ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

เตรียมเคาะ 2 แนวทาง รับ ประกันภัย นาแล้ง

เดินหน้าหา ประกันภัย ต่อ รับ ประกันภัย ข้าวนาปี ขอเวลาประเมินโครงสร้างเบี้ย ประกันภัย ก่อนชง ครม. เคาะก่อนขายชาวนา

เตรียมเคาะ 2 แนวทาง รับ ประกันภัย นาแล้ง

พฤษภาคม
23

ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดเผยหลังหารือกับบริษัท เอออน เบนฟิลฯ ซึ่งเป็นบริษัทนายหน้า ประกันภัย ต่อจากต่างประเทศ (รีอินชัวเรอร์) ว่าได้ข้อสรุปในเบื้องต้น ถึงแนวทางการร่วมรับ ประกันภัย พื้นที่เพาะปลูกข้าวที่ใกล้มาถึงอีกครั้ง ซึ่งล่าสุดมีความคืบหน้าในการรับ ประกันภัย 2 แนวทาง สำหรับการรับ ประกันภัย พื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปี ประกอบด้วย

1. การแบ่งโซนพื้นที่เพาะปลูก โดยได้จัดแบ่งออกเป็น 3 โซน คือ 1.โซนที่เสียหายสูง (ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก) หรือที่ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก
2. โซนเสียหายปานกลาง และ
3. โซนที่เหมาะต่อการเพาะปลูก

ในส่วนของราคาคิดเบี้ย ประกันภัย นั้น จะแบ่งราคาออกตามโซนพื้นที่ ซึ่งในแต่ละโซนจะกำหนดพื้นที่ขายตามความเสี่ยงที่ควรจะเป็น เช่นพื้นที่เหมาะต่อการเพาะปลูกอยู่ที่ 1 ล้านไร่ พื้นที่ไม่เหมาะสม ต้องซื้อ ประกันภัย รวมกันไม่เกิน 1 ล้านไร่ และพื้นที่ทั่วไปต้องซื้อ ประกันภัย ขั้นต่ำที่ 1 ล้านไร่ขึ้นไป

ส่วนแนวทางที่ 2 นั้น มีความเป็นไปได้ที่จะไม่รับ ประกันภัย พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งเฉลี่ยอาจมีพื้นที่เข้าโครงการประมาณ 3-4 ล้านไร่ อย่างไรก็ดี คาดว่าภายในเดือนพฤษภาคม 2556 น่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน และจะสามารถเริ่มขาย ประกันภัย แก่เกษตรกรได้ทันฤดูกาลเพาะปลูก ซึ่งจะเริ่มในเดือน กรกฎาคม นี้

นอกจากนี้ที่ประชุมได้หารือถึงความเป็นไปได้ โดยได้ประเมินจากการรับ ประกันภัย เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาร่วมด้วย โดยทาง เอออน มองว่า โครงการรับ ประกันภัย เมื่อ 2 ปีก่อน เกิดความเสียหายสูง โดยรูปแบบการรับ ประกันภัย นั้น ใช้แบบการคิดเบี้ย ประกันภัย เฉลี่ยจากพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั้งประเทศ

ส่วนความเสียหายนั้น ทาง เอออน ได้ประเมินด้วย เนื่องจากบริษัทรับ ประกันภัย ต่อในต่างประเทศ ต่างยอมรับว่าในปี 2554 เกิดความเสียหายจากภัย น้ำท่วม สูงกว่าทุน ประกันภัย 5-6 เท่า แต่กลับมีเบี้ย ประกันภัย รับเพียง 120 ล้านบาท แต่เกิดความเสียหาย และจ่ายค่าสินไหม (เคลม) สูงถึง 760 ล้านบาท ส่วนในปี 2555 กลับเกิดสภาวะภัยแล้ง ทำให้ผลิตเกิดความเสียหาย 2 เท่า ซึ่งอยู่ระหว่างประเมิน โดยคาดว่าจะมีค่าสินไหมอยู่ที่ 200 ล้านบาท ขณะที่มีเบี้ย ประกันภัย เข้ามาเพียง 100 ล้านบาทเท่านั้น

"ต่างประเทศมองลึกถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น เนื่องจาก 2 ปีที่ผ่านมา ภาครัฐเหมือนเข้ามาอุ้มเกษตรกร ประกอบกับที่ผ่านมา การรับ ประกันภัย เป็นการเฉลี่ยเบี้ย ประกันภัย ให้เท่ากันทุกพื้นที่ แน่นอนความเสี่ยงย่อมไม่เท่ากัน รีอินชัวเรอร์ จึงมองว่าปัจจัยเหล่านี้เป็นตัวที่ทำให้อัตราเบี้ย ประกันภัย ไม่เหมาะสม"

นอกจากนี้ยังกล่าวถึง ในส่วนของการคิดอัตราเบี้ย ประกันภัย นั้นว่า ทาง เอออน กำลังอยู่ระหว่างประเมิน เพื่อส่งอัตราเบี้ย ประกันภัย ที่เหมาะสม คาดว่าจะมีการปรับอัตราเบี้ย ประกันภัย เพิ่มตามความเสี่ยง โดยสมาคมเร่งให้ส่งมาก่อนสิ้นเดือนพฤษภาคม เนื่องจากบางพื้นที่เริ่มทยอยปลูกข้าวไปแล้ว โดยกระบวนการต่อไป จะนำรายละเอียดเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อนำเสนอเพื่อขอมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าจะสามารถช่วยเหลือเกษตรกรในด้านเบี้ย ประกันภัย อย่างไร

"อัตราเบี้ยอาจไม่สามารถคิดในระดับเดิม ในอัตรา 129 บาทต่อไร่ ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อค่าเบี้ย ประกันภัย มาจากปริมาณพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการ ความเสี่ยงของพื้นที่ ที่สำคัญที่สุดคือ ทุน ประกันภัย ยิ่งสูง หากเกิดความเสียหาย เกษตรกรก็จะได้รับการชดเชยมากขึ้น"

ทั้งนี้จากข้อมูลอัตราเบี้ย ประกันภัย พื้นที่เพาะปลูก ปี 2555 ซึ่งมีกองทุน ประกันภัย พิบัติเข้ามารับความเสี่ยง ดำเนินการขายความคุ้มครองอยู่ที่ไร่ละ 1,111 บาท ให้คุ้มครอง ภัยโรคระบาดและศัตรูพืช ภัยน้ำท่วม ฝนทิ้งช่วง ลมพายุหรือไต้ฝุ่น อากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง ลูกเห็บ และภัยไฟไหม้ โดยในปี 2554 มีพื้นที่เข้าโครงการ 1.2 ล้านไร่ และปี 2555 มีพื้นที่เข้าโครงการ 8 แสนไร่

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ