ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

แก้กฎหมาย ประกันภัย เพื่อประโยชน์ของใคร

กองทุนประกันวินาศภัย รองรับปัญหา บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน แต่กองทุนฯ ไม่สามารถจ่ายเงินให้ผู้เอา ประกันภัย ได้

แก้กฎหมาย ประกันภัย เพื่อประโยชน์ของใคร

เมษายน
21

ในสมัยประชุมสภานิติบัญญัติ ช่วงนี้กำลังมีการพิจารณาแก้ไขร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกันภัย​และร่าง พ.ร.บ. ประกันชีวิต ในความรับผิดชอบของกระทรวงการคลัง โดยคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอร่างฯ

เฉพาะร่างแก้ไข พ.ร.บ. ประกันวินาศภัย​โดยมีหลักการและเหตุผลเรื่อง​โครงสร้างผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัทตาม พ.ร.บ. ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ.2551​ซึ่งไม่เหมาะสมกับสภาพการประกอบธุรกิจ ประกันภัย​ในปัจจุบัน ถ้าได้อ่านมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ. ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 แก้ไขใหม่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551​เปรียบเทียบกับมาตรา 9 ที่ขอแก้ไขใหม่นั้น​เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับนายทุนต่างชาติมากกว่า ไม่รู้ว่าครม. มีความจำเป็นอะไรที่ต้องเร่งแก้ไข​เอื้อประโยชน์ให้กับต่างชาติมากมาย​หลักการและเหตุผลที่น่าสนใจมาก คือ กรณีบริษัทล้มละลาย​หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย กองทุนประกันวินาศภัยจะเข้าไปช่วยเหลือ เจ้าหนี้ที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอา ประกันภัย​ได้ต่อเมื่อกระบวนการตามกฎหมายล้มละลายเสร็จสิ้นแล้วเท่านั้น​

ทำให้กองทุนฯ​ไม่สามารถคุ้มครองเจ้าหนี้ที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ ที่เกิดจากการเอา ประกันภัย ได้ทันท่วงที ซึ่งคงจะเป็นเพราะ พ.ร.บ. ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 แก้ไขใหม่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 มาตรา 80/5 บัญญัติไว้ว่า​ในกรณีบริษัทล้มละลาย​หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต​และจำนวนหนี้ตามมาตรา 26 มีไม่เพียงพอให้เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ ที่เกิดจากการเอา ประกันภัย มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากกองทุนฯ

บทบัญญัติดังกล่าวดูไม่ชัดแจ้งเลย แต่เมื่อพิจารณาดีๆ จะเห็นว่าแม้ พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย แก้ไขใหม่ (ฉบับที่ 2) มาตรา 5 บัญญัติให้มีกองทุนประกันวินาศภัย รองรับปัญหาบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ตามมาตรา 26​แต่กองทุนประกันวินาศภัยก็ไม่สามารถจ่ายเงินให้ผู้เอา ประกันภัย ได้​เพราะมาตรา 26 มีนัยสำคัญว่า จะต้องมีการล้มละลายเสร็จสิ้น​ซึ่งเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ นำเงินจากกองทรัพย์สินของบริษัทมาจ่ายเจ้าหนี้ก่อน​เหลือเท่าไรผู้เอา ประกันภัย​จึงมีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนฯ กรณีบริษัท สัมพันธ์ ประกันภัย จำกัด ถูกรัฐมนตรีเพิกถอนใบอนุญาตฯ ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2552​ผู้ชำระบัญชีร้องล้มละลายตั้งแต่ปี 2553 จนปัจจุบันเจ้าหนี้ยังไม่ได้รับชำระหนี้แม้แต่รายเดียว​โดยเฉพาะเจ้าหนี้เอา ประกันภัย ที่กฎหมายบัญญัติให้มีบุริมสิทธิพิเศษเหนือเจ้าหนี้อื่น​ก็ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากกองทุนฯ แต่เมื่อร่างกฎหมายใหม่บัญญัติ​ให้แก้ไขมาตรา 80/5​เดิม​และแก้ไขใหม่​เมื่อได้รับแจ้งจากผู้ชำระบัญชีตามมาตรา 61/3​ให้กองทุนชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่เกิดจากการเอา ประกันภัย แทนบริษัทที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตฯ

ในส่วนการแก้ไข พ.ร.บ. ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 มาตรา 26​ก็ถือเป็นอานิสงส์ของผู้เอา ประกันภัย​เพราะกฎหมายเก่าคลุมเครือ มีการใช้กฎหมายผิดๆ โดยธนาคารผู้รับฝากเงินไม่เข้าใจเจตนารมณ์กฎหมาย​จึงส่งเงินให้เจ้าพนักงานตามหมายบังคับคดี เป็นผลให้ธนาคารนั้นๆ ต้องถูกฟ้องให้ชำระหนี้ เมื่อบัญญัติให้ชัดเจนว่าเงินประกันตามมาตรา 19​หรือเงินสำรองตามมาตรา 23 ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ขณะที่บริษัทยังดำรงอยู่ เพื่อการชำระบัญชี​การแก้ไขกฎหมายดังกล่าว สามารถกันเงินเอาไว้ให้ผู้เอา ประกันภัย ได้อย่างเต็มที่

แต่เห็นว่าความเป็นธรรมนั้นควรมองให้กว้างกว่าที่เป็นอยู่ เช่น​เจ้าของอู่ซ่อม รถยนต์ ซึ่งมีส่วนช่วยเหลือผู้เอา ประกันภัย ช่วยธุรกิจ ประกันภัย ให้รุ่งเรือง​โดยใช้ทุนส่วนตัว แต่ไม่มีบทบัญญัติใดให้ความคุ้มครองช่วยเหลือ ดังเช่นผู้ ประกันภัยรถยนต์ ที่เป็นเจ้าหนี้ของบ.สัมพันธ์ ประกันภัย เท่าที่ทราบมีจำนวนหนี้กว่า 600 ล้านบาท ซึ่งขณะล้มละลายบริษัทมีหนี้สูงถึง 2,556 ล้าน​แต่มีทรัพย์สินเพียง 290 ล้าน​ซึ่งเห็นว่าไม่มีทางใดๆ ที่อู่ทั้งหลายจะได้รับการชำระหนี้ กรณีบริษัทล้มละลายตามร่างแก้ไขมาตรา 61/2 (2)​ซึ่งบัญญัติให้กรรมการบริษัทส่งมอบบัญชี​และเอกสารหลักฐานให้ผู้ชำระบัญชีภายใน 7 วันนั้น เห็นว่าควรร่างให้ชัดเจนว่า เอกสารที่ให้ส่งมอบนั้น จำแนกให้ชัดเจนว่า​เป็นสมุดบัญชีรายรับรายจ่าย งบดุล สมุดรับ ประกันภัย สำเนากรมธรรม์แประกันภัย เอกสารการจ่ายค่าสินไหม สำนวนคดี บัญชีรายชื่อเจ้าหนี้ทั้งหลาย ถ้ามีรายละเอียดมากก็บัญญัติเพิ่มในกฎกระทรวง

เหตุผลที่เห็นว่าควรบัญญัติ่ให้ชัดเจนว่า ควรส่งมอบบัญชีรายชื่อเจ้าหนี้ให้ผู้ชำระบัญชีโดยเร็ว​ก็เพราะตามมาตรา 61/3 บัญญัติให้ภายใน 30 วันนับแต่ที่ได้รับแต่งตั้ง​ให้ผู้ชำระบัญชีส่งจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังเจ้าหนี้​ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอา ประกันภัย ที่ปรากฏชื่อในบัญชี​และเอกสารของบริษัท เพื่อให้ยื่นทวงหนี้ต่อผู้ชำระบัญชี​และให้เจ้าหนี้เอา ประกันภัย ยื่นคำทวงหนี้จากผู้ชำระบัญชีภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่กำหนดในประกาศ เห็นว่าควรบัญญัติให้ชัดเจนว่า ต้องให้กรรมการส่งมอบบัญชีรายชื่อเจ้าหนี้ให้ครบถ้วนโดยเร็ว เพราะบริษัทย่อมรู้ดีว่า ใครบ้างเป็นเจ้าหนี้เอา ประกันภัย หากเป็นบริษัทเล็ก เจ้าหนี้ก็นับได้เป็นพันราย​หรือหลายพันราย​แต่ถ้าบริษัทใหญ่จะมีเจ้าหนี้หลายหมื่นราย​จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะให้ผู้ชำระบัญชี ส่งจดหมายให้เจ้าหนี้ได้ทันตามกำหนด หากกฎหมายไม่บัญญัติ ให้กรรมการต้องส่งบัญชีรายชื่อเจ้าหนี้ให้ครบถ้วน จะเป็นผลให้ผู้ชำระบัญชีไม่สามารถรวบรวมรายชื่อแจ้งเจ้าหนี้ได้ทัน​และไม่สามารถจ่ายหนี้ครบถ้วนภายใน 120 วัน จะเกิดปัญหาให้ผู้ชำระบัญชีถูกฟ้องให้รับผิดเป็นส่วนตัวในภายหลัง

ที่มา : อาร์วายทีไนน์