ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

คิกออฟ RBC ประกันภัยพร้อม บริษัทฐานะมั่นคง

บริษัทประกันภัยเข้าโครงการทดสอบระดับเงินกองทุนตามแนวทางใหม่ บริษัทประกันภัยส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์การใช้ RBC ครั้งล่าสุด

คิกออฟ RBC ประกันภัยพร้อม บริษัทฐานะมั่นคง

สิงหาคม
31

โดย สยามธุรกิจ วันที่ 27 สิงหาคม 2554 เวลา 00:00 น.

1 กันยายนที่จะถึง นี่คือกำหนดเวลาที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและ ส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จะเริ่มนำกติกาสากลการกำกับเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง (Risk Based Capital : RBC) มาใช้ในการกำกับ ดูแลขนาดเงินกองทุนของบริษัทประกันภัยในประเทศไทย กำหนดให้บริษัทประกันภัยต้องมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อเงินกองทุน ที่ต้องดำรงไว้ตามกฎหมายหรือความพอเพียงของเงินกองทุน (CAR Ratio) ขั้นต่ำ 125% จากเดิม 100% เพื่อส่งเสริมฐานะการเงินบริษัทประกันภัยแข็งแกร่งมากขึ้น

ซึ่งที่ผ่านมาคปภ.ได้เตรียมความพร้อมบริษัทประกันภัยกับการใช้ RBC มาตลอด โดยให้บริษัทประกันภัยเข้าโครงการทดสอบระดับเงินกองทุนตามแนวทางใหม่ไปแล้ว 2 ครั้งเพื่อประเมินผลเงินกองทุน ซึ่งทั้ง 2 ครั้งบริษัทประกันภัยส่วนใหญ่ผ่าน เกณฑ์ อย่างครั้งล่าสุดที่เพิ่งทดสอบเสร็จสิ้น ไปเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา บริษัท ประกันภัย 99.8% ผ่านการทดสอบตามเกณฑ์ มีเพียง 0.2% หรือ 3 บริษัทเท่านั้นที่ไม่ผ่าน

“ระดับเงินกองทุนขั้นต่ำตามเกณฑ์ RBC ที่จะเริ่มใช้ 1 กันยายนนี้ บริษัทประกันภัยต้องมีเงินกองทุนไม่ต่ำกว่า 125% หากไม่ถึงเราจะมีมาตรการกำกับดูแลเพิ่มเติม เพื่อให้บริษัทประกันภัยปรับปรุงแก้ไข เงินกองทุนให้ถึงเกณฑ์ให้ได้ โดยประกาศคปภ. ฉบับใหม่ให้นายทะเบียนมีอำนาจกำหนดมาตรการเพิ่มเติม ในการกำกับดูแลบริษัท ซึ่งคปภ.ได้ประชุมชี้แจงผลการทดสอบคู่ขนานเงินกองทุนครั้งที่ 2 ให้บริษัท ประกันภัยรับรู้ไปแล้วเมื่อต้นสัปดาห์นี้ รวมถึงบอกกล่าวให้รับรู้ว่าขั้นต่อไปของ RBC ทางคปภ.จะมีกฎเกณฑ์อะไรใหม่ๆ ออกมาอีกบ้าง เพื่อความเข้มแข็งทางการเงินของบริษัทประกันภัย”

สำหรับเกณฑ์ใหม่ RBC จะวัดระดับ เงินกองทุนแค่ 2 ขั้น คือต่ำกว่า 100% และ ต่ำกว่า 125% โดยเกณฑ์ 100% เป็นตามกฎหมายเดิม ถ้าบริษัทประกันภัยใดมีเงินกองทุนไม่ถึงเกณฑ์ หากเป็นบริษัทประกันวินาศภัยจะถูกสั่งหยุดรับประกันภัยชั่วคราวทันที ส่วนบริษัทประกันชีวิตจะเข้าควบคุมกิจการ และหากต่ำกว่า 125% ยังรับประกันภัยได้อยู่ แต่จะให้ทำแผนการแก้ไขฐานะการเงิน ซึ่งระหว่างนั้นอาจจะสั่งห้ามลงทุน หรือขยายธุรกิจใดๆ เพิ่มเติม

RBC เป็นการวัดความเสี่ยงของบริษัทประกันภัยรอบด้าน โดยกำหนดให้มีเงินกองทุนมารองรับความเสี่ยง (Risk Charge) นั้นๆ เช่น ความเสี่ยงจากการลงทุนโดยการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงสุด คือ หุ้นหากเป็นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯกำหนด ให้บริษัทต้องมีเงินกองทุนมารองรับ 16% จากเดิมไม่มี หากเป็นหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องมีเงินกองทุนมารองรับ 20% ส่วนความเสี่ยงจากการรับประกันภัย ระหว่างบริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัยจะไม่เหมือนกัน เนื่องจากลักษณะธุรกิจแตกต่างกัน ยกตัวอย่างธุรกิจ ประกันวินาศภัยหากเป็นการประกันภัยความรับผิดบุคคลภายนอก (Liability) ประกันภัยทรัพย์สิน (Industrial All Risk : IAR) จะมีความเสี่ยงมากกว่าประกันภัยรถยนต์ เนื่องจากมีความผันผวนของธุรกิจ มากกว่ามีโอกาสเกิดความเสียหาย (Loss Ratio) ถึง 100-200% ต้องมีเงินกองทุนมารองรับ 30% ขณะที่ประกันรถยนต์อาจจะมี Loss Ratio สูงแต่ในมุม RBC ถ้าเบี้ยประกันรถยนต์เหมาะสม ความเสี่ยงไม่น่ากลัวเท่ากลุ่มแรกเงินกองทุนที่จะมารองรับน้อยกว่า

“ในแง่ผู้บริโภค RBC ทำให้เขารู้ว่า บริษัทประกันภัยมีฐานะการเงินมั่นคงแค่ไหน เลือกบริษัทได้ เงินกองทุนตามเกณฑ์ RBC สะท้อนความเสี่ยงได้ดีกว่าของเดิม เพราะวัดความเสี่ยงจากไส้ในทั้งหมดของบริษัท ผู้บริโภคเห็นความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจของบริษัท ในมุมของผู้ลงทุนจะรู้ว่าผู้บริหาร บริหารธุรกิจอย่างไร สามารถตรวจสอบการดำเนินธุรกิจของผู้บริหารได้ ในมุมบริษัทประกันภัยรู้กิจกรรมแต่ละอันเป็นอย่างไร อันไหนเสี่ยงมากเสี่ยงน้อย ที่ผ่านมาผู้บริหารบางบริษัทอาจจะไม่เคยดูว่า การใช้เงินกองทุนก่อให้เกิดผลประโยชน์รวมแก่บริษัทมากน้อยแค่ไหน แต่จากนี้จะต้องดูมากขึ้น จะรู้ตรงไหนเงินสำรองเงินกองทุนส่วนไหนเป็นเงินผู้เอาประกัน ส่วนไหนของเจ้าของจะสะท้อนไส้ในทั้งหมด”

ที่มา : สยามธุรกิจ