ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

ชงปรับค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ อิง 20 กลุ่มใหม่ สะท้อนความเสี่ยงมากกว่าเดิม

การจัดกลุ่มรถยนต์ตามความเสี่ยง ข้อมูลประกอบการตัดสินใจเพื่อประเมินรถยนต์แต่ละรุ่น ตรงกับการใช้งาน

ชงปรับค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ อิง 20 กลุ่มใหม่ สะท้อนความเสี่ยงมากกว่าเดิม

กันยายน
14

หลังจากสมาคมประกันวินาศภัยได้ว่าจ้างบริษัท ทัทชาม (ประเทศไทย) จำกัด มาจัดกลุ่มรถยนต์ตามความเสี่ยง ให้กับธุรกิจประกันภัยรถยนต์ของไทย โดยใช้หลักวิศวกรรมยานยนต์ ขณะนี้ทัทชามได้จัดกลุ่มรถยนต์ในตลาดทั้งหมดทุกยี่ห้อ ทุกรุ่นตามปัจจัยความเสี่ยงทั้งราคา ค่าซ่อมรถ และความปลอดภัยจากการถูกโจรกรรมเสร็จแล้ว แบ่งออกเป็น 20 กลุ่ม

“อดีตในการทำประกันภัยรถยนต์ เราจัดกลุ่มรถยนต์ออกเป็น 5 กลุ่ม โดยใช้ประวัติความสูญเสีย และความเสียหาย จากอุบัติเหตุมีมูลค่ามากน้อยแค่ไหน มูลค่าอะไหล่มาเป็นองค์ประกอบในการแบ่งกลุ่มรถยนต์ เพื่อคำนวณเบี้ยประกันภัยรถยนต์ แต่ตอนนี้เราทำเชิงรุก นำหลักวิศวกรรมยานยนต์เข้ามาศึกษา นำข้อมูลความเสียหายที่ได้ มาแบ่งประเภทกลุ่มรถให้เกิดความเหมาะสม ใช้กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดอันดับความเสี่ยง ในการรับประกันภัยรถยนต์ ทั้งที่ผลิตและนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย “ ประธานคณะกรรมการประกันภัยยานยนต์ สมาคมประกันวินาศภัยกล่าว

การจัดกลุ่มรถยนต์ตามความเสี่ยง เป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายโดยเฉพาะประชาชน สามารถนำข้อมูลการจัดกลุ่มรถยนต์ตามความเสี่ยง เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเพื่อประเมินรถยนต์แต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่น ให้ตรงกับความต้องการใช้งานของตนเอง ผู้ผลิตรถยนต์ต่างๆ เกิดการปรับตัว ในการพัฒนารถยนต์ที่มีการจำหน่ายในประเทศไทย ให้เกิดความเสี่ยงที่ดีขึ้น ราคาอะไหล่สมเหตุสมผลมากขึ้น ตลอดจนระบบการซ่อมแซมรถยนต์จะมีการพัฒนาให้ง่ายขึ้น

ขณะที่ธุรกิจประกันภัยรถยนต์ สามารถนำข้อมูลไปประยุกต์กับอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ สามารถคิดเบี้ยประกันภัยนรถยนต์ที่เหมาะสมกับผู้บริโภค และความเสี่ยงของรถยนต์ได้มากขึ้น จากปัจจุบันใช้ข้อมูลจากอดีต มาประเมินกลุ่มรถยนต์ควรจะอยู่กลุ่มไหนใน 5 กลุ่มที่จัดไว้ เพื่อคิดเบี้ยประกันภัยรถยนต์ แต่รถใหม่ที่เพิ่งผลิตออกสู่ตลาดกลับไม่มีข้อมูล ทำให้การจัดกลุ่มรถและคิดเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ไม่สอดรับกับความเสี่ยง รวมไปถึงควบคุมต้นทุนค่าสินไหมทดแทนประกันภัยรถยนต์ ต้นทุนในการซ่อมแซมรถยนต์

รองประธานคณะกรรมการประกันภัยยานยนต์ สมาคมประกันวินาศภัยกล่าวว่า รถยนต์ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการจัดกลุ่ม คือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล และรถปิกอัพ ซึ่งเป็นผู้ใช้รถยนต์กลุ่มใหญ่ของประเทศ ซึ่งการจัดกลุ่มความเสี่ยงครั้งนี้ พิจารณาจาก 3 ส่วนหลักคือ 1. ความยากง่ายในการซ่อมแซมเวลาเกิดอุบัติเหตุ 2. ระบบป้องกันการโจรกรรม และ3. ราคาอะไหล่โดยใช้อะไหล่ทั้งหมด 23 ชิ้นที่มีการใช้งานบ่อย เป็นการจัดความเสี่ยงของรถยนต์ นับตั้งแต่เริ่มผลิตออกจำหน่าย ทำให้ประชาชน บริษัทประกันภัย รวมถึงผู้ผลิตรถยนต์ รู้ความเสี่ยงทันทีตั้งแต่เริ่มขาย ของไทยจัดออกมา 20 กลุ่ม น้อยกว่าอังกฤษที่มีถึง 50 กลุ่ม

อย่างไรก็ดีทางคณะกรรมการประกันภัยยานยนต์ จะนำการจัดกลุ่มรถความเสี่ยงทั้ง 20 กลุ่ม นำเสนอต่อคณะทำงานปรับปรุงกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ และภาคบังคับ รวมถึงพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จัดตั้งขึ้น ซึ่งมีผู้แทนจากสมาคมฯ เป็นคณะทำงานอยู่ด้วย เพื่อประกอบการพิจารณาทบทวนพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ โดยข้อมูลดังกล่าวสามารถสะท้อนความเสี่ยงได้ละเอียดมากกว่าของเดิม ที่มีเพียง 5 กลุ่มซึ่งใช้มาเป็นเวลานานแล้ว

“เราจะพยายามผลักดันให้ได้ภายในเทอมการทำงานของ คณะกรรมการประกันภัยยานยนต์ที่จะหมดวาระสิ้นเดือนมีนาคมปีหน้านี้ให้ได้ ทั้ง 20 กลุ่มรถที่จัดมาเห็นภาพความเสี่ยงชัดเจน เดิมเวลามีรถใหม่รถใหม่ออกมา บริษัทประกันภัย ไม่มีข้อมูลควรจะจัดความเสี่ยงไปอยู่กลุ่มไหนดี มีแค่ 5 กลุ่มที่จะจัดลงไปได้ แต่ต่อไปเราสามารถอ้างอิงจาก 20 กลุ่มนี้ได้ ซึ่งมีความละเอียดมากกว่าเดิม บริษัทประกันภัยคิดเบี้ยได้เหมาะกับความเสี่ยงมากขึ้น แต่ต้องเป็นไปตามพิกัดที่คปภ. กำหนด อย่างอีโคคาร์เดิมถูกจัดอยู่ในกลุ่ม 5 คิดเบี้ยเท่ากันหมด ทั้งที่ความเสี่ยงแต่ละรุ่นไม่เท่ากัน และบางรุ่นนำเข้ามาค่าอะไหล่แพงกว่าที่ผลิตในไทยมาก ต่อไปสามารถคิดเบี้ยได้ตรงความเสี่ยงมากขึ้น”

ต่อข้อถามการจัดกลุ่มรถยนต์ตามความเสี่ยง จะลดอัตราค่าสินไหมทดแทน (Loss Ratio) ได้มากน้อยแค่ไหน ต้องทำให้ความเสียหายลดลง อย่างเทคโนโลยีระบบเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติ (Autonomous Emergency Braking : AEB) ซึ่งรถยนต์จะเบรกให้เองทันที เมื่อพบว่าจะมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น หากผู้ผลิตรถยนต์ใช้เทคโนโลยีนี้มาก จะลดความถี่ในการเกิดความเสียหายลงได้ ทำให้มูลค่าความเสียหายลดลงจะช่วยลดอัตราสินไหมทดแทนลงได้ กรรมการผู้จัดการบริษัท ทัทชาม (ประเทศไทย) กล่าวว่า บริษัทได้ประเมินระบบป้องกันการโจรกรรมในรถยนต์ทุกยี่ห้อ และทุกรุ่น นำผลลัพธ์มาคำนวณรวมในการจัดกลุ่มรถยนต์ด้วย พบว่ารถยนต์ในประเทศไทยส่วนใหญ่ ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องพัฒนาปรับปรุงระบบการป้องกันการโจรกรรม ให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล

ที่มา : สยามธุรกิจ