ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

ฟินันซ่า ย่ำแย่กองทุนประกันภัยขาดเพิ่มเกินพันล้าน

เงินกองทุนติดลบเพิ่มขึ้น การหาผู้ร่วมทุนรายใหม่ยากขึ้น การตัดสินใจของนักลงทุนลำบากขึ้น เพราะต้องใช้เงินมากขึ้น

ฟินันซ่า ย่ำแย่กองทุนประกันภัยขาดเพิ่มเกินพันล้าน

สิงหาคม
12

โดย สยามธุรกิจ วันที่ 6 สิงหาคม 2554 เวลา 00:00 น.

1 ปีกับ 3 เดือนเศษ นับจากที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลังมีคำสั่งให้ควบคุมบริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด เมื่อ 26 เมษายน 2553 พร้อมกับแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมเข้าไปดูแลบริษัท หลังจากบริษัทประสบปัญหาฐานะการเงินอย่างหนัก ขาดเงินกองทุนจำนวนมาก โดยตลอดเวลาปีกว่าที่ผ่านมาทางคณะกรรมการควบคุม พยายามหาผู้ร่วมทุนรายใหม่เข้ามากอบกู้กิจการ ซึ่งก็มีนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศหลายรายแสดงความสนใจ เข้ามาพูดคุยเงื่อนไขกันตลอด แต่จนแล้วจนรอดยังไม่สามารถหาผู้ร่วมทุนรายใหม่ได้

มิหนำซ้ำสถานการณ์ทางด้านฐานะการเงินของฟินันซ่าในขณะนี้ ส่งสัญญาณไม่ค่อยดีเพราะนับแต่เดือนมกราคม 2554 เรื่อยมา ฟินันซ่าเงินกองทุนติดลบเพิ่มขึ้นมาก หลังจากก่อนหน้านี้ลดลงมาตลอดจากข้อมูลงบการเงินล่าสุด ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผย ณ สิ้นเดือนเมษายน 2554 ฟินันซ่าดำรงเงินกองทุนไม่ครบถ้วนตามกฎหมาย หรือมีเงินกองทุนติดลบถึง 1,664.31 ล้านบาท แม้จะลดลงเทียบกับ 1,746.80 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนมกราคม 2554 ก็ตามแต่ยังสูงมากเทียบกับ ณ สิ้นปี 2553 ที่ขาดแค่ 897.94 ล้านบาท

เนื่องจากคปภ.ปรับเกณฑ์การประเมินทรัพย์สินและหนี้สินใหม่ ที่เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2554 โดยเกณฑ์ใหม่กำหนดว่าหากเป็นหนี้สินที่ไม่ชำระติดต่อกันภายใน 12 เดือน ให้ถือเป็นหนี้เสียตีราคาเป็นศูนย์จากเดิมหนี้เสีย คือหนี้สินที่ไม่ชำระติดต่อกันภายใน 5 ปี เท่ากับระยะเวลาสั้นลงมากทำให้ฟินันซ่ากองทุนติดลบเพิ่มขึ้นอีก 700-800 ล้านบาท โดยหนี้สินของฟินันซ่าส่วนใหญ่ส่วนใหญ่เป็นการปล่อยกู้ทั่วไป ที่มีอสังหาริมทรัพย์จำนองเป็นประกันระยะเวลาการชำระอยู่ระหว่าง 2-5 ปี

“การที่เงินกองทุนติดลบเพิ่มขึ้นทำให้การหาผู้ร่วมทุนรายใหม่ยากขึ้น การตัดสินใจของนักลงทุนลำบากขึ้น เพราะต้องใช้เงินมากขึ้น แต่เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาคปภ. เพิ่งใช้ประกาศประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินฉบับที่ 2 ที่ปรับปรุงให้สอดรับกับเกณฑ์การดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง (Risk Based Capital : RBC) ประเมินราคาหนี้สินตามราคายุติธรรม (Fair Value) ไม่ได้ตีราคาหนี้สินเป็นศูนย์เสียทีเดียว หลักการคือ ถ้าหนี้เสียปีแรกหักไปส่วนหนึ่ง ปีที่สองหักเพิ่ม เกณฑ์ใหม่ทำให้ฟินันซ่าขาดเงินกองทุนน้อยลงอีกราว 300 ล้านบาท”

อย่างไรก็ดี อุปสรรคของการพิจารณาของกลุ่มทุนใหม่นั้น ไม่ใช่เรื่องเม็ดเงินลงทุน แต่เป็นเรื่องของข้อมูลทั้งหมดที่จะนำมาประกอบการประเมิน ก่อนตัดสินใจเพราะยังมีข้อมูลบางตัว เช่น เรื่องของการให้กู้ยืมโดยมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งขณะนี้มียอดเรียกเก็บไม่ได้อยู่จำนวนหนึ่ง และบางรายก็เป็นคดีความอยู่ อาจจะทำให้เกิดเป็น NPL ได้ โดยทางบริษัทเองก็กำลังอยู่ระหว่างการสรรหาบริษัท เข้ามารับซื้อหนี้ส่วนนี้ โดยขณะนี้มี 2 รายที่จะเข้ามาเสนอราคา หากว่าได้ข้อตกลงแล้ว ซึ่งคาดว่าในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า น่าจะเรียบร้อยจากนั้นก็จะนำข้อมูลนี้แจ้งแก่ผู้สนใจทั้ง 2 รายเพื่อให้นำกลับไปประเมินว่าจะตัดสินใจอย่างไรต่อไป

“นักลงทุน 2 รายแรกก็อยากจะให้แก้ไขเรื่องนี้ให้เสร็จ เพราะอยากจะเข้ามาเพื่อบริหารธุรกิจให้เดินหน้าต่อไป ไม่ได้อยากต้องมานั่งแก้ปัญหาเรื่องนี้ หรือต้องมานั่งตามยึดที่ลูกค้าซึ่งเป็นภาพที่ไม่ดีนัก โดยเงินให้กู้ยืมที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันที่เรียกเก็บไม่ได้จำนวนมากนี้ เป็นการกู้ยืมที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งในเวลานั้นทางบริษัทก็ได้มีการประเมินระยะเวลาในการเรียกเก็บหนี้ล่วงหน้าแล้ว ว่าจะมีกำไรจ่ายปันผลหรือจ่ายให้กับผู้ถือกรมธรรม์ได้ แต่ต่อมาเศรษฐกิจบางช่วงไม่ดีทำให้บริษัทสะดุดไปบ้าง ก็เลยเกิดปัญหางูกินหาง และเมื่อบริษัทมีปัญหาลูกหนี้บางรายงดจ่ายหนี้หรือไม่ก็จ่ายช้า จึงทำให้เกิดหนี้จำนวนมาก สัดส่วนของเงินให้กู้ยืมที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันของบริษัท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 20% ของสินทรัพย์ เยอะหากเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด”

ยอมรับยังไม่คุยเรื่องปิดกิจการ มีคนสนใจอยู่ต้องโปะ 2 พันล.พอ RBC ต่อข้อถามว่าถึงที่สุดแล้ว ฟินันซ่าไม่สามารถหาผู้ร่วมทุนรายใหม่ได้ จะทำอย่างไร ต้องปิดกิจการหรือไม่ ยังไม่ได้หารือกับบอร์ดควบคุมในเรื่องนี้ เพราะยังมีผู้สนใจอยู่ คงต้องให้เวลาอีกระยะ ทุกคนก็อยากให้เรื่องนี้จบโดยเร็วอยากให้บริษัทรอด

ที่มา : สยามธุรกิจ