ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

ป.ป.ช. ชี้จำนำข้าวทำรัฐขาดทุนมหาศาล

ประโยชน์ส่วนใหญ่มิได้ตกแก่ชาวนา แต่ตกแก่ผู้ส่งออก โรงสี เจ้าของโกดัง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ก่อให้เกิดพฤติกรรมการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ

ป.ป.ช. ชี้จำนำข้าวทำรัฐขาดทุนมหาศาล

สิงหาคม
28

โดย nationchannel วันที่ 27 สิงหาคม 2554 เวลา 06:56 น.

กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยว่า โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ก่อให้เกิดภาระขาดทุนเป็นเงินมหาศาล แต่เป็นภาระหนี้สาธารณะในลักษณะปลายเปิด (contingent liability) ก่อให้เกิดปัญหาวินัยการคลัง เพราะรัฐบาลใช้เงินกู้ของสถาบันการเงินของรัฐ (หรืองบกึ่งคลัง) ประโยชน์ส่วนใหญ่มิได้ตกแก่ชาวนา แต่ตกแก่ผู้ส่งออก โรงสี เจ้าของโกดัง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ มิหนำซ้ำชาวนาส่วนใหญ่ที่ได้ประโยชน์ คือ ชาวนาที่มีฐานะในเขตชลประทาน การแทรกแซงตลาดข้าวของรัฐ ก่อผลกระทบรุนแรงต่อความสามารถในการส่งออก ทำให้ต้นทุนผลิตข้าวของสังคม (social cost) สูงขึ้น แต่คุณภาพข้าวต่ำลง พ่อค้าคนกลางในท้องถิ่นและตลาดกลางเลิกกิจการ พ่อค้าส่งออกรายใหญ่ ได้เปรียบพ่อค้าส่งออกข้าวรายอื่นๆ การแทรกแซงบิดเบือนกลไกตลาด ทำให้การแข่งขันลดลง ยิ่งกว่านั้นการแทรกแซงยังก่อให้เกิดพฤติกรรมการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการทุจริตในทุกระดับของการแทรกแซง ผลที่ตามมาคือ ความเสียหายต่อการใช้ทรัพยากรและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ดังนั้นรัฐบาลจึงควรยกเลิกโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

ข้อเสนอแนะทางนโยบายที่สำคัญ คือ รัฐบาลควรยกเลิกโครงการรับจำนำข้าวเปลือก แล้วสั่งการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือก จัดทำรายงานการเงินและปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวเปลือกทุกโครงการ ให้แล้วเสร็จในเวลา 1 ปี และจัดให้มีการประกันภัยความเสี่ยงด้านราคาข้าว เพื่อเป็นหลักประกันช่วยเหลือเกษตรกร มิให้ต้องประสบปัญหาขาดทุนจากภาวะราคาตลาดตกต่ำ โดยรัฐไม่ต้องเข้าแทรกแซงการค้าข้าว นโยบายใหม่นี้มิได้ต้องการยกระดับราคาข้าวในตลาด

อย่างไรก็ตามเพื่อให้เกษตรกรทุกครัวเรือน ได้รับประโยชน์จากการประกันภัย รัฐบาลควรจำกัดเพดานการประกันภัยของครัวเรือนเกษตรกรแต่ละราย ผลการศึกษาพบว่าหากรัฐบาลกำหนดเพดานการประกัน 10 ตันต่อครัวเรือน จะมีเกษตรกรร้อยละ 82 ที่ได้รับการประกันเต็มเพดาน ส่วนเกษตรกรซึ่งมีผลผลิตเกิน 10 ตัน ก็ยังคงได้รับความช่วยเหลือเฉพาะข้าวเปลือก 10 ตันแรก นอกจากนั้นผู้วิจัยเสนอให้เกษตรกรมีส่วนร่วมจ่ายค่าเบี้ยประกันภัย โดยในปีแรกรัฐอาจคิดค่าเบี้ยประกันภัยอัตราต่ำ หรือไม่คิดเบี้ยประกันภัย แต่ให้รัฐค่อยๆเพิ่มเบี้ยประกันภัยในปีต่อๆไป รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า เพื่อใช้เป็นกลไกป้องความเสี่ยงที่เกิดจากโครงการประกันภัยความเสี่ยงราคา ตลอดจนให้บริษัทประกันภัยเอกชนเข้ามาเป็นผู้รับประกันภัยต่อ (re-insurance) ในอนาคต

ตามข้อเสนอใหม่นี้รัฐจะไม่ต้องรับซื้อข้าวในตลาดอีกต่อไป จึงไม่มีการแทรกแซงตลาดข้าว การผลิตและการค้าข้าวจะเป็นการดำเนินการ เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจตามกลไกตลาด นโยบายนี้จะสามารถป้องกันการทุจริตต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นในทุกขั้นตอนของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ยกเว้นการจดทะเบียนเกษตรกร สามารถลดต้นทุนของการแทรกแซงและความสูญเสียทางเศรษฐกิจ นอกจากนั้นเมื่อสิ้นฤดูเก็บเกี่ยว รัฐบาลจะทราบภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมดของโครงการ ทำให้รัฐบาลต้องมีวินัยการคลังในการดำเนินนโยบายช่วยเหลือเกษตรกร

ที่มา : nationchannel