ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

ห่วงคดีฟ้องรัฐกระทบจ่ายชดเชยประกันภัยล่าช้า

เอกชนห่วงภาคประชาชนฟ้องรัฐกระทบการชดเชยค่าสินไหมประกันภัยให้ล่าช้า เสนอขอให้จ่ายเงินประกัน 50% ก่อนล่วงหน้า

ห่วงคดีฟ้องรัฐกระทบจ่ายชดเชยประกันภัยล่าช้า

พฤศจิกายน
23

โดย โพสต์ทูเดย์ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2554 เวลา 16:14 น.

ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยภายหลังจากหารือร่วมกับหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ว่า ขณะนี้ภาคเอกชนเริ่มกังวล ในเรื่องที่จะมีกลุ่มภาคประชาชนจะฟ้องร้องรัฐบาล ในเรื่องการบริหารจัดการน้ำ เนื่องจากเกรงว่าบริษัทประกันภัย จะใช้เป็นข้ออ้างชะลอการดำเนินการประเมินความเสียหายจากน้ำท่วม หรือถ้ามีการฟ้องร้อง การชดเชยค่าเสียหายจะยิ่งชะลอออกไป เพราะต้องรอให้ศาลตัดสินก่อน ซึ่งจะทำให้เรื่องมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ตามปกติการประกันเรียกเงินค่าสินไหมทดแทนจะใช้เวลาอย่างน้อย 10 เดือน โดยความเสียหายที่เกิดขึ้นในครั้งนี้รวมทั้งหมดจะอยู่ที่ประมาณ 7 แสนล้านบาท แบ่งเป็นความเสียหายในภาคธุรกิจ 6 แสนล้านบาท และความเสียหายด้านครัวเรือน 5 หมื่นล้านบาท โดย 30% ของ 7 แสนล้าน หรือคิดเป็นเงินจำนวน 2 แสนล้านบาท จะเป็นเงินที่ประกันภัยต้องจ่าย

ภาคเอกชนจึงต้องการให้การชดเชยสินไหมเป็นไปอย่างราบรื่น ซึ่งหากกรณีไหนที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ยังตกลงความเสียหายที่ชัดเจนไม่ได้ ก็ต้องการให้จ่ายเงินประกันภัยล่วงหน้ามาก่อน 50% เพื่อให้ผู้ประกอบการได้นำเงินดังกล่าวมาซ่อมแซมโรงงาน หรือฟื้นฟูธุรกิจอย่างรวดเร็ว

ขณะเดียวกันส.อ.ท.อยู่ระหว่างการทำหนังสือส่งไปยังกระทรวงพาณิชย์ ให้ผ่อนคลายกฎระเบียบให้บริษัทต่างชาติ สามารถปล่อยเงินกู้ให้แก่บริษัทลูกในประเทศไทย หรือบริษัทที่เป็นซัพพลายเชนได้

“ข้อเสนอทั้งหมดได้สะท้อนไปยังรัฐบาลแล้ว ซึ่งข้อเสนอบางข้อได้ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) มา เหลือแต่รายละเอียดที่รัฐบาลต้องกำหนดให้ถึงผู้ปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการนำไปใช้อย่างรวดเร็ว” นายพยุงศักดิ์ กล่าว

ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ส.อ.ท.กล่าวว่า ต้องการขอให้รัฐลดการเก็บเงินหักภาษี ณ ที่จ่ายจากปัจจุบันที่ระดับ 3% เหลือ 0.5% เพื่อช่วยผู้ประกอบการที่รับจ้างผลิต (โออีเอ็ม) รวมทั้งเลื่อนการบังคับใช้การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ออกไปจนกว่าผู้ผลิตจะตั้งตัวได้

รวมทั้งให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ขยายระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ออกไปอีก 6-12 เดือน เพื่อชดเชยช่วงที่ถูกน้ำท่วม และอยากให้ภาครัฐนำเงินกองทุนประกันสังคมที่มีอยู่ 5.56 หมื่นล้านบาท มาช่วยจ่ายชดเชยให้ลูกจ้างในช่วงที่ผู้ประกอบการต้องหยุดการผลิต

ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ และบริษัทสวนอุตสาหกรรมบางกะดี กล่าวว่า เงินกู้สำหรับการสร้างเขื่อนถาวรป้องกันพื้นที่นิคม ที่รัฐบาลให้ธนาคารออมสินดูแล ในอัตราดอกเบี้ย 0.01% ระยะเวลา 7 ปี ต้องการให้ขยายออกเป็น 15 ปี และให้นำเงินส่วนนี้มาหักลดหย่อนภาษีได้ 1-2 เท่า นอกจากนี้รัฐบาลต้องวางแผนบริหารจัดการน้ำในอนาคตอย่างชัดเจน เพราะเรื่องดังกล่าวจะเป็นเงื่อนไขของการรับประกันภัย หากธุรกิจอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม และจะส่งผลต่อการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในอนาคต

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า มีความเป็นห่วงใน 4 เรื่อง ได้แก่
1. เป็นห่วงภาคอุตสาหกรรมนอกนิคมอุตสาหกรรมที่จะได้รับการดูแลไม่ทั่วถึง
2. ประเด็นด้านภาษี ที่รัฐบาลจะเป็นต้องทบทวนเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย
3. ปัญหาการจ้างงาน
4. ปัญหาขาดช่างเทคนิคมาฟื้นฟูกิจการ ซึ่งจำเป็นต้องเร่งประสานกับกระทรวงศึกษาธิการ ให้นักศึกษาอาชีวะเข้ามามีส่วนร่วม

ที่มา : โพสต์ทูเดย์