้ว"

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่า แนวทางการลดเบี้ย ประกันภัย ในครั้งนี้ จะลดลงได้ถึงระดับใด เพราะต้องขึ้นอยู่กับ ผลการศึกษารายละเอียดของคณะอนุกรรมการ รวมไปถึงแนวทางการลดจะออกมารูปแบบใด ก็ยังไม่สรุปเช่นกัน โดยขณะนี้มีความคิดเห็น 2 แนวทาง คือ ควรจะผูกไปกับ ประกันภัย อัคคีภัยและภัยพิบัติ หรือแยก ประกันภัย อัคคีภัยกับ ประกันภัย พิบัติออกจากกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ คาดว่าจะเริ่มเห็นทิศทางในช่วงไตรมาสที่ 3 และสรุปได้ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปีนี้

ส่วนเรื่องการส่งไปให้รับ ประกันภัย ต่อ หรือส่งให้กับบริษัท ประกันภัย ต่อ (รีอินชัวเรอร์) ขณะนี้ยังไม่ได้เร่งดำเนินการ เพราะความคุ้มครองส่วนใหญ่ของเอสเอ็มอี และอุตสาหกรรม กำลังลดลงเรื่อยๆ หากส่งไปในช่วงนี้ ก็จะต้องจ่ายส่วนแรกสูง มีเงื่อนไขที่สูง แต่กองทุนฯ ก็เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

ความเชื่อมั่นดึงคนทำ ประกันภัย เพิ่ม

ประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการ ประกันภัย พิบัติ กล่าวว่า ขณะนี้คณะอนุกรรมการกองทุนฯ อยู่ระหว่างศึกษาแนวทางลดอัตราเบี้ย ประกันภัย พิบัติ โดยจะลดทั้ง 3 กลุ่มด้วยกัน คือ รายย่อย เอสเอ็มอี และอุตสาหกรรม แต่จะให้น้ำหนักกับรายย่อยมากกว่า

"วัตถุประสงค์ของการลดเบี้ย ประกันภัย พิบัติครั้งนี้ เพื่อเป็นการลดภาระของผู้เอา ประกันภัย และเมื่อมองภาพรวมแล้ว หากมีคนทำ ประกันภัย จำนวนมาก อัตราเบี้ย ประกันภัย ก็จะสามารถลดลงได้ เพราะเท่าที่ดูสถานการณ์ต่างๆ แล้ว ความเชื่อมั่นโดยรวมของประชาชนดีขึ้น ก็น่าจะส่งผลให้คนมาทำ ประกันภัย เพิ่ม"

ผลการดำเนินงานของกองทุนฯ 28 มี.ค. 2555- 7 พ.ค. 2556 มียอดจำหน่ายกรมธรรม์ ประกันภัย พิบัติ รวมทั้งสิ้น 993,521 ฉบับ โดยมีกรมธรรม์ ประกันภัย พิบัติที่ยังมีความคุ้มครอง 979,625 ฉบับ ซึ่งเป็นทุน ประกันภัย ต่อตามสัดส่วนกองทุนฯ ที่ยังมีความคุ้มครอง 54,945 ล้านบาท และเบี้ย ประกันภัย ต่อ ตามสัดส่วนกองทุน 464 ล้านบาท

กลุ่มบ้านอยู่อาศัยมีการซื้อกรมธรรม์ ประกันภัย พิบัติสูงสุด คิดเป็นสัดส่วน 92% ของกรมธรรม์ทั้งหมด หรือจำนวน 906,622 ฉบับ รองลงมาคือกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี สัดส่วน 7% หรือ 68,013 ฉบับ และกลุ่มอุตสาหกรรม 1% หรือ 4,990 ฉบับ

นอกจากนั้นพบว่ากลุ่มบ้านที่อยู่อาศัย เป็นกลุ่มที่มีทุน ประกันภัย ต่อ ตามสัดส่วนของกองทุนฯ สูงสุด คือ 58% คิดเป็นมูลค่า 32,078 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มอุตสาหกรรมในสัดส่วน 26% คิดเป็นมูลค่า 14,162 ล้านบาท และกลุ่ม เอสเอ็มอี สัดส่วน 16% มูลค่า 8,704 ล้านบาท

ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนเบี้ย ประกันภัย ต่อ ตามสัดส่วนของกองทุนฯ สูงสุดที่ 45% รองลงมาคือ กลุ่มบ้านอยู่อาศัยสัดส่วน 35% และกลุ่มเอสเอ็มอี มีสัดส่วน 20% ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการเรียกร้องสินไหมทดแทน

"การที่ประชาชนและภาคอุตสาหกรรมตื่นตัว ให้ความสำคัญทำ ประกันภัย พิบัติเพิ่มขึ้น สะท้อนว่า มีความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญ ของการทำ ประกันภัย พิบัติ และเชื่อมั่นในการดำเนินงานของกองทุนฯ ทำให้ภาคธุรกิจมีความมั่นใจว่า หากเกิดภัยพิบัติ ก็จะมีกองทุนฯ ที่ให้ความคุ้มครองทรัพย์สิน ที่จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งมั่นคง ให้กับระบบอุตสาหกรรม และสามารถเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมของโลกต่อไป"

มิตซุย ไม่เห็นด้วยแต่พร้อมปฏิบัติตาม

รองผู้จัดการใหญ่บริษัท มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันซ์ จำกัด กล่าวว่า การปรับลดเบี้ย ประกันภัย ที่กำลังมีการพิจารณาในขณะนี้ เห็นว่าเป็นช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม แม้ว่าช่วงปีที่ผ่านมาจะไม่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เหมือนปี 2554 ก็ตาม เนื่องจากตามมาตรฐานวงการเบี้ย ประกันภัย การพิจารณาราคาเบี้ย ประกันภัย ขึ้นหรือปรับเบี้ยลง จะไม่มีการปรับสลับกันในระยะเวลาอันสั้น เพราะเป็นการดำเนินการที่ไม่ได้มาตรฐาน ที่สำคัญการปรับลดราคาเบี้ย ประกันภัย แม้จะเป็นผลดีต่อลูกค้า แต่ไม่เป็นผลดีต่อผู้ประกอบการ เพราะขณะนี้ลูกค้าเริ่มฟื้นตัว แต่ผู้ประกอบการยังไม่ฟื้นตัว แต่อย่างไรก็ตาม หากมีมาตรการปรับลดราคาออกมา ทางผู้ประกอบการก็คงจะต้องปรับลดตาม ไม่สามารถขัดแย้งได้

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ